ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายโชติชัย บัวดิษ ประธานชมรมชาวสวนผลไม้ท่องเที่ยวเชิงเกษตร จังหวัดระยอง กล่าวว่า ปัจจุบันชาวสวนผลไม้ท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดระยอง หรือชาวสวนผลไม้จังหวัดระยอง กำลังประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแต่ละสวนจะมีแหล่งน้ำของตนเอง แต่ปีนี้เนื่องจากเกิดปัญหาภาวะฝนแล้ง เช่น อำเภอบ้านค่าย อ.แกลง และอำเภอวังจันทร์ ฝนไม่ตกมา 3-4 เดือนแล้ว ลักษณะเช่นนี้ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำของสวนผลไม้ค่อนข้างรุนแรงขึ้น
ซึ่ง ณ วันนี้ชาวสวนยังสามารถช่วยตัวเองกันได้อยู่เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน แต่หากฝนยังไม่ตกจะเกิดสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบ คือ ถ้าฝนยังไม่ตกก็จะทำให้สวนผลไม้ไม่มีน้ำใช้ จำเป็นต้องตัดต้นทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ที่กำลังออกผลและจะสามารถขายทำเงินได้ในเดือนเมษายนนี้ทิ้ง เพื่อรักษาต้นแม่พันธุ์ไว้ในปีต่อไป ทำให้ชาวสวนผลไม้ต้องฝันสลาย ที่กำลังจะมีรายได้ใน 1-2 เดือนนี้หายวับไปกับตาเพราะภัยแล้งและหากไม่ตัดถ้าปล่อยไว้ต้นก็จะยืนตายหมด จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องช่วยเหลือด่วน โดยเฉพาะการทำฝนเทียมที่สามารถจะช่วยชาวสวนโดยส่วนรวมได้ในช่วงนี้ เพื่อเพิ่มความชื้นในอากาศและเติมน้ำในแหล่งน้ำให้สวนผลไม้ที่กำลังออกดอก ออกผลอยู่ในขณะนี้อย่างตรงจุดที่สุด ก่อนที่จะประสบปัญหาต้นทุนหายรายได้หด ส่วนน้ำของชลประทาน ก็ดึงมาใช้ลำบากเนื่องจากคลองประทานอยู่ห่างเกินไป
ข่าวน่าสนใจ:
- "เลยดั้น" แค่มุมภาพเดียว กลายเป็นไวรัล ดึงดูด นทท.แห่เช็คอินถ่ายภาพ อ.น้ำหนาวเตรียมดันเป็นซอฟพาวเวอร์
- พบช้างป่าอยู่ใกล้ที่ทำร้ายคนเสียชีวิตเร่งผลักดันหวั่นเกิดเหตุซ้ำ จ.ปราจีนบุรี
- องคมนตรีเชิญสิ่งของพระราชทานเนื่องในโอกาสปีใหม่ 2568 มอบให้ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จ.สระแก้ว
- ปราจีนบุรี สลดหนุ่ม 45 ถูกช้างป่าอ่างฤาไนทำร้ายเสียชีวิต
ด้านนายปัญญา สุขสว่าง เจ้าของสวนมังคุดไทย ม.4 ต.หนองตะพาน อ.บ้านค่าย กล่าวว่า ในช่วงนี้ผลไม้กำลังติดลูกและเก็บผลผลิตได้ภายในอีกไม่เกิน 10 วันข้างหน้า ปัญหาที่ประสบขณะนี้คือฝนไม่ตกมา 3 เดือนแล้ว ชาวสวนต้องแก้ไขโดยใช้น้ำที่มีเก็บไว้ในสวนให้พอเพียงและใช้อย่างคุ้มค่า ไม่ให้ต้นไม้ยืนต้นตาย ทั้งนี้ถ้าเป็นสวนที่อยู่ในเขตชลประทานสามารถเอาน้ำมาใช้ได้เลย จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ในระดับหนึ่ง จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือโดยด่วน เพราะเกษตรกรของระยองต้องอาศัยรายได้หลักจากด้านการเกษตร โดยเฉพาะด้านการทำฝนเทียม ทำให้ฝนตกสักเดือนละ 3 ครั้งก็น่าจะเพียงพอให้ในอากาศได้มีความชื้น เพื่อที่จะให้ผลผลิตที่ออกมาไม่ว่าเนื้อ ผิวพรรณ รสชาติจะดีไปด้วย ทั้งนี้อย่ารอให้เกิดแล้งจัดก่อนแล้วค่อยทำควรเร่งให้การช่วยเหลือ จะทำให้เสียหายหนักผลผลิตทั้งหมดจะไม่ได้เลย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: