เชียงราย-โครงการพันธมิตรศุลกากรเชิงรุกไปสู่ภูมิภาค สานักงานศุลกากรภาคที่ 3 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การดำเนินพิธีการศุลกากร และบริการใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่ผู้ประกอบการที่คอยสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ภายใต้หลักคุณธรรมและความโปร่งใส
เมื่อเวลา 09.00 น. 13 กันยายน 2562 นางชลิดา พันธ์กระวี รองอธิบดีกรมศุลกากร เป็นประธานในการสัมมนา “Customs 2019 : The Next to Beyond” ภายใต้โครงการพันธมิตรศุลกากรเชิงรุกไปสู่ภูมิภาค สานักงานศุลกากรภาคที่ 3 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจในเรื่อง การดำเนินพิธีการศุลกากร และบริการใหม่ๆ เพื่ออำนวยความสะดวก และสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่ผู้ประกอบการที่คอยสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ภายใต้หลักคุณธรรมและความโปร่งใส ที่โรงแรมสยามไทรแองเกิ้ล อ.เชียงแสน จังหวัดเชียงราย โดยมี นายกรีชา เกิดศรีพันธุ์ เลขานุการกรมศุลกากร นายธวัช เพ่งพินิจ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 นายพงษ์ศักดิ์ ธนะวัฒนานนท์ นายด่านศุลกากรเชียงแสน นายวัลลภ วุฒาพาณิชย์ นายด่านศุลกากรทุ่งช้าง นางสาว ผกามาศ เวียร์รา รองประธานหอการค้าจังหวัดเชียงราย ฝ่ายการค้าชายแดน และผู้ประกอบการค้าเข้าร่วมจำนวนมากนางชลิดา รองอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า กรมศุลกากรต้องการปฏิรูปกระบวนการทำงานด้านศุลกากร ให้มีความโปร่งใส เป็นธรรม มีความคล่องตัว และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของศุลกากร โดยจัดทำโครงการพันธมิตรศุลกากร (Customs Alliances : CA) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างกรมศุลกากรและผู้ประกอบการภาคเอกชนให้มากขึ้น อันเป็นการเพิ่มช่องทางในการสื่อสารระหว่างภาคเอกชนกับกรมศุลกากร ซึ่งในระยะแรกมีผู้ประกอบการนำเข้าส่งออกร่วมเป็นสมาชิก จำนวน 325 บริษัท และระยะที่ 2 จานวน 129 บริษัท รวมมีสมาชิกพันธมิตรศุลกากรทั้งสิ้น 454 บริษัท ซึ่งผลตอบรับในปีที่ผ่านมาสามารถให้บริการคำแนะนำ ติดต่อประสานงาน แก้ไขปัญหาและสร้างความชัดเจน ลดข้อโต้แย้งที่จะเกิดขึ้นในด้านต่างๆ ทั้งปัญหาเชิงนโยบายและปัญหาหน้างานปกติ ให้แก่สมาชิกประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 นี้ ทางกรมศุลกากรมีนโยบายขยายเครือข่ายโครงการพันธมิตรศุลกากรไปสู่ภูมิภาค (Regional Customs Alliance : CA) โดยจัดตั้งคณะทำงานพันธมิตรศุลกากรประจาสานักงานศุลกากรประจาแต่ละภาค (สานักงานศุลกากรภาคที่1-4) ประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากร ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานศุลกากร นายด่านศุลกากร และเจ้าหน้าที่ ผู้มีความรู้ความสามารถที่สังกัดในแต่ละภูมิภาค ทำหน้าที่ประสานความร่วมมือกันกับคณะทำงานโครงการพันธมิตรศุลกากรในส่วนกลาง เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ โดยในระยะแรกได้ดำเนินการ จัดสัมมนาเพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องกฎหมายศุลกากร ระเบียบ พิธีการทางศุลกากร สิทธิประโยชน์ต่างๆ รวมถึงการให้บริการใหม่ๆ ของกรมศุลกากร แก่ผู้ประกอบการรวมถึงหน่วยงานภาครัฐ ที่ทำงานร่วมกันในพื้นที่ โดยเริ่มจากสำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 เป็นแห่งแรก และในครั้งนี้เป็นการดาเนินการครั้งที่ 2 เพื่อต่อยอดการดำเนินงานของโครงการพันธมิตรศุลกากรมาสู่ภาคเหนือ ในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานศุลกากรภาคที่ 3ทางด้านนายพงษ์ศักดิ์ ธนะวัฒนานนท์ นายด่านศุลกากรเชียงแสน กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 โดยมีนายธวัช เพ่งพินิจ ผู้อำนวยการสานักงานศุลกากรภาคที่ 3 มีด่านศุลกากรที่อยู่ในความรับผิดชอบ จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ ด่านศุลกากรท่าอากาศยานเชียงใหม่ ด่านศุลกากรแม่สาย ด่านศุลกากรแม่สอด ด่านศุลกากรเชียงแสน ด่านศุลกากรเชียงของ ด่านศุลกากรแม่ฮ่องสอน ด่านศุลกากร ทุ่งช้าง ด่านศุลกากรแม่สะเรียง และด่านศุลกากรเชียงดาวนอกจากภารกิจด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้าแล้ว ด่านศุลกากรเชียงแสน ยังดำเนินงานเพื่อสอดรับนโยบายพันธมิตรศุลกากรในเชิงรุก โดยการจัดสัมมนาให้ความรู้ด้านศุลกากรในมิติต่างๆ แก่ผู้ประกอบการ สาหรับการสัมมนาหัวข้อ “Customs 2019 : The Next to Beyond” ในวันนี้ ประกอบด้วยเรื่อง (1) การบริการรับชาระเงินผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Bill Payment) (2) พิธีการศุลกากรตรวจปล่อยของเป็นบางส่วน (Partly) สาหรับการนำของเข้าทางบก (3) ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน (ASEAN Customs Transit System: ACTS) และ (4) ระบบ National Single Window (NSW) ซึ่งเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการบริการของกรมศุลกากรและยกระดับคุณภาพการให้บริการประชาชน โดยใช้นวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้ข้อมูลมีความถูกต้องแม่นยำ เพิ่มความรวดเร็วและลดค่าใช้จ่ายของภาคเอกชน โดยมีผู้ให้ความสนใจและตอบรับจากผู้ประกอบการและหน่วยงานราชการต่างๆ ในพื้นที่เข้าร่วมสัมมนาเป็นจานวนมากกว่า 100 ราย ปัจจุบันกรมศุลกากรมีกระบวนการทางศุลกากรล่วงหน้าก่อนสินค้ามาถึง (Pre-Arrival Processing) ทางทะเลและทางอากาศ และในวันนี้กรมศุลกากรจัดทำการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับการนำของเข้าทางบกหลายเที่ยวยานพาหนะและตรวจปล่อยของเป็นบางส่วน (Partly) ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 192/2562 ลงวันที่ 12 กันยายน 2562 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการที่มีการส่งสินค้าทางบก เนื่องจากปัจจุบันการค้าชายแดนของประเทศไทยมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับการค้าชายแดนในบางลักษณะ ผู้ประกอบการไม่สามารถขนสินค้าเข้ามาคราวเดียวกันได้ ทำให้การปฏิบัติพิธีการทางศุลกากรต้องรอให้สินค้าเข้ามาครบถ้วนถึงจะสามารถจัดทำใบขนสินค้า ชำระภาษีอากร ตรวจปล่อยสินค้า และรับสินค้าออกจากอารักขาศุลกากรได้ กรมศุลกากรจึงได้พัฒนาระบบพิธีการศุลกากรสาหรับการนำของเข้าทางบกหลายเที่ยวยานพาหนะและตรวจปล่อยของเป็นบางส่วน (Partly) ให้ผู้ประกอบการสามารถส่งข้อมูลใบขนสินค้า และชำระภาษีอากรล่วงหน้าได้ นอกจากนี้เมื่อมีการนำสินค้าเข้ามาบางส่วน ผู้ประกอบการสามารถรับสินค้าบางส่วนนี้ออกจากอารักขาศุลกากรได้โดยไม่ต้องรอให้สินค้าเข้ามาครบถ้วนก่อน ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถปฏิบัติพิธีการศุลกากรได้ก่อนที่สินค้ามาถึง ลดต้นทุนของผู้ประกอบการเนื่องจากไม่ต้องรอให้สินค้าครบถ้วนก่อนตรวจปล่อย และผู้ประกอบการจะได้รับสินค้าเร็วขึ้นนางชลิดา พันธ์กระวี กล่าวสรุปว่า โครงการพันธมิตรศุลกากร ไปสู่ภูมิภาค Customs 2019 : The Next to Beyond จะดำเนินการจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการในพื้นที่สานักงานศุลกากรภูมิภาค ในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับต่อไป ภายในปีงบประมาณ 2562 ต่อเนื่องปีงบประมาณ 2563 และกรมศุลกากรจะมุ่งมั่นพัฒนาการให้บริการและบูรณาการการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า ปกป้องสังคม พัฒนาเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจโลก ดังวิสัยทัศน์กรมศุลกากรที่ว่า “องค์กรที่มุ่งมั่นให้บริการศุลกากรเป็นเลิศ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของเศรษฐกิจไทยและเชื่อมโยงการค้าโลก”
นอกจากนั้น นางชลิดา ได้กล่าวถึงการสกัดกั้นการลักลอบขนยาเสพติดแอบแฝงมากับสินค้าว่า “ในการปราบปรามยาเสพติดโดยเฉพาะด่านแม่สายมีการจับกุมเยอะมาก ทุกด่านเราพยายามแยกสินค้าออกจากคนเพื่อการตรวจสอบอย่างละเอียด ที่แม่สายทางเราก็อยากให้รถสินค้าไปที่สะพาน 2 เพื่อจะได้เอ็กซเรย์ ตอนนี้เรามีนโยบายจะเอารถขากลับเข้ามาก่อนเพื่อเอ็กซเรย์ ถ้าเราแยกรถโดยสารจากผู้คนได้ก็จะทำให้การดูแลเรื่องยาเสพติดมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการต่อไปคือจะแยกคนที่เดินทางมาเข้า ออก ที่สะพาน 1 ส่วนรถสินค้าใช้สะพาน 2 เพราะมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย ”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: