ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย จ.เลย องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (JICA) ร่วมกับโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ได้เปิดการแข่งขันการเขียน โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Thailand-Japan Game Programing HACKATHON 2019 ครั้งที่ 3 ของนักเรียนโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 12 โรงเรียน โดยมีนายไพโรจน์ พรมสอน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 เลย-หนองบัวลำภู เป็นประธาน
นายกิตติชัย กรวยทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยจังหวัดเลย กล่าวว่า กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย 12 โรงเรียน ได้การจัดการแข่งขันการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Thailand-Japan Game Programing HACKATHON 2019 เกิดจากการรวมกันของคำว่า เฮกเกอร์ (Hacker) + มาราธอน (Marathon) เป็นกิจกรรมที่นำนักเรียนที่มีความสามารถ ด้านการเขียนโปรแกรมและพัฒนาชอฟต์แวร์ ใช้เวลา 2-3วัน ในการพัฒนาชอฟต์แวร์ตามโจทย์ที่ได้รับ เพื่อแก้ปัญหาหรือสร้างงานวัตกรรมใหม่ๆโดยไม่หยุดพักภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อคัดนักเรียนของกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ไปแข่งขันชิงชนะเลิศที่ประเทศญี่ปุ่น
ข่าวน่าสนใจ:
- ป้ายรับซื้อบ้านผีสิง คิดว่าคอนเทนต์ เจ้าของป้ายเผยรับซื้อจริง บ้านเก่า บ้านมีประวัติลี้ลับมารีโนเวทขาย
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- คึกคัก นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย-ต่างชาติ แห่เที่ยวจับจ่ายหาของกินคาวหวาน-อาหารทะเลในงาน ‘หาดแม่รำพึง หร่อยริมเล’ ครั้งที่ 2 แน่นงาน
- ค่ายรถยนต์ ผุดบูธเพิ่มช่องทางปั๊มยอดช่วงปลายปี หลังตลาดยังซบยาวต่อเนื่อง
โดยกิจกรรมดังกล่าว เกิดจากยุทธศาสตร์คณะกรรมการบริหารโรงเรียนจุฬาภรณ์ ทั้ง 12 แห่ง จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ได้ทำงานร่วมกันโดยใช้ Hackerโปรแกรม เป็นตัวชู โปรแกรมที่ว่านี้ เป็นโปรแกรมที่ได้ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นโดยเฉพาะโคเซน (KOSEN) ซึ่งโคเซนเป็นวิทยาลัยเทคนิคของประเทศญี่ปุ่น จะเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 1 ของประเทศญี่ปุ่นที่เริ่มเรียนรู้การเขียนโปรแกรม แต่ของเราเป็นนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ได้ร่วมมือกันและได้จัดมีการแข่งขันกันทุกปี และจะวนเวียนกันจัดตามโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ ซึ่งโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาเลย เราได้รับมาจัดเป็นครั้งที่ 3 แล้ว
จุดเด่นของกิจกรรมคือ การนำนักเรียนวิทยาศาสตร์จากโรงเรียนจุฬาภรณ์ ทั้ง 12 แห่งมา 4 คน มาจัดกลุ่มกันใหม่ เพื่อให้นักเรียนได้มีการทำงานร่วมกัน ให้รู้จักกันมีการทำงานเป็นทีม แต่เราจะไม่แข่งกันว่าโรงเรียนใดเป็นหนึ่งหรือเป็นสอง เป็นเพียงการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโรงเรียน แต่ละกลุ่มจะได้ออกแบบร่วมกันว่า เกมส์ที่ออกแบบนั้นจะมีข้อกำหนด หรือมีชื่อเรียกว่าให้ทำเกี่ยวกับอะไร ซึ่งปีนี้กำหนดให้เขียนโปรแกรมเกมส์ ที่พัฒนาเกี่ยวกับความมั่นคงของโลกให้ยั่งยืน ว่าจะทำอย่างไรให้โลกของเรามั่นคงและมีความสุข จากนั้นเด็กแต่ละกลุ่มจะคิดออกแบบมาว่าเกมส์อะไร ที่ทำขึ้นมาแล้วเป็นเกมส์ที่พัฒนาโลกอย่างยั่งยืน เช่น เกมส์ในแนวอาหาร ที่กินเข้าไปแล้วไม่มีปัญหากับสิ่งแวดล้อม เด็กบางกลุ่มก็ออกแบบในแนวชุมชนที่มีความสุข เราจะอยู่ในสังคมโลกที่มีความสุข เวลานำเกมส์นั้นออกไปใช้คนที่เล่นเกมส์นั้น จะได้มีความผูกพันซึมซับในเกมส์นั้นไปด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: