กรุงเทพฯ – กระทรวงเกษตรฯ ทำ MOU ร่วมภาคเอกชน หนุนเกษตรอัจฉริยะ เป็นต้นแบบให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ในพื้นที่ เพื่อเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน สร้างรายได้ยั่งยืน
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นสักขีพยาน ในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของกระทรวงเกษตรฯ โดยนายอนันท์ สุวรรณรัตน์ปลัดกระทรวงและสหกรณ์ กับ บริษัทล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ท็อปคอนคอร์ปอเรชั่น จำกัด และบริษัท Shanghai Zuoanxiuhul Electronic Technology จำกัด (บริษัท เซี่ยงไฮ้ จั๊วอั้นซินฮุย อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยี จำกัด) ตามโครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ
ปลัดกระทรวงและสหกรณ์ ระบุว่า กระทรวงได้ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำแนวคิด ‘เกษตรอัจฉริยะ (Smart Agriculture)’ คือ การเกษตรแม่นยำ ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์สภาพพื้นที่ มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ ‘ทำน้อยได้มาก’ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรกลเกษตรอัจฉริยะ ควบคุมกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว ขนส่ง ตลอดจนแปรรูป เพื่อรองรับสังคมผู้สูงวัยในภาคการเกษตรที่เพิ่มมากขึ้น การขาดแคลนแรงงาน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ที่ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต ตลอดจนแนวโน้มของผู้บริโภคที่ใส่ใจสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม เพิ่มมากขึ้น
ข่าวน่าสนใจ:
- KCC จัดงาน "เทศกาลซอฟต์พาวเวอร์ไทย-เกาหลี" คร้ังแรกที่กรุงเทพฯ ผสานศิลปวัฒนธรรมสองประเทศ
- ททท. ผนึกพันธมิตร จัดงาน "เหนือพร้อม..เที่ยว" Kick off แคมเปญ "แอ่วเหนือ...คนละครึ่ง" เริ่ม 1 พ.ย.นี้
- 'เทพรัตน์' คว้ารางวัล 'สุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ' สาขาสิ่งแวดล้อม
- ททท. จัดแคมเปญ "แอ่วเหนือ...คนละครึ่ง" มอบส่วนลด 50% ลงทะเบียนก่อนรับสิทธิ์ก่อน
รวมถึงการเตรียมความพร้อมภาคการเกษตรของไทย กว่า 7 ล้านครัวเรือน ให้มีศักยภาพในการแข่งขันบนเวทีโลก ตามนโยบาย Thailand 4.0 ทั้งนี้ จากการรายงานของ ประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ จะเห็นได้ว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แสวงหาความร่วมมือและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ เพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกร เลือกนำเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะที่เหมาะสมไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง และขยายผลไปสู่แปลงใหญ่ที่มีศักยภาพ ซึ่งขณะนี้มีกว่า 6,000 แปลงทั่วประเทศ โดยควรดำเนินการในรูปแบบประชารัฐ บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ มหาวิทยาลัย ภาคเอกชน หรือแม้แต่ผู้ประกอบการ Start up เกษตรอัจฉริยะ
“กระทรวงเกษตรฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการทำการเกษตรในยุคดิจิทัล ที่เป็นการใช้ข้อมูลจากเซนเซอร์ มาวิเคราะห์ประมวลผลคาดการณ์ตัดสินใจ โดยนำระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยสนับสนุน เพื่อการสั่งการและควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลการเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งได้พัฒนาต้นแบบ Big Data Platform ด้านเกษตรจากข้อมูลที่ได้จากเซนเซอร์ ทางการเกษตร และนักวิจัยในแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ ที่ควรนำไปขยายให้เกษตรกรแปลงใหญ่ในพืชเศรษฐกิจสำคัญ และเชื่อมโยงไปสู่ระบบการขนส่งสินค้าการเกษตร และการตลาด โดยเฉพาะตลาดออนไลน์ในอนาคต” ปลัดกระทรวงเกษตรฯกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: