X

2 รูปแบบการสร้างเครือข่ายการสื่อสารทางการเมือง สื่อมวลชนสงขลา

การวิจัยและนวัตกรรมเป็นกลไกลสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมของประเทศสู่เป้าหมาย ดังนั้นการวิจัยในแขนงวิชาวัตกรรมการสื่อสารการเมืองและการปกครองท้องถิ่น โดยทีมคณาจารย์ สาขานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชการ ได้ร่วมมือกันพัฒนางานวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อขับเคลื่อนงานวิจัยพร้อมสร้างเครือข่ายร่วมสู่เวทีสาธารณะอย่างกว้างขวาง ด้วยความมุ่งมั่น “พลังการวิจัย พลังพัฒนาสังคม” 

ระหว่างวันที่ 25-27 ตุลาคม 2562 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในการประชุมเอเชียครั้งที่ 10 “The Asian Conference on Media, Communication & Film” (MediAsia 2019)  ในงานประชุมวิชาการนานาชาติ ซึ่งจัดโดย  The International Academic Forum (IAFOR) ผลงานวิจัยของ ผศ. ดร.สุภาภรณ์ ศรีดี ประธานกรรมการประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์ (คณบดี) และกรรมการบริหารหลักสูตร นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชภายใต้หัวข้อ การสร้างเครือข่ายการสื่อสารทางการเมืองของสื่อมวลชน จังหวัดสงขลา (Political Communication Network Building by Journalists in Songkhla Province) เป็นอีกงานได้นำเสนอบนเวทีนานาชาติอย่างน่าสนใจ

การวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา รูปแบบการสร้างเครือข่ายการสื่อสารทางการเมืองของสื่อมวลชน และศึกษาในประเด็นสารที่ได้รับการสื่อสารและถ่ายทอดผ่านเครือข่ายด้านการสื่อสารทางการเมืองของสื่อมวลชน จังหวัดสงขลา

งานวิจัยของผศ.ดร.สุภาภรณ์ ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก 2 กลุ่ม รวม  20 คน โดยแบ่งเป็น 1.กลุ่มสื่อมวลชนระดับผู้บริหาร ได้แก่ ผู้ที่มีตำแหน่งบรรณาธิการข่าว บรรณาธิการบริหาร ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าสถานีวิทยุ โทรทัศน์ เจ้าของกิจการ หัวหน้าฝ่ายหรือตำแหน่งอื่นที่ทำหน้าที่ควบคุมและกำกับนโยบายองค์กรสื่อ จากสื่อแต่ละประเภท ประเภทละ 4 คน  จำนวน 16 คน 2.กลุ่มสื่อมวลชนระดับปฏิบัติการ ได้แก่ ผู้สื่อข่าว ผู้จัดรายการ และผู้ดูแลเว็บไซต์ด้านเนื้อหา รวมจำนวน 16 คน รวมทั้งสิ้น 32 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการสร้างเครือข่ายของสื่อมวลชนในจังหวัดสงขลา มี 2 รูปแบบ ได้แก่ เครือข่ายแบบเป็นทางการ เป็นเครือข่ายจัดตั้ง เป็นการรวมกลุ่มกันแบบที่มีกิจกรรมที่ทำร่วมกันหรือแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน  การสร้างไลน์กลุ่มสื่อมวลชนในสงขลามีการรวมกลุ่มกันค่อนข้างเหนียวแน่น มีสมาชิกจำนวนมากและค่อนข้างครบถ้วนจากทุก ๆ ภาคส่วน ซึ่งเป็นไปตามหลักการของการสร้าง การรักษา และขยายเครือข่ายแบบทางการผ่านประชาสัมพันธ์จังหวัดที่เป็นผู้เชิญสื่อมวลชนร่วมฟังการแถลงข่าวของผู้ว่าราชการจังหวัด และการให้ประเด็นข่าวจากแหล่งข่าวที่เครือข่ายสื่อมวลชนให้ความเชื่อถือได้แก่ ข่าวสำคัญที่มาจากผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัดตามลำดับ

อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบไม่เป็นทางการ เป็นการรวมกลุ่มกันโดยอิสระ เป็นเครือข่ายที่เกิดโดยธรรมชาติ และเป็นความสัมพันธ์ที่พัฒนาจากงานมาเป็นความสัมพันธ์แบบเพื่อนและพี่น้อง หรือ เกิดจากการรู้จักกันมาก่อน

นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าในขณะประเด็นสารที่ได้รับการสื่อสารและถ่ายทอดผ่านเครือข่ายสื่อมวลชนเกี่ยวกับ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนผ่านทางการรณรงค์ให้ประชาชนไปลงคะแนนการเลือกตั้งทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่นโดยเน้นการนำเสนอข่าวสารที่เป็นกลาง   ข้อมูลข่าวสารของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่นำไปเผยแพร่ให้กับประชาชนผ่านสื่อต่างๆ  ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติของนักการเมืองในจังหวัดสงขลาทั้งในระดับประเทศและในระดับท้องถิ่น และ ข่าวสารเกี่ยวกับความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในจังหวัดสงขลาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามพันธกิจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ความรู้จากการวิจัยต้องมีการสร้างสรรค์และสะสมความรู้ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา การสร้างผลงานวิจัยบนเวทีนานาชาตินอกจากเผยแพร่ผลงาน ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งเป็นการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนการสอนนักศึกษาโดยตรง เพื่อมุ่งสู่การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เตรียมความพร้อมกับการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of korphai ริมภู

korphai ริมภู

* นักเขียนอิสระ * นักข่าวอิสระ