เกษตรจังหวัดตรังมอบรถแทรกเตอร์ไถนาให้กลุ่มเกษตรกรนาข้าวเสีย สำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง มอบรถดำนานั่งขับ รถแทรกเตอร์ ไถนา ๔ ล้อ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรส่งเสริมการผลิตข้าวแปลงใหญ่
วันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๑ นายสมชาย บริพันธุ์ เกษตรจังหวัดตรัง มอบรถดำนา ๖ แถว นั่งขับ พร้อมอุปกรณ์ จำนวน ๑ คัน รถแทรกเตอร์ ไถนา ๔ ล้อ พร้อมอุปกรณ์ จำนวน ๑ คัน ให้แก่กลุ่มเกษตรกรส่งเสริมการผลิตข้าวแปลงใหญ่ ตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง ตามโครงการแผนงานบูรณาการส่งเสริมการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (งบพัฒนาจังหวัด) และแผนงาน บูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ (งบพัฒนาภาค) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๑
โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร กิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตข้าวครบวงจร งบประมาณ ๓,๘๐๑,๔๐๐ บาท ด้วยจังหวัดตรัง มีพื้นนาอยู่จำนวน ๑๗,๒๔๗ ไร่ และใช้พื้นที่ดังกล่าวในการปลูกข้าวนาปี จำนวน ๑๖,๑๔๔ ไร่ โดยปล่อยพื้นที่นาเป็นพื้นที่ ว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ จำนวน ๑,๑๐๓ ไร่ การใช้พันธุ์ข้าว จะใช้พันธุ์เล็บนกปัตตานี ผลผลิตเฉลี่ย ๔๒๐ กิโลกรัม ต่อ ไร่ ซึ่งนับว่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับจังหวัดใกล้เคียงและผลผลิตรวม ๖,๗๘๙ ตัน มีมูลค่า ๑๐๒ ล้านบาท ถ้าคิดเป็นปริมาณข้าวสารได้ ๔,๕๔๓ ตัน คิดเป็นร้อยละ ๘.๖ เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณความต้องการ โดยประชากรของจังหวัดตรัง มีความต้องการข้าวสารในการบริโภค จำนวน ๕๒,๔๔๙ ตัน
จังหวัดตรังต้องนำเข้าข้าวสารจากภายนอกจังหวัด ร้อยละ ๙๑ .๔ หรือประมาณ ๔๗,๙๐๒ ตัน ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณการผลิต และผลผลิต เกษตรกรต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในด้านปัจจัยการผลิต ความรู้เรื่องการพัฒนาการผลิตข้าว ลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาระบบชลประทาน การสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้าว รวมทั้งตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของชาวนาในการดำรงชีวิต ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น ความเสี่ยงในด้านราคา ที่แปรปรวน ความเสี่ยงด้านภัยธรรมชาติ และความแปรปรวนของสภาพดินฟ้าอากาศ ต้นทุน
การผลิตที่สูงขึ้น ที่สำคัญชาวนายังใช้เทคโนโลยีการผลิตข้าวที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม เนื่องจากขาดความรู้ เป็นต้น จังหวัดตรังจึงได้จัดทำโครง การนี้ขึ้น เป็นเครื่องมือ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาของเกษตรกรชาวนาและองค์กรชาวนาตามศักยภาพของพื้นที่ เพื่อพัฒนาข้าว และให้เกษตรกร มีความรู้ในการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ มีการผลิตข้าวในพื้นที่ที่เหมาะสม การพัฒนาข้าวไปสู่การส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบแปลงใหญ่ เพื่อสามารถบริหารจัดการการผลิตและการตลาด ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกร องค์กรเกษตรกรในการบริหารจัดการสินค้าข้าว ต่อไป
ซึ่งที่ได้รับการสนับสนุนจาก จังหวัดตรัง โดยสำนักงานเกษตรจังหวัดตรัง ในกิจกรรม ส่งเสริมการปลูกข้าวพันธุ์ดี ๑,๐๐๐ ไร่ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี กิจกรรมส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้การผลิตข้าว เกษตรกร ๓๐๐ ราย ส่งเสริมการผลิตข้าวแปลงใหญ่ เกษตรกร ๒๐๐ ราย กิจกรรมเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกรในการบริหารจัดการสินค้าข้าว สนับสนุน โรงสีข้าว รถแทรกเตอร์ไถนา รถปักดำ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: