เมื่อวันที่ 28 เม.ย.ที่ห้องประชุมชั้น 3 อบจ.ระยอง ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง นายคณิต แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC นายปิยะ ปิตุเตชะ นายก อบจ.ระยอง และนายชาญศักดิ์ ชื่นชม รอง กก.ผจก.ใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน บ.ปตท. จำกัด(มหาชน) ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ คลายปัญหาสร้างความเชื่อมั่น สร้างรายได้ให้เกษตรกรในพื้นที่ EEC โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรแปลงใหญ่ในพื้นที่ ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายคณิต กล่าวว่า คณะกรรมการ EEC อบจ.ระยอง และ ปตท.ได้ร่วมกันในการเตรียมการรักษาเสถียรภาพของราคาผลไม้ในภาคตะวันออกให้กับเกษตรกร จึงได้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือการบริหารจัดการ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรักษาเสถียรภาพราคาผลไม้ดังกล่าวขึ้น โดยที่ อบจ.ระยอง จะดำเนินการจัดตั้งศูนย์รับซื้อและรวบรวมผลไม้ วงเงิน 100 ล้านบาท ในการร่วมกับผู้ประกอบการและภาคเอกชน จัดหาและรวบรวมผลไม้ที่ผ่านการคัดคุณภาพตามมาตรฐาน สด สะอาด และปลอดภัย และกระจายสินค้าไปสู่ผู้บริโภคภายในประเทศ และการจัดเตรียมคลังห้องเย็น ดำเนินการโดย ปตท.สำหรับจัดเก็บผลไม้แช่เข็ง
ข่าวน่าสนใจ:
- แก๊งหัวหมอ!! ตำรวจโคกสูงบุกจับแก๊งแสบ 3 ราย รับบุหรี่เขมร มาส่งขายผ่านขนส่ง ฟัน 3 ข้อหาหนัก
- ทีม"บุ่นเล้ง" หาเสียงเขตเทศบาลนครตรัง จัดทัพตุ๊กตุ๊กหัวกบ 30 คัน แห่หาเสียง ลั่นกลองขอพรศาลเจ้าท่ามกงเยี่ย
- ญาติติดต่อขอรับศพชายวัย 31 ปี ตกตึกชั้น 14 ตึก 18 ชั้น เตรียมเผาร่างฝั่งปอยเปต
- เครือข่ายเจ๊ดาว!! ชุดสืบฯ เปิดปฏิบัติการบุกค้นขบวนการนำพาคนข้ามแดนตามทางช่องทางธรรมชาติ พบขบวนการนำพาคนเปิดบัญชีม้าข้ามแดน-สแกนใบหน้า
ซึ่งรองรับปริมาณผลผลิตประมาณ 7,000-8,000 ตัน ให้บริการแก่เกษตรกร และผู้ประกอบการต่างๆ ให้มีทางเลือกในการเก็บรักษาและคงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและสามารถรอจำหน่ายในช่วงนอกฤดูกาลผลิต ส่วนการประชาสัมพันธ์ จะดำเนินการโดย คณะกรรมการ EEC ซึ่งมีหน้าที่จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์และช่วยขยายช่องทางการตลาดในกลุ่มพันธมิตรในพื้นที่ EEC เช่น กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ประกอบการแปรรูปผลไม้ กลุ่มสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ตลอดจนเครือข่ายพันธมิตร และภาคเอกชนนอกพื้นที่ต่างๆ
นายคณิต กล่าวต่อว่า สำหรับทุเรียนเป็นผลไม้หลักของระยอง และเป็น 1 ใน 5 คลัสเตอร์หลักของแผนพัฒนาภาคการเกษตรในพื้นที่ EEC โดยจะดำเนินการในเรื่องของการตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มด้วยเทคโนโลยี ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก ด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ ซึ่งมีการดำเนินงานไปแล้วร่วมกับ สวทช.เช่น ระบบการให้น้ำ และถุง Magik Growth ที่ช่วยให้ได้ผลทุเรียนที่มีเปลือกบางลง 30 เปอร์เซ็น ได้เนื้อทุเรียนเพิม่ขึ้น 20-25 เปอร์เซ็นอีกด้วย.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ 0 / 5. จำนวนโหวต: 0