X

นำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โครงการ“ขอนแก่น Smart City”

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เวลา 09.30น. นายธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์ นายกเทศมนตรีนครขอนแก่น นำเสนอแนวคิดการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โครงการ“ขอนแก่น Smart City (ระยะที่ ๑) : ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง”แก่ พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการจัดการประการประกวดฯ

ในการสัมมนาสรุปโครงการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart Cities-Clean Energy) และปาฐกถาพิเศษ เรื่อง ก้าวต่อไปของการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทย ของกระทรวงพลังงาน ณ ห้องบอลรูม 3 โรงแรม คอนราด ถ.วิทยุ กรุงเทพมหานคร โดยมี รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดร.ประกรณ์ชัย พลรัตนศักดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นายธวัชชัย วนาพิทักษ์กุล ผอ.ส่วนการโยธา สำนักการช่างเทศบาลนครขอนแก่น นายกังวาน เหล่าวิโรจกุล น.ส.อรนภา ช่างทอง ตัวแทนบริษัทขอนแก่น พัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด ตัวแทนจากจังหวัดขอนแก่น ร่วมรับฟัง นายกเทศมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

 ประการแรกตอนที่ศึกษาออกแบบเราก็จะทำควบคู่ไปหลายๆ ด้าน ตั้งคณะกรรมการ 5 คณะเพื่อผลักดันโครงการนี้เลือกพื้นที่สถานีวิจัยข้าวเป็นพื้นที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการ พัฒนาในเรื่อง TOD ไปด้วย พร้อมทั้งนำเสนอที่ดินใหม่แลกเปลี่ยนต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ทั้งนี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศที่ขอนแก่น ว่าโครงการนี้ต้องทำให้ได้ ณ เวลานี้ได้ประกาศเปิดประมูลบริษัทที่ปรึกษาในการบริหารจัดการโครงการ และคัดเลือกบริษัทที่จะรับเหมาก่อสร้าง จัดการระบบ การคัดเลือกบริษัทที่จะเป็นที่ปรึกษาในการบริหารจัดการ และคาดว่าต้นปีหน้าถ้าทุกอย่างเรียบร้อยดี ไม่ติดปัญญาอะไร น่าจะเริ่มตอกเสาเข็มได้ 3 ปี ต่อจากนี้ไปก็หน้าจะเกิดขึ้นได้จริง

นายกเทศมนตรีได้กล่าวต่ออีกว่า ต้องขอขอบพระคุณทางกระทรวงพลังงาน และคณะรัฐมนตรี ที่ให้โอกาส ไม่ใช่เพียงแค่รูปแบบหรือการศึกษาที่บนกระดาษ วันนี้จังหวัดขอนแก่นเอาเรื่องนี้บรรจุเป็นยุทธศาสตร์ของจังหวัดแล้ว โครงการที่เป็นหนึ่ง ในโครงการหลักที่ทำให้กระทรวงฯ ประกาศเลือกจังหวัดขอนแก่นเป็นหนึ่งใน 6 จังหวัด ที่เป็น SMART CITY ไม่ว่าจะเป็น ภูเก็ต,เชียงใหม่,กรุงเทพฯ ระยอง ฉะเชิงเทรา,ชลบุรี รวมถึงจังหวัดขอนแก่นเป็น 1 ใน 7 จังหวัดที่เป็น SMART CITY ของประเทศไทยที่นำร่องก็จะเกิดจากโครงการนี้

ตามที่สถาบันอาคารเขียวไทยได้เปิดรับสมัครให้หน่วยงานต่างๆ ส่งผลงานร่วมคัดเลือกเพื่อรับการสนับสนุนการออกแบบเมืองอัจฉริยะ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 21 ธันวาคม 2559 โดยมีหน่วยงานให้ความสนใจส่งผลงานเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้นจำนวน 36 โครงการแบ่งเป็น แบ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่จำนวน 32 โครงการ เมืองขนาดเล็กจำนวน 4 โครงการ และสถาบันได้คัดเลือกโครงการ ให้ผ่านขั้นตอนที่ 1เพื่อจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะจำนวน 16 โครงการ และคัดเลือกโครงการให้ผ่านขั้นตอนที่ 2 เพื่อจัดทำแผนธุรกิจจำนวน 7 โครงการนั้น โครงการทั้ง 7 ได้ดำเนินการจัดทำแผนธุรกิจส่ง ให้กับสถาบันอาคารเขียวไทยแล้วเสร็จเป็นที่เรียบร้อยต่อจากนั้นสถาบันได้จัดให้มีการพิจารณารายละเอียด

ผลงานตามหลักเกณฑ์ของโครงการทั้ง 8 หมวด ประกอบกับหลักเกณฑ์ด้านการเงิน และความเป็นไปได้ในการดำเนินการโครงการให้ประสบผลสำเร็จ โดยคณะกรรมการร่างและประเมินตามเกณฑ์การออกแบบเมืองอัจฉริยะกับคณะกรรมการตัดสินการ ประกวดการออกแบบเมืองอัจฉริยะ คณะกรรมการทั้งสองชุดได้พิจารณาคัดเลือกโครงการจากรายละเอียดด้านเทคนิค แผนธุรกิจที่สอดคล้องกับเกณฑ์ขององค์การ และเป็นแผนที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดขึ้นได้จริงเป็นหลักซึ่งผลการพิจารณา

ปรากฏว่ามีโครงการที่ผ่านการคัดเลือกในขั้นตอนสุดท้ายจำนวน 6 โครงการดังนี้ 1.นิดา : มหาวิทยาลัยอัจฉริยะรู้รักษ์พลังงาน สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน 2.ขอนแก่น Smart City (ระยะที่1) ขนส่งสาธารณะเปลี่ยนเมือง 3.มช.(เมือง) มหาวิทยาลัยอัจฉริยะพลังงานสะอาด 4.วิสซ์คอม วัน-โอ-วัน 5.ธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต : ต้นแบบเมืองมหาวิทยาลัยอัจฉริยะ และ 6.เมืองจุฬาฯอัจฉริยะ ซึ่งทั้ง 6 โครงการถือว่าเป็น Smart City เมืองอัจฉริยะ ต้นแบบกระทรวงพลังงาน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน