สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดฝึกอบรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำสื่อ และหลักสูตรส่งเสริมสมรรถนะ โดยใช้ความรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นฐาน” ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างวันที่ 22 – 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องนภาลัย โรงแรมราชาวดี รีสอร์ทแอนโฮเตล จังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นครูผู้สอนของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ และมีศึกษานิเทศก์ ผู้รับผิดชอบงานด้านการศึกษา และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานด้านโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี ขององค์กรต่างๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์ และการฝึกอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี รศ.ดร.วัชรินทร์ ลอยลม กรรมการและเลขานุการสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี เป็นผู้กล่าวรายงาน
จากนั้น ศ.นพ.ณรงค์ ขันตีแก้ว ได้บรรยายให้ความรู้ครูผู้เข้าอบรม ในหัวข้อ “ความสำคัญและแนวทางการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีผ่านกลไก“อำเภอต้นแบบ” และการบรรยายในหัวข้อ “กระบวนการก่อมะเร็งท่อน้ำดีที่เกิดจากพยาธิใบไม้ตับ” โดย รศ.ดร.วัชรินทร์ ลอยลม กรรมการและเลขานุการ สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี จากนั้นเป็นการบรรยาย ในหัวข้อ “การป้องกันโรคพยาธิใบไม้ตับและนวัตกรรมในการตรวจคัดกรอง” โดย ศ.ดร.ไพบูลย์ สิทธิถาวร ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และการบรรยายให้ความรู้ในหัวข้อ “มะเร็งท่อน้ำดี : รักษาได้หากรู้ทัน” โดย ผศ.นพ.อรรถพล ติตะปัญ ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
ข่าวน่าสนใจ:
- ม.นครพนม จัดประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 19 ภายใต้หัวข้อ “บูรณาการ AI and Soft Power ในการบริหารภาครัฐ”
- นครพนม : กองทัพบก ร่วมกับ Kubota มอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน มอบเสื้อกันหนาวให้ชาวนครพนม ตามโครงการ "คูโบต้า พลังใจ สู้ภัยหนาว" ปี 2567
- จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล UNITHAI-CUEL Run for Charity 2025 ครั้งที่ 3 วิ่งด้วยใจ ในสวนสวย ช่วยผู้ป่วยมะเร็ง
- “คูโบต้า พลังใจสู้ภัยหนาว” ร่วมกับ“กองทัพบก” จัดคาราวานเสื้อกันหนาว เดินหน้ามอบไออุ่นในพื้นที่ภาคอีสาน
และในช่วงบ่าย เป็นกิจกรรมเสริมพลังเครือข่าย และการชี้แจงและแบ่งกลุ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ โดย รศ.ลัดดา ศิลาน้อย และคณะ จากนั้นเป็นการแบ่งกลุ่มทำกิจกรรมเกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้ โดยทีมงานนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากคณะศึกษาศาสตร์ ม.ขอนแก่น
สถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในหน่วยงานที่รับผิดชอบสนับสนุนด้านวิชาการ องค์ความรู้ นวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ตลอดจนงบประมาณบางส่วน ร่วมกับคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขตพื้นที่ 7 กำหนดให้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เป็นการขับเคลื่อนการแก้ปัญหารูปแบบใหม่ มุ่งเน้นการบูรณาการทุกภาคส่วนอย่างมีส่วนร่วมในรูปแบบ “อำเภอต้นแบบการแก้ไขปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี” โดยมีประเด็นการขับเคลื่อน 6 ประเด็นหลักคือ
1) สร้างการรับรู้และความตระหนักในโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี
2) สร้างความรอบรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเด็กและเยาวชน
3) อาหารปลอดภัย: ปลาปลอดพยาธิใบไม้ตับ
4) สัตว์รังโรคปลอดพยาธิใบไม้ตับ
5) การตรวจคัดกรองและการรักษาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี และ
6) พัฒนาระบบการจัดการสิ่งปฏิกูลอย่างยั่งยืน
การสร้างความรอบรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเด็กและเยาวชน เป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่จะตัดวงจรการเกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีได้ตั้งแต่ต้นทาง โดยที่ผ่านมา อำเภอบ้านแฮดและอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการนำหลักสูตรการเรียนการสอนหลักสูตรโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีไปใช้ในพื้นที่ เกิดผลลัพธ์เป็นอย่างดีทั้งในกลุ่มเด็ก เยาวชน ผู้ปกครอง ตลอดจนชุมชนโดยรอบโรงเรียน จึงเกิดแนวความคิดที่จะขยายการดำเนินการในเขตสุขภาพที่ 7 ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยโครงการ “ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำสื่อ และหลักสูตรส่งเสริมสมรรถนะ โดยใช้ความรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นฐาน” ระดับปฐมวัย ประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย จัดขึ้นเพื่อสร้างการรับรู้และความตระหนักของปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีแก่บุคลากรทางการศึกษาให้สามารถนำหลักสูตรส่งเสริมสมรรถนะ โดยใช้ความรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีเป็นฐานไปใช้ในโรงเรียน เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือการแก้ปัญหาในมิติการสร้างความรอบรู้โรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในเด็กและเยาวชนในระดับครูผู้สอนและหน่วยงาน ทำให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด และสามารถเป็นพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการเรียนการสอนให้พื้นที่อื่นนำไปประยุกต์ใช้ต่อไปได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: