มากกว่า 3 ปี ที่ประชากรโลกต่างเผชิญกับวิกฤติเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลายภาคส่วนต้องปรับตัวรวมถึงวงการรักษาความปลอดภัย ตำรวจ ที่ต้องปรับวิธีการสืบเสาะหาผู้ร้าย ในขณะที่ผู้ร้ายมักแฝงตัวร่วมกับประชาชนทั่วไปโดยการใส่หน้ากากอนามัยทุกเมื่อ นับเป็นช่องโหว่ที่ทำให้เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและตำรวจติดตามจับกุมตัวผู้ร้ายอย่างยากลำบาก นักศึกษาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงจัดทำโครงการ Face detection and identification System หรือ การตรวจจับคนร้ายด้วยใบหน้า ขึ้น เพื่อใช้ความรู้ความสามารถทางด้าน AI ให้สอดคล้องกับแนวโน้มและความต้องการทางเทคโนโลยีและสถานการณ์โลก
นายพริษฐ์ จงหาญ นักศึกษาวิทยาลัยคอมพิวเตอร์ เจ้าของโครงการ Face detection and identification System หรือ การตรวจจับคนร้ายด้วยใบหน้า และเจ้าของรางวัล Tech4Good gold award (turning green project) ตัวแทนโครงการระดับเอเชียแข่งขัน AI ระดับโลก เผยว่า โครงการนี้ร่วมกับเพื่อนทำอีก 2 คน ได้แก่ นายภูมิภัทร จันทร์ใบ และนายปัณณธร ผาใต้ โดยมีแรงบันดาลใจจากการที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสะท้อนว่าสามารถตรวจจับใบหน้าคนร้ายอย่างยากลำบากในช่วงสถานการณ์โควิดเพราะคนร้ายส่วนใหญ่แฝงตัวใส่หน้ากากอนามัยปิดบังใบหน้าเสมอ ทำให้ AI ที่ใช้จับภาพคนร้ายชนิดเต็มใบหน้าเริ่มใช้ไม่ได้ผล ตนและเพื่อนอีก 2 คน ประกอบด้วย ภูมิภัทร จันทร์ใบ และ ปัณณธร ผาใต้ จึงจัดทำโครงงานการตรวจจับคนร้ายด้วยใบหน้า แม้จะเห็นใบหน้าแค่บางส่วนก็ตาม
“ AI นี้สามารถระบุใบหน้าคนร้ายได้ชัดแม้จะเห็นเพียงใบหน้าครึ่งบนของคนร้าย เพราะครึ่งล่างถูกหน้ากากอนามัยปิดบังอยู่ โดยออกแบบให้ AI ประมวลผลในแบบตรวจจับแบบเต็มหน้า และแบบตรวจจับครึ่งหน้า นั่นหมายความว่า ต่อให้คนร้ายจะใส่แมส หรือไม่ใส่แมส ก็สามารถระบุใบหน้าคนร้ายได้อย่างแม่นยำด้วย AI ซึ่งสามาถสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สามารถใช้ในการทหาร ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ตำรวจท้องที่ เรียกว่าเป็น AI ชนิด maintain security โมเดล AI ที่ผมและเพื่อนอยากให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม” นักศึกษาเจ้าของโครงงานการตรวจจับคนร้ายด้วยใบหน้า กล่าวทิ้งท้าย
หลักสูตร AI ของ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับการสร้างและผลิตกำลังคนที่ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและองค์กรต่าง ๆ ให้เป็นหลักสูตรที่จะสามารถผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถทางด้าน AI โดยเฉพาะ ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับแนวโน้มของความต้องการทางเทคโนโลยีของทั่วโลก และจำเป็นอย่างยิ่งต่อการผลักดันความเจริญทางด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ รวมถึงด้านการแพทย์ หรือด้านการรักษาความปลอดภัย เพื่อพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบสินค้าและเทคโนโลยี อันเป็นหัวใจหลักของกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: