ที่ บริเวณกำแพงเมืองเก่า ตำบลบ้านใต้ ถนนปากแพรก อ.เมือง จังหวัดกาญจนบุรี นายอนันต์ ชูโชติ อธิบดีกรมศิลปากร ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานตามโครงการอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมืองกาญจนบุรี โดยมี นายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี พร้อมด้วย เจ้าหน้าที่จากสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี เทศบาลเมืองกาญจนบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมต้อนรับและรับทราบแนวทางการดำเนินการสนับสนุนในการปฏิบัติงานบูรณะกำแพงเมือง
จากที่จังหวัดกาญจนบุรีได้มีการเปิดพื้นที่บริเวณถนนปากแพรก โดยร่วมกันปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบโรงงาน ทำความสะอาดตัดต้นไม้ ใบไม้ในที่รกร้างโดยรอบ นำรั้วสังกะสี รั้วลวดหนามเก่า ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมออก ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีกำแพงเมืองเก่า มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์อยู่ในบริเวณนั้น โดยจังหวัดกาญจนบุรีวางแผนที่จะพัฒนาเป็นสวนสาธารณะและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัดกาญจนบุรีต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
- ททท. เชียงราย เชิญชม ช็อป ชิมงาน “Lanna Winter Wonderland” ตื่นตา ตื่นใจกับการประดับไฟสุดอลังการ สนุกสนานกับ 10 จุดแลนด์มาร์ก ฟรี
- กาญจนบุรี ชาวบ้านรวมกลุ่มบุกรุกพื้นที่อุทยานขุดพรุน 14 ไร่ หาแร่ทองคำล้ำค่า เจ้าหน้าที่บุกจับแจ้ง 6 ข้อหาอ่วม
- คนขับรถกำจัดปลวกวูบหลับในชนรถซาเล้งขายส้มตำยับเจ็บสาหัส 3 ราย
- กาญจนบุรี คณะศึกษานานาชาติ ศึกษาเรียนรู้ความหลากหลายของระบบนิเวศ การฟื้นฟูผืนป่าและแหล่งน้ำ ศึกษาเส้นทางธรรมชาติ พฤติกรรมของสัตว์ป่า
สำหรับกำแพงเมืองกาญจนบุรีบริเวณปากแพรก สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2374 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ด้านบนทำเป็นรูปใบเสมา สัณฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหันไปทางแม่น้ำแควใหญ่ (ด้านทิศตะวันตก) ขนาด 200×436 มีป้อมมุม 4 มุม ป้อมใหญ่บริเวณกลางกำแพงเมืองด้านทิศตะวันตก 1 ป้อม และป้อมเล็กด้านหลัง 1 ป้อม รวม 6 ป้อม มีประตูด้านข้างคือด้านทิศเหนือและทิศใต้ ด้านละ 1 ประตู และประตูหน้า – หลัง ด้านละ 2 ประตู ประตูช่องกุฏิใต้ป้อมใหญ่และป้อมเล็กป้อมละ 1 ประตู รวม 8 ประตู กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนกำแพงเมืองแห่งนี้เมื่อปี พ.ศ.2478
ทางกรมศิลปากรได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนากำแพงเมืองกาญจนบุรี สมัยต้นรัตนโกสินทร์ ด้วยการขุดค้นหาทางโบราณ เพื่อศึกษาสถาปัตยกรรมโครงสร้างแนวกำแพงเมือง นำมาเป็นข้อมูลในการบูรณะ ขุดแต่งแนวกำแพงและพื้นที่บางส่วนตามแบบเดิม รวมถึงการปรับปรุงภูมิทัศน์ก็จะทำให้โบราณสถานแห่งนี้มีคุณค่าทั้งการเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในอนาคต
ซึ่งพื้นที่กำแพงเมืองกาญจนบุรีได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พ.ศ.2504 แก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติโบราณสถาน โบราณวัตถุ และพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 การปลูกสร้างใดใดในเขตที่ดินโบราณสถานโดยไม่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมศิลปากร จะมีโทษทั้งจำและปรับ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: