X

“กฟผ.”จับมือ “กฟภ.” สัมมนาความร่วมมือแลกเปลี่ยนความเห็นการส่งจ่ายไฟฟ้าพื้นที่ภาคใต้

“กฟผ.”จับมือ “กฟภ.” สัมมนาความร่วมมือแลกเปลี่ยนความเห็น ความรู้ประสบการณ์ การส่งจ่ายไฟฟ้าพื้นที่ภาคใต้ เผยปริมาณการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้สูงกว่า 2พัน เมกกะวัตต์ ชี้ โครงการสร้างโรงไฟฟ้าในภาคใต้มีความจำเป็น

ที่จังหวัดตรัง วันที่ 18 พฤษภาคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ร่วมกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( กฟภ.) จัดสัมมาให้ความรู้ระหว่างผู้บริหารและผู้ปฎิบัติงาน ด้านการส่ง-จ่ายไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ โดยมี นายมนตรี ศรีสมอ่อน ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต นายวีรชัย เมืองพูล หน.กองควบคุมระบบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสำนักงานตรัง และผู้บริหาร ผู้ปฎิบัติงาน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และผู้บริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดตรัง ร่วมสัมมนา จำนวน 100 คน โดย นายมนตรี กล่าวถึงความเป็นไปได้ของโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินดทพา จ.สงขลา และ โรงไฟฟ้ากระบี่ ว่า เป็นโครงการที่ดีเพราะปัจจุบันการใช้ไฟฟ้าในภาคใต้เองสูงถึง2700เมกกะวัตต์ ในขณะที่กำลังผลิตเต็มที่ของโรงไฟฟ้าทั้งหมดในภาคใต้มี 3000 เมกกะวัตต์ ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่าจะผลิตได้เต็มกำลังเสมอไป เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ซึ่งเมื่อรวมแล้วกำลังผลิตที่ได้ในภาคใต้มีแค่ 2700 -2800 เมกกะวัตต์ ซึ่งใกล้เคียงกับปริมาณการใช้ไฟในภาคใต้

นายมนตรี ศรีสมอ่อน ผู้อำนวยการฝ่ายปฎิบัติการภาคใต้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต กล่าวว่า ดังนั้นการสร้างโรงไฟฟ้าในภาคใต้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง แต่เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการต่อต้านของประชาชนมาอย่างต่อเนื่อง และเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้สั่งให้ชะลอโครงการไปก่อน และสั่งการให้ กฟผ. ไปศึกษาผลกระทบด้านยุทธศาสตร์เพิ่มเติม ก่อนจะดำเนินการในขั้นตอนต่อๆไป ทั้งนี้การก่อสร้างไฟฟ้าแต่ละโรงต้องใช้เวลาก่อสร้าง 5 – 10 ปี ซึ่งจำเป็นอย่างย่งที่ จึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการโดยเร็ว เพราะในปัจจุบันภาคใต้ต้องดึงไฟฟ้าจากภาคกลางมาเสริมในช่วงที่โรงไฟฟ้าในภาคมีปัญหา ในส่วนของพลังงานทดแทนถือว่าดี ถ้าเอามาเสริมในระบบถือว่าดีมากเพราะเราจะลดการสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาได้ แต่โรงไฟฟ้าทดแทนไม่สามารถเดินเครื่องได้ตลอด 24 ชม ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และ มีต้นทุนการผลิตที่สูง เราจึงต้องไม่โรงไฟฟ้าหลักเพื่อให้มีเสถียณภาพในผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบ” นายมนตรี กล่าว

“ สำหรับในภาพรวมการใช้ไฟฟ้าของปี 60 ภาพรวมของทั้งประเทศมีเปอร์เซ็นการใช้ไฟฟ้าลดลง 1-2 เปอร์เซ็นต์ แต่กลับกันในภาคใต้กลับมีการใช้ไฟสูงขึ้น 3.1 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งภาคใต้มีอัตราการเติบโตสูงกว่าภาคอื่น
ส่วนการหยุดจ่ายแก๊สเพื่อซ่อมบำรุงท่อส่งก๊าสไทยมาเลเซีย จากแหล่ง JDA จะหยุดซ่อมบำรุงทุกปี ในช่วงซ่อมบำรุงทาง กฟผ.จะผลิตไฟฟ้าโดยใช้น้ำมันดีเซลล์ จากโรงไฟฟ้าจะนะ มาทดแทนซึ่งมีค่าที่สูงมาก ในขณะเดียวกันโรงไฟฟ้ากระบี่ใช้น้ำมันเตาในการ ซึ่งมีต้นทุนที่สูงถึงลิตรละ 7-8 บาท ทางโรงกระบี่จึงได้พัฒนาโรงไฟฟ้ากระบี่ให้สามารถใช้น้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิงได้ ซึ่งเชื้อเพลิงจากน้ำมันปาล์มก็มีต้นทุนสูงอยู่ที่ลิตละ 7-8 บาท ซึ่งโรงไฟฟ้าน้ำมันเตาที่จ.กระบี่ ไม่ได้เป็นโรงผลิตหลัก เพียงแค่เป็นโรงสำหรับสแตนบายในช่วงที่โรงไฟฟ้าอื่นในภาคใต้มีปัญหา”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน