เพชรบูรณ์-สุดเจ๋ง!มรภ.เพชรบูรณ์ผลิตเสื้อเกราะกันกระสุนอินทนิล ผ่านการทดสอบได้มาตรฐานระดับ 2A ต้นทุนต่ำตัวละ 8,000 บาท มอบให้ตร.ไว้ใส่ปฏิบัติหน้าที่
วันที่ 26 เมษายน ผู้ช่วยศาสตราจารย์(ผศ.)ประยูร ลิ้มสุข อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎ(มรภ.)เพชรบูรณ์ เป็นประธาน พิธีมอบเสื้อเกราะป้องกันกระสุนอินทนิล ซึ่งเกิดจากงานวิจัยของ มรภ.เพชรบูรณ์ ให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจภูธรจังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อไว้ใช้ในการปฎิบัติหน้าที่ โดยมีพล.ต.ต. ภิญโญ หวลกสินธุ์ ผบก.ศูนย์ฝึกตำรวจ รักษาราชการแทน ผบก.ภ.เพชรบูรณ์เป็นตัวแทนรับมอบ หลังเสร็จสิ้นพิธีผศ.ประยูร ให้สัมภาษณ์ว่า เสื้อเกราะป้องกันกระสุนอินทนิลเป็นงานวิจัยและพัฒนาแผ่นเกราะกันกระสุน โดยใช้วัตถุดิบในประเทศไทยทั้งหมดไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ โดยถือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่นตามพระบรมราโชบาย นอกจากนี้ยังมีต้นทุนการผลิตต่ำตกราวตัวละ 8,000 บาท ปัจจุบันได้ผ่านการทดสอบเรียบร้อยแล้ว สามารถป้องกันกระสุนปืนพกขนาด 9 มม.และขนาด 11 มม.ได้ ปัจจุบันมีการจดสิทธิบัตรและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินทางปัญญาเรียบร้อยแล้ว
ด้านผศ.ธรรม์ณชาติ วันแต่ง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ หัวโครงโครงการวิจัยเสื้อเกราะกันกระสุนอินทนิล กล่าวเพิ่มเติมว่า แผ่นเกราะกันกระสุนทำจากวัสดุประดับรถยนต์ คือเคฟล่าร์ ซึ่งมีความเหนียวยืดหยุ่น น้ำหนักเบา โดยเสื้อเกราะอินทนิลน้ำหนักเพียง 4 กก. ปัจจุบันผ่านการทดสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กระทั่งได้รับมาตรฐานในระดับ 2เอ ในขณะที่ต้นทุนการผลิตค่อนข้างต่ำตกราวตัวละ 8000 บาท หากเทียบเคียงกับเสื้อเกราะนำเข้าจากต่างประเทศตกราวตัวละ 20,000-30,000 บาท
ข่าวน่าสนใจ:
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล UNITHAI-CUEL Run for Charity 2025 ครั้งที่ 3 วิ่งด้วยใจ ในสวนสวย ช่วยผู้ป่วยมะเร็ง
- พิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- เขาค้อผวา "ทริปน้ำไม่อาบ" นอภ.สั่งตั้งจุดตรวจ เกรงหลังเสร็จกิจกรรมภูทับเบิก แก๊งแว้นเตลิดเขาค้อ
ผศ.ธรรม์ณชาติกล่าวอีกว่า การพัฒนาวิจัยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2552 โดยลูกศิษย์ที่จบไปเป็นทหารและตำรวจได้มาหารือถึงเสื้อเกราะที่ได้รับแจกตัวเกราะเป็นแผ่นเหล็กมีน้ำหนักมากเคลื่อนไหวไม่คล่องตัว จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจและยังทำให้เกิดแนวคิดจะหาวัสดุอะไรมาทดแทนเกราะแผ่นเหล็ก ส่วนการพัฒนาต่อยอดเสื้อเกราะอินทนิลนั้น คาดหวังจะพัฒนาให้มีมาตรฐานสูงขึ้นไปในระดับ 3เอ,3 ซึ่งสามารถป้องกันกระสุนปืนยาวเล็กเอ็ม 16 ได้
“นอกจากนี้ต้องแก้โจทก์จะทำอย่างไรให้น้ำหนักเบากว่านี้ขณะเดียวกันก็ต้องมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย แม้เสื้อเกราะอินทนิลปัจจุบันน้ำหนักจะอยู่ในราว 4 กิโลกรัมก็ตาม แต่ในการใช้งานจริงควรจะเบากว่านี้อีกก็ตั้งใจจะพัฒนาต่อเนื่องต่อไปและภูมิใจกับงานวิจัยชิ้นนี้มาก”ผศ.ธรรม์ณชาติกล่าว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: