พลเอก ธารไชยยันต์ ศรีสุวรรณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ นาย กลิน ที เดวีส์ (H.E. Mr. Glyn T. Davies) เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกคอบร้าโกลด์ ๑๘ ณ กองการบินทหารเรือ สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง โดยมี เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย ผู้แทนเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย เอกอัครราชทูตมาเลเซียประจำประเทศไทย และอัครราชทูต ที่ปรึกษาสิงคโปร์ประจำประเทศไทย เข้าร่วมด้วย
การฝึกคอบร้าโกลด์ เป็นการฝึกร่วมผสมทางทหารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งกองทัพไทย และกองกำลังสหรัฐอเมริกาภาคพื้นแปซิฟิก ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ ๓๗ วัตถุประสงค์การฝึกเพื่อพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงในการแก้ไขสถานการณ์ความขัดแย้ง มุ่งไปสู่การเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพนานาชาติ รวมทั้งเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางทหาร ระหว่างกองทัพไทยกับกองทัพมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกคอบร้าโกลด์ ๑๘ ที่ดีอยู่แล้วให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
ข่าวน่าสนใจ:
- พิธีเปิดนิทรรศการฟอสซิลช้างดึกดำบรรพ์และสัตว์ร่วมยุคในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
ในปีนี้การฝึกคอบร้าโกลด์ มีประเทศเข้าร่วมการฝึกหลัก จำนวน ๗ ประเทศ ได้แก่ ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย โดยมีประเทศจีน และอินเดีย เข้าร่วมในส่วนโครงการช่วยเหลือประชาชน นอกจากนี้ยังมีประเทศในโครงการฝ่ายเสนาธิการผสมส่วนเพิ่มนานาชาติ ( Multinational Planning Augmentation Team : MPAT ) จำนวน ๑๐ ประเทศ สำหรับประเทศที่เข้าร่วมสังเกตการณ์การฝึก
(Combined Observer Liaison Team : COLT) จำนวน ๑๐ ประเทศ รวมทั้งสิ้น ๒๙ ประเทศ จำนวนผู้เข้ารับการฝึกรวม ๑๑,๐๗๕ นาย โดยใช้พื้นที่กองทัพภาคที่ ๑ กองทัพภาคที่ ๒ และบริเวณอ่าวไทยตอนบน เป็นพื้นที่การฝึกหลัก ในระหว่างวันที่ ๑๓-๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ ประกอบด้วย การฝึกปัญหาที่ บังคับการ (Command Post Exercise : CPX) การฝึกภาคสนาม (Field Training Exercise : FTX) และโครงการช่วยเหลือประชาชน (Humanitarian Civic Assistance: HCA) โดยในปีนี้ได้เพิ่มการฝึกช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาสาธารณภัย (Humanitarian Assistance/Disaster Relief: HA/DR) การฝึกต่อต้านการก่อการร้ายสากล (Counter Terrorism: CT) และการฝึกกวาดล้างและทำลายทุ่นระเบิด (Land Mine Destruction: LMD)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: