สภาองค์กรชุมชนตำบล จับมือ อช.เขาใหญ่ พัฒนารูปธรรมความร่วมมือ หาแนวร่วมจิตอาสาพิทักษ์เขาใหญ่ 2,500 คน มุ่งพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเขาใหญ่ ควบคู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนรอบแนวเขตพร้อมการอนุรักษ์และฟื้นฟู ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน เริ่มจากแมปปิ้งข้อมูล แผนที่ทำมือ ตำบลติดแนวเขตเขาใหญ่ และกำหนดแผนการพัฒนาความร่วมมือ
อช.เขาใหญ่/ 24-25 เมษายน 2561 อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เปิดเวทีหารือสภาองค์กรชุมชนตำบล จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี เพื่อค้นหาแนวทางความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการอนุรักษ์ และพัฒนาพื้นที่ติดต่อเขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุม บ้านพักโซนธนะรัชต์ อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยมีหัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ผู้อำนวยการส่วนประสานความร่วมมือ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 1 กรมอุทยานแห่งชาติ และเจ้าหน้าที่, คณะกรรมการปฏิรูป, ผู้จัดการสำนักเลขานุการสภาองค์กรชุมชน พอช., สภาองค์กรชุมชนรอบแนวเขตอุทยานฯ จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดปราจีนบุรี และเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือเข้าร่วมการประชุม
ข่าวน่าสนใจ:
- มุกดาหาร ชาวคริสต์นับหมื่น ร่วมฉลอง 84 ปี วีรกรรมแห่งความเชื่อ ณ สักการสถานพระมารดาแห่งมรณสักขีสองคอน
- พะเยา จับหนุ่มใหญ่ ซุกปืนเถื่อนสั้นยาวพร้อมกระสุนเพียบ ในบ้าน
- เดือดกลางวอล์กกิ้ง ปมขัดแย้งร้านบีบีกัน ควงมีด ควงปืน หมายเปิดศึก พลเมืองดีห้ามวุ่น หวั่นนทท.ถูกลูกหลง
- "เลยดั้น" แค่มุมภาพเดียว กลายเป็นไวรัล ดึงดูด นทท.แห่เช็คอินถ่ายภาพ อ.น้ำหนาวเตรียมดันเป็นซอฟพาวเวอร์
นายครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่า การขับเคลื่อนเพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเขาใหญ่ ทำมากว่า 117 ปี กิจการเขาใหญ่เข้าปีที่ 56 อดีตใช้เจ้าหน้าที่ป้องกัน วันนนี้พี่น้องน่าจะรู้บทบาท ลดบาเจ้าหน้าที่ลง และให้ชาวบ้านมีบทมากขึ้น การทำงานวันนี้อยากให้เขาใหญ่เป็นต้นแบบ วันนี้เราจะมาช่วยกันเรื่องการมีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ ร่วมแก้ปัญหาและร่วมรับผลประโยชน์ การคุยวันนี้ต้อง ALL WIN การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมสังคม และมหาชนต้องได้รับประโยชน์
เราจะทำในพื้นที่ 4 จังหวัด เรากำลังจะทำโมเดลการมีส่วนร่วม เขาใหญ่ต้องเป็นต้นแบบจาก 154 อุทยาน จากการเข้มงวด การจับกุม เราจะให้ภาคประชาชนมีบทบาท ลดบทบาทของอุทยานลง เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และมหาชน เชื่อว่าสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์เกี่ยวกับทุกภาคส่วน ถ้าเราอยู่บนพื้นฐานความร่วมมือสองนคราบุรี พี่น้องนำปัญหามาพูดคุย น่าจะมีหนทางจากหารือพัฒนาความร่วมมือในครั้งนี้ เราต้องทำให้ราชการเห็นได้ว่าชาวบ้านจะเข้ามาช่วยเหลือไม่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เป็นรูปแบบการจัดการแบบประชารัฐ จะเป็นจริงได้เราคือคนสำคัญที่ต้องดำเนินการ
นายกษิเดชธนทัต เสกขุนทด คณะอนุกรรมการปฏิรูปทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แนวของการที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ที่ยั่งยืน ที่หมายถึงการที่คนกับป่า กับกฏหมายอยู่ร่วมกันได้ และแต่ละคนต่างคนต่างทำหน้าที่ ไม่ใช่อุทยานฯรักษาป่าเพียงฝ่ายเดียว เป็นหน้าที่ของชาวบ้าน โรงเรียน อบต. ฯลฯ เพราะทรัพยากรเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องดูแล
เมื่อทรัพยากรเป็นของทุกคน น่าจะสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่จะร่วมกันดูแล ซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ คณะนี้ก็นำแนวนี้มาสภาปฏิรูปแห่งชาติ และมาถึงคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เรื่องที่เป็นประเด็นสำคัญถ้าคนไม่มาร่วมคิดกันก็เป็นไปไม่ได้ จึงเป็นแนวทางประชารัฐ ในการสร้างการสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สร้างการมีส่วนร่วม หุ้นส่วนการพัฒนา สมัยนี้เป็นประชารัฐที่ทุกส่วนมาจับมือกัน โดยเอาอุทยานฯ ภูมินิเวศเป็นตัวตั้ง ซึ่งมี คนรักษา คนอยู่รอบข้าง คนรับประโยชน์ ครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งที่ 2 หลายพื้นที่มีการดำเนินการ แต่เราจะมาขมวดรวมให้เป็นรูปธรรมองค์รวม จากเขาใหญ่ มีการสวิงไปที่อุดร และที่อื่นๆ เป็นการกระเพื่อมที่เกิดขึ้นจากจุดนี้
ในคณะกรรมการปฏิรูป เรื่องทรัพยากรเป็น 1 ใน 6 ด้าน เป็นเรื่องทรัพยากรทางบก ทางคณะกรรมการปฏิรูป ทางผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรมีความพยายามดำเนินการ ที่ผ่านมาหน่วยงานเป็นเจ้าภาพดำเนินการ ซึ่งมีแต่กระทรวงทรัพยฯกับชาวบ้าน แต่ต้องมีการขยายความร่วมมือไปสู่กระทรวงต่างๆ เรื่องเหล่านี้ไม่ได้อยู่แค่ในกระดาษเท่านั้น แต่มีกระบวนการที่กำลังดำเนินการ การคุยครั้งที่แล้ว เอาภูมินิเวศเขาใหญ่เป็นตัวตั้ง และมีองค์ประกอบใครบ้างที่เกี่ยวข้อง 1) เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทรวงทรัพยากร และ ฯลฯ 2) หน่วยงานท้องถิ่น ท้องที่ 3) กลุ่มองค์กรต่างๆ ของชาวบ้าน ดูเหมือนเป็นความร่วมมือที่ใหญ่มาก เริ่มจากจุดที่เราสัมพันธ์จะก่อให้เกิดการสวิงไปสู่เรื่องต่างๆ
เราจะสร้างจิตอาสาในการพิทักษ์เขาใหญ่ร่วมกันอย่างไร สำนึกรักเขาใหญ่มีสัญลักษณ์ร่วมกันอย่างไร มีการสำรวจรอบใน มีกี่ตำบล ในตำบลเหล่านี้มีการรวมเป็นกลุ่มองค์กร เป็นสภาองค์กรชุมชนตำบลหรือยัง โครงแรก กำนันผู้ใหญ่บ้าน โครงที่สอง อบต. และโครงที่สามชาวบ้าน ทั้ง 3 ส่วนจะร่วมกันสร้างอาสาสมัครอย่างไร เริ่มจากจุดที่อยู่รอบเขาใหญ่ที่เป็นองค์กร แล้วเชื่อมสัมพันธ์กับกระทรวงทรัพยากรฯ และไปสู่กระทรวงอื่นๆ
นอกจากจิตอาสาแล้ว ถ้าเราจะลดความทุกข์ยากคนที่อยู่ข้างป่าได้อย่างไร สร้างความสัมพันธ์กับคนที่อยู่ข้างๆป่าอย่างไร สร้างเศรษฐกิจให้กับคนรอบเขาใหญ่ควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งไปเกี่ยวกับกระทรวงเกษตร พาณิชย์ ท่องเที่ยวฯ หน่วยงานจะเข้ามาอย่างไร อะไรที่ผ่อนปรนได้ เพื่อเป็นกิจกรรมร่วมของหลายส่วน นอกจากนั้นเป็นเรื่องของคนในเมือง สังคมที่ต้องเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งสภาองค์กรชุมชนตำบลก็โยงเชื่อมไปที่ระดับจังหวัด ซึ่งก็มีโครงของท้องถิ่นที่จังหวัด และหน่วยงานในระดับจังหวัด สร้างสำนึกร่วมของคนในพื้นที่ 4 จังหวัด
โดยมีเรื่องหลัก 1) สร้างจิตอาสา สร้างพื้นที่เชิงสัญลักษณ์คนจิตอาสาเขาใหญ่ให้มากที่สุด 2) สร้างระบบเศรษฐกิจ มิติเศรษฐกิจชุมชนที่เหมาะสมตอบสนองความเป็นอยู่ของคนรอบเขาใหญ่อย่างไร และ 3) สร้างสำนึกร่วม พันธมิตรของคนในพื้นที่ 4 จังหวัดอย่างไร 4) เป็นหน้าที่ของหน่วยงานที่จะผลักดันให้เป็นแนวนโยบายแห่งรัฐ ถ้าชาวบ้านเข้มแข็งไม่ใช่เรื่องยาก 5) มีคณะทำงานที่มีตัวแทนจาก 4 จังหวัด เจ้าหน้าที่ พอช. และอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จะสานงานต่อให้เป็นรูปธรรม
สภาฯ รอบเขาใหญ่ 20 กว่าตำบล รอบเขาใหญ่ สร้างความเข้มแข็งพร้อมปฏิบัติการ โดยใช้กิจกรรมเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ร่วม นายกษิเดชธนทัต กล่าวในตอนท้าย
นายเจน อมรพงษ์พันธุ์ หัวหน้างานปฏิบัติการชุมชน พอช. กล่าวว่า ตั้งเป้าคุยความร่วมมือการอนุรักษ์จัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พื้นที่รอบเขาใหญ่ ชาวบ้าน 20 กว่าตำบลจะเสริมพลัง ให้เขาใหญ่อย่างไร เขาใหญ่จะเสริมพลังชาวบ้านอย่างไร ซึ่งมีเรื่องที่เกี่ยวข้องคือ 1) เรื่องทรัพยากร การฟื้นฟู อนุรักษ์ สร้างเสริม อย่างไร 2) เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับ คน ที่ไม่ใช่เชิงปัจเจก เมื่อพิจารณารอบเขาใหญ่มีจำนวนมาก เรากำลังหาคนอาสาเข้ามาใหม่ 3) ระบบเศรษฐกิจ ที่ครัวเรือนต้องอยู่ดีกินดี ไม่เพียงแค่กลุ่ม ซึ่งมีครัวเรือนติดฐานทรัพยากร เศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร ชั้นต่อมาที่อยู่รอบฐานทรัพยากร สิ่งสำคัญคือเรื่องข้อมูล ข้อมูลจากตำบล จากสภาองค์กรชุมชนตำบล ซึ่งมีองค์กรที่มาจดแจ้งหลากหลาย ซึ่งยังไม่เห็นฐานข้อมูล สถานะ ความเข้มแข็ง และข้อมูลจากส่วนของอุทยานฯ ต้องมีการแชร์ข้อมูลที่ดูร่วมกัน ซึ่งยังไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจากส่วนอื่นๆ ในเบื้องต้น
โดยเสนอว่าต้องมีการทำฐานข้อมูลเพื่อการวางแผน เริ่มจากการแมปปิ้งตำบลรอบเขาใหญ่ สภาพ เศรษฐกิจ สังคมของตำบล ดูจากกลุ่มองค์กร ในเรื่องสังคมมีพื้นที่ที่ทำงานเกี่ยวกับเยาวชน ทำงานอนุรักษ์ ต้องเกะข้อมูลเพื่อให้เห็นศักยภาพของตำบลเพื่อมาวางแผนการจัดการทรัพยากรรอบเขาใหญ่ หลังจากนั้นเสนอให้ทำ DATA TOUR เลือกพื้นที่ติดเขาใหญ่ แล้วชวนตำบลที่ใกล้เคียงมาร่วมแลกเปลี่ยน ทางอุทยานฯ มีแนวคิดปลูกต้นไม้เป็นรั้ว ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งในการลงพื้นที่ เป้าหมายเพื่อดูข้อมูลของแต่ละตำบลทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม เก็บไปทีละอำเภอ พื้นที่สุดท้ายสรุปสังเคราะห์เป็นแผนการพัฒนา 5 ปี ปีที่ 1 ปีที่ 2 จนปีที่ 5 ดำเนินการอะไร และจะต้องมีกลไกลกลาง ทำหน้าที่กองเลขาธิการ และมีคณะทำงานชุดเล็กในการดำเนินการ
อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมได้เสนอให้มีคณะทำงานชุดเล็กขึ้นมา 1 คณะ เพื่อทำการลงพื้นที่ตำบลวังหมี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา และตำบลบุพราหมณ์ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ทดลองเก็บข้อมูล ที่จะนำไปสู่การออกแบบเครื่องมือในการที่จะเก็บข้อมูลสู่ตำบลอื่นๆ ที่เหลือ เพื่อเป็นฐานในการวางแผน ที่จะมาประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2561 ในการกำหนดยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: