วันที่ 29 พฤษภาคม 2566 ที่วิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา ตำบลเนินพระ อำเภอเมืองระยอง นายบุญธรรม ใยกล้า นายกเทศมนตรีตำบลเนินพระ เป็นประธานเปิดศูนย์เรียนรู้และเปิดธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน โดยมี นายลำเพย แว่วเสียง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา นายสุริยา ข่าวไทเพิ่มพูนสุข ผอ.ศูนย์วิชาการนวัตกรรมการสื่อสาร “ข่าวไทกรุ๊ป” เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมและ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ที่ปรึกษาโครงการฯ พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ชาวชุมชนฯร่วมในพิธี
นายลำเพย แว่วเสียง ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา กล่าวว่า เรามีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนมากว่า 10 กว่าปี เป้าหมายคือ การพัฒนาด้านอาชีพและเศรษฐกิจชุมชน และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้านชาวประมงและชุมชนท้องถิ่นให้มีความอยู่ดีมีสุขถึงลูกหลานต่อไป การต่อยอดด้วยนวัตกรรม จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ(Effective Microorganisms- EM )ในการพัฒนาชุมชนเป็นฐานความรู้ที่สำคัญและจะสามารถเพิ่มศักยภาพการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชนได้มากยิ่งขึ้น และจะถ่ายทอดความรู้ เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าถึงการใช้จุลินทรีย์ ที่มีประสิทธิภาพ (Effective Microorganisms- EM ) ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกด้านในชีวิตประจำวันและการอาชีพ จึงได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และธนาคารจุลินทรีย์ ฯ ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ในระดับครัวเรือนและชุมชนได้ ทั้งเป็นการขยายจุลินทรีย์ที่ดีมีประสิทธิภาพให้กระจายทั่วทั้งท้องถิ่น เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมที่สะอาดและลดมลภาวะต่างๆ สร้างสมดุลของระบบนิเวศน์ของชุมชน ขอขอบคุณ ศูนย์วิชาการนวัตกรรมการสื่อสาร”ข่าวไทกรุ๊ปเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิเกษตรกรรมธรรมชาติ และ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ที่ปรึกษาโครงการฯ และ ขอบคุณองค์กรท้องถิ่น หน่วยงาน / บริษัท ที่ร่วมสนับสนุนทุกหน่วยงานที่ร่วมมือกันขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้และกิจกรรมพัฒนาสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชนร่วมกัน
ข่าวน่าสนใจ:
- ฉุนหนัก เพื่อนรักล้วงเล่นนกเขา คว้าขวดเบียร์ตีหัวแตก
- วัสดุทำกระทงตรังราคาพุ่ง ดาวเรืองขึ้นราคาเท่าตัว ผู้ค้าตลาดเทศบาลนครตรังเงียบเหงา กัดฟันขายราคาเดิมหวั่นกระทบลูกค้า
- 'โครงการสร้างโอกาสสานฝันเด็กและเยาวชน จ.ระยอง' มุ่งสร้างโอกาสทางการศึกษา
- จ.สุโขทัย 40 สาวงามขึ้นเวทีประชันโฉม ชิงตำแหน่งนางนพมาศ ในงาน "ประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ" ประจำปี 2567
นายสุริยา ข่าวไทเพิ่มพูนสุข ผอ.ศูนย์วิชาการฯ “ข่าวไทกรุ๊ป” และ ดร.กฤษณ์ พงษ์เทพิน ที่ปรึกษาโครงการฯ กล่าวว่า ยุทธศาสตร์หลัก คือ การนำองค์ความรู้ด้านจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ฯมาใช้ เกิดประโยชน์ในการบำบัดน้ำเสียและฟื้นฟูป่าชายเลน สำหรับชาวประมงยังสามารถลดขยะมลภาวะจากเศษปลาไส้ปลาหัวปลา นำกลับมาผ่านกระบวนการผลิต “ฮอร์โมนปลาทะเลหมักด้วย EM “ ซึ่งได้ผลิตภัณฑ์ ปุ๋ยน้ำชีวภาพสารสกัดจากปลาทะเล (ซึ่งเพิ่มมูลค่าได้ราคาขายลิตรละ 150 บาท (แพงกว่าราคาน้ำมัน) ซึ่งจะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มขึ้นสร้างรายได้ให้ชุมชนต่อไป สามารถนำไปใช้กับการเกษตรเช่น พืชผักสวนมะม่วง ผลไม้ มันสำปะหลัง ทุเรียน ลดต้นทุนปุ๋ยเคมีได้ และมีผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง เช่น จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย สารไล่แมลง ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมัก น้ำยาเอนกประสงค์ในการทำความสะอาดในครัวเรือน การนำไปใช้ผลิตอาหารสัตว์ และ ประยุกต์ใช้กับปศุสัตว์ เกษตร และ การลดขยะและมลภาวะ เป็นต้น และ การจัดตั้ง “ศูนย์เรียนรู้และเปิดธนาคารจุลินทรีย์ชุมชน “ เพื่อถ่ายทอดขยายองค์ความรู้สู่ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจชุมชนและการใช้จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพฯมากขึ้นจะช่วยปรับสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: