ขอนแก่น – รพ.ศรีนครินทร์แจงเหตุหญิงวัยกลางคนออกอาการเดือด หลังไปขอตรวจหาโควิด-19 แต่ได้รับการปฏิเสธ ล่าสุดแพทย์ชี้แจงว่า ไม่เข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อ
จากกรณีที่เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ที่มีคลิปเผยแพร่ในโลกออนไลน์เป็นเสียงของหญิง อายุประมาณ 50 ปี ไปขอตรวจเชื้อโควิด-19 ที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.ขอนแก่น โดยอ้างว่า ตนเองสัมผัสกับกลุ่มคนจีนและอาจได้รับเชื้อโควิด-19 จึงมาขอตรวจ แต่เจ้าหน้าที่กลับไม่ตรวจให้
ข่าวน่าสนใจ:
- นายอำเภอกระนวน จ.ขอนแก่น นำทีมฝ่ายปกครองบุกจับแก็งยาบ้า ขยายผลยึดยาบ้า 600 เม็ด
- ขอนแก่น เอาจริงลุยปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด ในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น ได้ผู้ต้องหา 4 ราย หลังชาวบ้านแจ้งเบาะแส
- ขอนแก่นจัดงานแถลงข่าว เทศกาลสุดออนซอนแห่งปี! “PlaraMorlum” Isan to the World ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
เรื่องนี้ รศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า คลิปดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์จริง ซึ่งเป็นคลิปที่เกิดขึ้นเนื่องจากว่า ผู้ป่วยรายนั้นมีอาการซึ่งประเมินตนเองว่า อาจจะมีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 แต่เมื่อมารับบริการตามขั้นตอนของโรงพยาบาลซึ่งเป็นระบบการสืบสวนโรค พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าวแทบจะไม่มีความเสี่ยง ทางโรงพยาบาลก็ได้อธิบายให้ผู้ป่วยทราบ ก่อนจะเกิดเหตุการณ์ตามที่เกิดขึ้นในคลิป
รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ กล่าวต่อว่า ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 มีหลักการทางการแพทย์ในการสืบสวนโรคว่า มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าหากมีความเสี่ยงน้อย ต้องมองในระยะยาวว่า หากความเสี่ยงน้อยอาจจะทำให้เกิดความสิ้นเปลืองอุปกรณ์ทางการแพทย์ ไม่ใช่แค่ว่ามีเงินแล้วอยากจะตรวจหาเชื้อได้ แต่ต้องมีความเสี่ยงสูงด้วย ซึ่งจะทำให้ทรัพยากรส่วนกลางของทางแพทย์ ทั้งชุด หน้ากาก ถุงมือต่างๆ ที่แพทย์และพยาบาลต้องใช้ ซึ่งปัจจุบันจำเป็นจะต้องสำรองไว้กรณีที่มีผู้ป่วยเกิดขึ้น
- ไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 เพิ่ม 30 คน รวมสะสม 177 คน ขยายตรวจฟรีกลุ่มเสี่ยงแล้วมีอาการ
- สั่งปิดแล้ว แหล่งรวมตัวเสี่ยงแพร่เชื้อทุกแห่งคุมสถานการณ์โควิด 19 ที่แปดริ้ว
- ผู้ว่าฯ ขอนแก่น ตอบคำถามกรณีข่าวลือพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากสนามมวยกรุงเทพฯ อยู่ในขอนแก่น พบผลเลือดเป็น +
โดยปัจจุบันคนที่มาตรวจส่วนใหญ่ ยังให้เป็นผลลบ ซึ่งถ้าหากบุคคลทั่วไปที่ไม่มีความเสี่ยงแล้วมาตรวจจะทำให้ยิ่งเสียทรัพยากรทางการแพทย์ที่จะต้องเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็นยิ่งหายากมากยิ่งขึ้น และอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญ คือเวลาในการตรวจหาเชื้อแต่ละครั้ง แพทย์ต้องใช้เวลาในการตรวจคนละ 1 ชั่วโมง เท่ากับว่าต้องเสียเวลาของแพทย์ 1 คนที่จะไปรักษาคนไข้รายอื่น เพื่อมาตรวจคนที่ไม่มีความเสี่ยง ทำให้เสียทรัพยากรบุคคลและเสียโอกาสของคนอื่นๆ ที่จะได้รับการรักษาพยาบาล เรื่องนี้ได้อธิบายให้หญิงคนดังกล่าวเข้าใจ ก่อนที่เรื่องทั้งหมดจะจบลงด้วยดี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: