ปทุมธานี ความทรงจำสีจางๆ นกปากห่าง ที่วัดไผ่ล้อม วัดอัมพุวราราม
วัดไผ่ล้อม และ วัดอำพุวราราม ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านงิ้ว อ.สามโคก จ.ปทุมธานี บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้านเหนือของจังหวัดปทุมธานี ใช้เส้นทาง ๓๓๐๙ (ถนนสายเชียงรากน้อย ซึ่งเป็นทางเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา) ในอดีตที่ผ่านมา ทั้งสองวัดนี้เป็นที่รู้จักของคนไทยทั้งประเทศ รวมถึงคนทั่วโลก เพราะสถานที่ของทั้งสองวัดนี้ เป็นที่อยู่อาศัยของ “นกปากห่าง” ที่หลบหนีความหนาวเย็นมาพักอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
นกปากห่างมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย ศรีลังกา พม่า ไทย ลาว เขมร และเวียดนาม อพยพมาหาพื้นที่เหมาะสมในไทยเพื่อผสมพันธุ์ สร้างรังและวางไข่ ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมิถุนายนของทุกปี โดยจะเริ่มจับคู่ทำรังและ ผสมพันธุ์จนกระทั่งวางไข่และเลี้ยงลูกอ่อน เมื่อลูกนกโตขึ้นจนสามารถช่วยเหลือตัวเอง ได้แล้ว พอเข้าฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคมนกส่วนมากจะอพยพจาก วัดไผ่ล้อมทยอยบินขึ้นไปทางเหนือ ยังประเทศอินเดีย จากนั้นในเดือนพฤศจิกายนนกก็ จะเริ่มบินกลับมาทำรังที่วัดไผ่ล้อมอีก
ข่าวน่าสนใจ:
พระครูวิสุทธิกิตติคุณ หรือ หลวงพ่อสมชาย กิตติสาโร เจ้าอาวาสวัดอัมพุวราราม เปิดเผยว่า พื้นที่ส่วนหนึ่งของทั้งสองวัดนี้ ถือเป็นพื้นที่ป่าไม้ผืนสุดท้ายของจังหวัดปทุมธานี ทั้งนี้ในอดีตนั้นพื้นที่แห่งนี้ยังเป็นพื้นนา ระบบนิเวศน์ยังสมบูรณ์ ชาวนาก็ทำนากันแบบเก่า และมีอาหารที่สมบูรณ์ ต่อมาเมื่อความเจริญรุกเข้ามา วิถีเก่าๆ ก็เริ่มหดหายไป ชาวนาชาวสวนเริ่มนำปุ๋ย นำสารเคมีเข้ามาใช้ ทำให้ระบบนิเวศน์เปลี่ยนไป นกที่เคยมีอาหารกิน ทั้งหอย กุ้ง ปูปลา โดยเฉพาะหอยเชอรี่ ที่เป็นอาหารหลักของนกปากห่าง
โดยข้อเท็จจริงแล้ว วัดทั้งสองนี้ เป็นผืนป่ามาแต่ดั้งเดิม และทุกวันนี้ก็ยังดำรงสถานะนั้นอยู่ ก่อนนี้เคยมีนกปากห่างมาอยู่อาศัยนับเป็นแสนๆ ตัว เรียกได้ว่าต้นไม้ในพื้นที่ของวัดนั้นทุกต้น จะเต็มไปด้วยนกปากห่าง ทั้งนี้ในทุกๆ ปี จะมีนกบินมาอาศัยที่นี่ในช่วงออกพรรษา พื้นที่แห่งนี้จะเต็มไปด้วยฝูงนกนับแสนๆ ตัว ใครผ่านไปผ่านมา ก็จะมองเห็นได้แต่ไกลว่า มาถึงเขตสามโคก ปทุมธานี แล้วนะ ทำให้ชื่อเสียงของพื้นที่นี้โด่งดังไปทั่งประเทศ รวมทั้งทั่วโลก ในแทบทุกวัน จะมีนักท่องเที่ยวเดินทางมาชมนกที่มีเป็นแสนๆ ตัว ยิ่งวันหยุดเสาร์อาทิตย์ นักท่องเที่ยวยิ่งเยอะมากๆ ทั้งนี้ทางราชการคือ กรมป่าไม้ ยังได้มาสร้างหอดูนกไว้บริการนักท่องเที่ยวไว้ที่นี่ด้วย แต่ก็เป็นที่น่าเสียใจ เมื่อราวๆปี พศ. 2536 -256-37 จำนวนนกเริ่มลดน้อยนก เพราะชาวนาชาวสวน เริ่มใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้แหล่งอาหารของนกปากห่างลดน้อยลงไป และในที่สุด ก็ไม่มีนกปากห่างมาอยู่อาศัยอีกเลย
“ทุกอย่างเป็นไปตามหลักไตรลักษณ์ อะไรๆ ย่อมเปลี่ยนตามกาลเวลา ตามหลักที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ทุกประการ” หลวงพ่อสมชายกล่าวทิ้งท้าย
ไตรเทพ ไกรงู ..รายงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: