นครพนม – ความคืบหน้ากรณี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2562 นพ.ประสงค์ บูรณ์พงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคเสรีรวมไทย ตั้งกระทู้ถาม พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ถึงปัญหาการบริหารงาน และการทุจริต คอรัปชั่นภายในมหาวิทยาลัยนครพนม รวมสามข้อ คือ 1.กรณีผู้ที่ได้รับการสรรหาเป็นอธิการบดีมีคดีความ มีข้อกล่าวหา และไม่ได้รับการโปรดเกล้าฯมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ฯลฯ
2.กรณีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติหลักสูตร แต่มีการรับนักศึกษาเข้ามาเรียนจนถึงปีที่ 3 แล้วบอกให้ไปสมัครคณะอื่นเมื่อครบ 4 ปี ก็จะให้ใบปริญญา
3.ปัญหาการจัดงบประมาณ การบริหารงบประมาณของ ม.นครพนม ซึ่งยังไม่เกิดผลที่คุ้มค่า ไม่โปร่งใส เช่นการจัดซื้อเครื่องบิน ที่มีข่าวว่าไม่ค่อยเรียบร้อย หรือการอนุมัติให้เครื่องบินขึ้น-ลง ก็ไม่ถูกต้อง ปัญหาการจัดซื้อหลอด LED มีการทุจริตมากในการจัดซื้อ จัดจ้าง ปัญหาการนำงบประมาณไปเที่ยวต่างประเทศ โดยอ้างว่าเป็นการไปศึกษาดูงาน และเรื่องโปรแกรมสอนภาษาที่ซื้อจากประเทศอินเดีย 10 กว่าล้านบาท ซื้อมาหลายปีแล้วยังใช้งานไม่ได้ เพราะมีคนมาเล่าว่าไม่มีการใช้เลย
นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)เป็นผู้ทำหน้าที่ตอบแทนนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อย่างที่ทราบกันดีว่ามหาวิทยาลัยนั้น เป็นตัวที่จะขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า แต่ประเด็นสำคัญก็คือว่าภารกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งจะต้องเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 นั้น ยังเป็นไปไม่ได้เลย ถ้ามหาวิทยาลัยนั้นยังไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของธรรมาภิบาล และเรื่องของคุณภาพของการศึกษา รวมทั้งไม่สามารถที่จะตอบโจทย์ในเรื่องของการปรับตัวเข้ากับศตวรรษที่ 21 เพราะฉะนั้นข้อห่วงใยของผู้ตั้งกระทู้ถาม ก็เป็นข้อห่วงใยของทางกระทรวงฯเช่นกัน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยนครพนมนั้นมีประเด็นอยู่ไม่น้อย ทั้งในเรื่องของธรรมาภิบาล เรื่องของการบริหาร การจัดการ
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ผู้ตรวจฯกระทรวงพาณิชย์ ลงตรังเยี่ยมแปลงปลูกพริกไทยตรัง-สุราชุมชน ผู้ผลิตต่อยอดสินค้า GI "พริกไทยตรังพันธุ์ปะเหลียน สู่มาตรฐาน EU organic…
- ‼️เลือดหนึ่งหยด..มีค่า-ต่อลมหายใจให้ผู้ป่วย,บาดเจ็บ‼️
- “เฉลิมชัย” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ลงพื้นที่ติดตามการทำหมันลิงเขาช่องกระจก ล๊อตแรก 300 ตัว
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
“มีนักเรียนที่เข้ามาเรียนไม่พอ เนื่องจากไม่ได้มาตรฐาน เรื่องนี้นั้นอาจจะไม่ได้อยู่ในขอบเขตของการดูแลโดยตรงของกระทรวงฯ แต่เป็นหน้าที่ของสำนักงบประมาณ ได้มีการหารือกับทางด้านมหาวิทยาลัยโดยตรงแล้ว”
ในส่วนเรื่องของการแต่งตั้ง และไม่สามารถที่ดำเนินการได้ เนื่องจากมีคดีฟ้องร้องต่างๆ ขณะนี้ในพระราชบัญญัติการอุดมศึกษาใหม่ ได้ให้อำนาจรัฐมนตรีในการที่จะเข้าไปบริหารจัดการในเรื่องนี้ ซึ่งแต่เดิมมานั้นเราไม่สามารถที่จะกระทำได้ เนื่องจากว่าเป็นประเด็นภายในสภามหาวิทยาลัยกับตัวของอธิการบดีเอง ขณะนี้ผมได้สั่งการให้ทางกระทรวงลงไปจัดการเพื่อจะคลี่คลายจัดการกับปัญหาต่างๆ เหล่านี้แล้ว
ส่วนปัญหาการทุจริต คอรัปชั่น รมว.อว. ยอมรับว่า ม.นครพนม มีปัญหาที่เรื้อรัง ทั้งเรื่องของทุจริต คอรัปชั่น ตั้งแต่ในเรื่องธรรมาภิบาลไล่ลงมาจนถึงเรื่องของการบริหาร การจัดการ ที่ไม่โปร่งใส รวมไปจนถึงเรื่องของการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ได้มีการแก้ไขปัญหาต่างๆดังกล่าวในระดับหนึ่งแล้ว บางเรื่องส่งให้ทาง ปปช.ดำเนินการอยู่ บางเรื่องเป็นการสอบผู้ที่เกี่ยวข้องกรณี อย่างเช่นเอาเครื่องบินไปใช้ในภารกิจที่ไม่ถูกต้อง จนกระทั่งเครื่องบินตกนั้น ได้มีการสั่งสอบทางวินัยและยังค้างคาอยู่ “ตอนนี้ผมได้ใช้อำนาจของ รมว. ภายใต้ พรบ.ของการอุดมศึกษาใหม่ ลงไปสั่งการให้ดำเนินการกับเรื่องนี้ให้เป็นที่เรียบร้อยในเร็ววัน”
สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2559 เวลาประมาณ 05.05 น.เครื่องฝึกบินแบบ2 เครื่องยนต์ 4 ที่นั่งรุ่น DIAMOND 42 HS-IAN มีชื่อศรีโคตรบูรณ์ ของวิทยาลัยการบินนานาชาติ มหาวิทยาลัยนครพนม ประสบอุบัติเหตุ ตกบริเวณบ้านหน้าฐานบิน ต.โพธิ์ตาก อ.เมือง จ.นครพนม ขณะปฏิบัติภารกิจพิเศษทำการบินไปส่งนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรแห่งชาติ และอดีตนายก อบจ.มหาสารคาม ซึ่งจะเดินทางจากจังหวัดนครพนมไปประชุมที่กรุงเทพมหานคร แต่หลังจากเครื่องบินทะยานขึ้นไม่นานก็ได้รับแจ้งจากนักบินขอนำเครื่องลงฉุกเฉินเนื่องจากเครื่องยนต์ขัดข้อง แต่เครื่องบินลำดังกล่าวได้ประสบอุบัติเหตุตกก่อนร่อนลงฉุกเฉินห่างสนามบินเพียงหนึ่งกิโลเมตรเป็นเหตุให้ผู้โดยสารในเครื่องบินลำดังกล่าวทั้งสามคนเสียชีวิตทั้งหมด โดยนอกจากนายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ แล้วยังมี พ.ต.ท.สมบูรณ์ คำนึงรัตนวงศา นักบินที่ 1 และว่าที่ร้อยตรี ชิณวุฒิ นวลกลับ นักบินที่ 2 ต่างเสียชีวิตในที่เกิดเหตุ
ซึ่งผลการสอบสวนโดยคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ได้มีมติสรุปและความเห็นเพิ่มเติม ให้มหาวิทยาลัยนครพนม แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนทางวินัยร้ายแรงกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการอนุมัติให้เครื่องบินขึ้นบิน ซึ่งผู้ที่อยู่ในข่ายที่คณะกรรมการชี้มูลความผิดให้ตั้งกรรมการสอบสวนทางวินัยมีทั้งสิ้นรวม 4 รายคือ1.ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถนอม ทาทอง รองอธิการบดีฯ(ในขณะนั้น) 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก รองอธิการบดีฯ(ในขณะนั้น) 3.นายศรุช โภคากุลวัฒน์ ตำแหน่งหัวหน้าการพานิชย์ 4.รองศาสตราจารย์ พลอากาศโท จิรศักดิ์ ชนะสิทธิ์ คณบดี วิทยาลัยการบินนานาชาติ ม.นครพนม (ในขณะนั้น)
หลังจากมีมติของคณะกรรมการให้สอบสวนทางวินัยต่อบุคคลทั้งสี่แล้ว ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2560 ปรากฏว่าจนถึงปัจจุบันนี้ผ่านมากว่าสองปี เรื่องดังกล่าวยังไม่ได้มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณาในสภามหาวิทยาลัยนครพนมแต่อย่างใด โดยวาระการประชุมสภามหาวิทยาลัยนครพนม มักจะอ้างให้มีการสอบสวนเพิ่มเรื่องนั้นเรื่องนี้ตลอดเวลา และหลังจากนั้นไม่นาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก รองอธิการบดี ในขณะนั้น ก็ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการสรรหาเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนมและผ่านการสรรหาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยนครพนมในเวลาต่อมา จนถึงปัจจุบัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัฒนพงษ์ วันจันทึก ก็ยังไม่ได้รับการโปรดเกล้าให้เข้าดำรงตำแหน่งแต่อย่างใด คงเป็นแต่เพียงรักษาการในตำแหน่งอธิการบดี เท่านั้น
ขณะเดียวกันแหล่งข่าวแจ้งว่า การก่อสร้างหอประชุมอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง บริเวณ ม.นครพนม บ้านเนินสะอาด ต.นาราชควาย อ.เมือง จ.นครพนม เริ่มมีปัญหาแล้วกรณีเนื้อที่ไม่เพียงพอ เพราะเป็นแบบที่ใช้สำหรับสร้างที่ศูนย์วิจัยพืชผลฯ ซึ่งมีพื้นที่มาก แต่เจ้าของพื้นที่ไม่อนุญาตจึงย้ายมาสร้างบริเวณดังกล่าว ตามแปลนจะต้องสร้างถนนให้รถวิ่งขึ้นไปจอดถึงหน้าประตูหอประชุม แต่เนื้อที่ตรงนี้มีจำนวนจำกัด หากทำการก่อสร้างตามแบบ ถนนทางขึ้นหอประชุมจะทะลุมาถึงทางหลวงชนบท นพ.ที่2011 ผู้รับเหมาจึงไม่สามารถสร้างได้ จึงขอให้มีการแก้ไขแบบ แต่ผู้บริหารเหมือนมีเจตนาให้การก่อสร้างมีปัญหา ดันทุรังให้สร้างไปก่อน แต่ผู้รับเหมาไม่กล้าสร้าง เพราะล้ำเข้าไปในเขตทางหลวงฯ ถนนดังกล่าวจึงด้วนรอการแก้ไขอยู่ในขณะนี้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: