เมื่อวันที่ 17 ก.พ.ที่อาคารอเนกประสงค์วัดกระแสคูหาสวรรค์ ต.กระแสบน อ.แกลง จ.ระยอง ททท.สำนักงานระยอง ได้ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกระแสบน และชาวบ้าน ได้จัดงานวิวาห์ หรือแต่งงานให้ตัวตะกอง (ตัวลั้ง)หรือกิ้งก่ายักษ์ขึ้น ซึ่งเป็นสัตว์หายากใกล้สูญพันธุ์ โดยมีนายอุทิศ ลิ่มสกุล ผอ.ททท.สำนักงานระยอง นางอุมา วิภูษณะ สจ.แกลง นายบุญสืบ แกล้วกล้า ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลกระแสบน นายบุรี สำเร็จ ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลชากพง และชาวบ้านในพื้นที่จำนวนมากร่วมเป็นสักขีพยาน
โดยพิธีวิวาห์ดังกล่าวจัดขึ้นคล้ายกับคนแต่งงานทั่วไป ทั้งพิธีแห่ขันหมาก พิธีกั้นประตูเงินประตูทองของฝ่ายเจ้าสาวตัวลั้งจากชุมชนบ้านกระแสบน พิธีสู่ขอจากฝ่ายเจ้าบ่าวบ้านชากพง อ.แกลง และพิธีรดน้ำสังข์เพื่อความเป็นสิริมงคล ก่อนจะมีการแห่ลงเรือหางยาว เพื่อไปปล่อยบริเวณริมคลองคืนสู่ธรรมชาติ
ข่าวน่าสนใจ:
นายบุญสืบ แกล้วกล้า ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลกระแสบน กล่าวว่า การจัดกิจกรรมดังกล่าวเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์และเป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้นต่อยอดไปสู่การยกระดับการท่องเที่ยวชุมชนต่อไป ทั้งนี้สำหรับนับเป็นงานแต่งงานตัวลั้งหรือตะกอง หรือกิ้งก่ายักษ์ครั้งแรกของอำเภอแกลง จังหวัดระยอง ซึ่งตัวลั้งสามารถพบเห็นได้ตามแนวชายคลองในชุมชนกระแสบนและพื้นที่ใกล้เคียง
โดยตัวตะกอง หรือ ลั้ง หรือ กิ้งก่ายักษ์ ที่ว่านี้(อังกฤษ: Chinese water dragon; ชื่อวิทยาศาสตร์: Physignathus cocincinus) เป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทกิ้งก่า ในวงศ์กิ้งก่า (Agamidae) ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในประเทศไทย มีรูปร่างทั่วไปคล้ายอีกัวน่าที่พบในอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ลักษณะขนาดเมื่อโตเต็มที่ยาวประมาณ 90-120 เซนติเมตร (ปลายจมูกถึงโคนหาง 35-50 เซนติเมตร และหางยาว 55-70 เซนติเมตร) โดยตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ราว 10-30 เซนติเมตร และจะมีหัวป้อมกว่า สีของลำตัวเข้มกว่า หางมีแถบสีดำเป็นปล้อง ๆ สีลำตัวปกติของตะกองจะมีสีเขียวเข้มและสามารถที่จะเปลี่ยนสีของให้เข้มขึ้นหรืออ่อนลงตามสภาพแวดล้อมได้ ในขณะที่เป็นวัยอ่อนบางตัวใต้คางและส่วนหัวจะมีสีม่วงหรือสีฟ้าแลดูสวยงาม และเมื่อโตขึ้นมาตัวผู้ส่วนหัวด้านบนจะโหนกนูนขึ้นเห็นชัดเจน ส่วนตัวผู้เมียจะมีความนูนน้อยกว่าและพวกมันอาจมีอายุถึง 30 ปีเลยทีเดียว
ในปัจจุบัน พบน้อยลงมากเนื่องจากถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง จับเพื่อทำเป็นอาหาร และแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลาย ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 ได้จัดให้ตะกองเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง[1] มีพฤติกรรมชอบนอนผึ่งแดดตามคาคบไม้ริมห้วยลำธาร เมื่อตกใจจะวิ่ง 2 ขาได้โดยหุบขาหน้าไว้แนบชิดลำตัว และโดยปกติเมื่อมีภัยจะกระโจนลงน้ำ และสามารถดำน้ำได้เป็นเวลานาน อาหารได้แก่ แมลงชนิดต่าง ๆ, กบ, เขียด, ปลาขนาดเล็ก, สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมขนาดเล็ก และผลไม้บางชนิด และยังสามารถดำน้ำจับปลาได้อีกด้วย และจะมีฤดูกาลผสมพันธุ์และวางไข่ในระหว่าง เดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม และในหนึ่งครั้งตัวเมียจะวางไข่ประมาณ 10 ฟอง บริเวณพื้นดินที่มีลักษณะเป็นดินทรายและจะขุดหลุมลึกลงไปประมาณ 12-17 เซนติเมตร และกว้างประมาณ 12-15 เซนติเมตรตะกอง มีการกระจายพันธุ์ทั่วไปในป่าดิบในตอนใต้ของประเทศจีน, ประเทศลาว, เวียดนาม, กัมพูชา และภาคตะวันออกและอีสานของประเทศไทย ชอบที่จะอาศัยหากินอยู่ในพื้นที่ซึ่งมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์และมีสภาพป่าที่ค่อนข้างทึบ เช่น บริเวณริมห้วยที่มีน้ำไหลวิวาห์ตัวตะกอง (ตัวลั้ง)หรือกิ้งก่ายัก สัตว์หายากใกล้ศูนย์พันธุ์ ที่เดียวในจังหวัดระยอง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: