นครพนม – ที่เดียวในไทย อบต.ปลาปาก จัดเทศกาลกินต่อหัวเสือ โชว์สารพัดเมนูเด็ด อาชีพเสี่ยงตาย สร้างรายได้เสริมปีละหลายแสน ราคาพุ่งกิโลละเกือบ 2 พัน
เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2562 ที่ อบต.ปลาปาก อ.ปลาปาก จ.นครพนม นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครพนม เป็นประธานเปิดงานเทศกาลกินต่อหัวเสือ ครั้งที่ 7 ตามโครงการส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาชาวบ้านในกระบวนการนำต่อหัวเสือ มาประกอบอาหาร ประจำปี 2562 โดยความร่วมมือของ อบต.ปลาปาก ร่วมกับชุมชนชาวบ้าน ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก เพื่อเป็นการสืบสานอนุรักษ์ วิถีชีวิตภูมิปัญญาชาวบ้าน เกี่ยวกับอาชีพเลี้ยงต่อหัวเสือ สร้างรายได้และสาธิตโชว์การประกอบอาหารสารพัดเมนูจากต่อหัวเสือ อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างจิตสำนึกให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้ร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ ไปจนถึงการสร้างรายได้ จากอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน เนื่องจาก ชาวบ้าน ต.ปลาปาก อ.ปลาปาก ยึดอาชีพเสริม เลี้ยงต่อหัวเสือ สร้างรายได้มาแต่อดีต นานกว่า 30 ปี จนถึง ปัจจุบันจนกระทั่งมีการพัฒนา ยกระดับ ส่งเสริมจัดการประเพณี ส่งเสริมการท่องเที่ยว ขึ้น ส่วนในปีนี้ จัดขึ้นระหว่าง วันที่ 21 -22 กันยายน 2562 ในครั้งนี้ มี นายปรีชาพงษ์ ทองมี นายอำเภอปลาปาก พร้อมด้วยนายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เขต 4 นคพรนม นายสง่า แสงแก้ว นายก อบต.ปลาปาก พร้อมผู้บริหารท้องถิ่น ผู้นำชุมชน หมู่บ้าน และชาวบ้านร่วมการเปิดงาน
สำหรับ กิจกรรมไฮไลท์ ในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการ ให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพเลี้ยงต่อ วัฏจักรชีวิตของต่อหัวเสือ ไปจนถึง การจัดประกวดโชว์การปรุงเมนูเด็ดสารพัดเมนูจากต่อหัวเสือ จากชาวบ้านในพื้นที่ อาทิ หมกต่อ คั่วต่อ นึ่งต่อ แกงก่อหัวเสือ ห่อหมกต่อ ยำลูกต่อ ผัดต่อ เพื่อเป็นการยืนยันถึงรสชาติความอร่อย และสามารถนำไปปรุงเมนูได้หลากหลายรูปแบบ ตามความชอบ ให้ประชาชน นักท่องเที่ยวได้ชม ชิมรสชาติเมนูเด็ดต่อหัวเสือ ไปจนถึงการจัดจำหน่ายต่อหัวเสือ ซึ่งเป็นอาชีพที่สร้างรายได้เสริม ให้ชาวบ้านในพื้นที่ ในช่วงฤดูฝนยาวไปถึงเทศกาลออกพรรษา บางครอบครัวสร้างรายได้ปีละนับแสนบาท
ด้านนายสง่า แสงแก้ว นายก อบต.ปลาปาก จ.นครพนม เปิดเผยว่า สำหรับงานเทศกาลกินต่อหัวเสือ ถือเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวบ้าน อบต.ปลาปาก ที่จัดสืบสานกันมา ต่อเนื่อง เป็นปีที่ 7 เนื่องจาก เป็นอาชีพภูมิปัญญาชาวบ้าน ที่สืบทอดกันมาแต่อดีต ทาง อบต.ปลาปาก จึงได้ นำมาส่งเสริมเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้ ให้กับชาวบ้าน เพื่อเป็นกาสรสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวบ้าน ในพื้นที่ รวมถึงผู้ที่สนใจ เห็นความสำคัญของอาชีพเลี้ยงต่อหัวเสือ เพราะสามารถสร้างรายได้เสริม ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่อันตราย หากต่อยถึงชีวิต แต่หากเรารู้วิธีการดูแลเลี้ยง สามารถเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้เป็นอย่างดี เพราะตัวต่อหัวเสือ เป็นเมนูเด็ดที่หากินยาก ทำให้มีราคาแพง ปีนี้ภัยแล้ง หายากมีราคาสูง ตกกิโลกรัมละ 1,500 – 2,000 บาท หากนำมาขายต่อกิโลกรัม แต่หากมีการซื้อเป็นรัง อาจแพงถึง 2,000 – 3,000 บาท ตามขนาด
ข่าวน่าสนใจ:
- นายกเทศบาลตำบลนาคำ แจงเหตุต้องระงับเพลิงล่าช้า จากกรณีเหตุเพลิงไหม้บ้านพักอาศัยของชาวบ้าน
- บุกพิสูจน์ หลังชาวบ้าน พบเสือ หนุ่ม 27 ถ่ายคลิปเสือขณะกรีดยาง
- ลำปางระทึกไฟไหม้ รถบรรทุก 6 ล้อขนส่งพัสดุวอด คนขับหนีตายออกจากรถได้ทัน
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
ส่วนอาชีพเลี้ยงต่อหัวเสือ เป็นอาชีพที่สืบสานมาแต่อดีต เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน เริ่มในช่วงฤดูฝน ชาวบ้านจะออกตระเวนหาต่อหัวเสือ ที่พึ่งเริ่มก่อทำรังตามป่า ใช้ความสารมารถแบบภูมิปัญญาชาวบ้าน ตระเวณหา รวมถึงนำเนื้อสัตว์ เป็นเหยื่อล่อ แม่ต่อหัวเสือจะออกมาหาอาหาร จากนั้น จะนำเชือกเป็นเครื่องหมายมัดเนื้อไว้ แม่ต่อจะมาคาบบินไปเลี้ยงลูกในรัง พอตามไปเจอรัง ช่วงกลางคืน จะมีการใช้ความชำนาญปิดรูทางเข้าออกแม่ต่อ และย้ายมาไว้ในไร่สวน ที่ปลอดภัย เพื่อให้โตตามธรรมชาติ ไม่ต้องเลี้ยงอาหาร ใช้เวลาประมาณ 2 -3 เดือน พอรังต่อโต ชาวบ้านจะเอาลูกต่อออกมาขาย ปรุงอาหาร ซึ่งจะเป็นช่วงออกพรรษาพอดี ซึ่งมีการเอาลูกต่อคือเดิมจะใช้ไฟเผาให้แม่ต่อหนี บางตัวตาย แต่ปัจจุบันตนได้คิดค้นส่งเสริมให้ชาวบ้านเพิ่มมูลค่า และช่วยกันอนุรักษ์ธรรมชาติ จึงมีการตัดชุดสำหรับล้วงต่อหัวเสือ เพื่อไม่ให้แม่ต่อตายและยังเพิ่มมูลค่า สามารถกินลุกต่อได้ 2 ครั้ง เพราะหลังจากล้วงเอาลูกต่อแล้ว จะเหลือแผงลูกต่อไว้บางส่วน จากนั้นต่อจะมาทำรังเพิ่ม สามารถได้ผลผลิตอีกจากได้ปีละครั้ง แต่ต้องมีความชำนาญ โดยต่อหัวเสือไม่สามารถที่จะนำมาเลี้ยงนอกฤดูกาลได้ เคยทดสอบแล้ว ต้องปล่อยเลี้ยงตามฤดูกาล คือช่วงฤดูฝน ไปถึงปลายฝนต้นหนาว ที่สำคัญต่อหัวเสือ เป็นตัวชี้วัดของความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติ ปีไหนต่อเยอะ แสดงว่าอุดมสมบูรณ์ไม่แล้ง จึงเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นการส่งเสริม ชาวบ้าน ให้ช่วยกันอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม และงดใช้สารเคมี ทำการเกษตร เพราะเป็นส่วนหนึ่งในการทำลายธรรมชาติ จึงได้ส่งเสริมให้ชาวบ้านเลี้ยงต่อ สร้างรายได้เสริม เพราะราคาดี ปีนี้หายากมีราคาตกกิโลกรัมละ 1,500 -2,000 บาท สร้างรายได้ดี บางครอบครัวทำเงินปีละเป็นแสน หากใครสนใจซื้อไปปรุงเป็นเมนู ช่วงนี้ยังมีขาย ติดต่อซื้อได้ที่ อบต.ปลาปาก หรือโทร 086-219-168
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: