17 มกราคม 2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่นแถลงข่าวความสําเร็จและการเปิดตัวโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์แปลผล อายุร่างกายและอวัยวะสําคัญ ตับ ไต หัวใจ ตับอ่อนจากผลตรวจเลือด ซึ่งสะท้อนภาวะร่างกายแบบเข้าใจง่าย รองรับการใช้งานในกลุ่มสถานบริการสุขภาพ/บริษัท health technology รวมถึงการใช้งานรายบุคคลในรูปแบบแอพลิเคชั่นและเวบไซต์
ศาสตราจารย์ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า สภามหาวิทยาลัยและท่านอธิการบดีมีดําริให้นักวิจัยได้พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์เพื่อรองรับ medical hub ที่กําลังจะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ ทางมหาวิทยาลัยมีนวัตกรรมเกี่ยวกับ 1) อุปกรณ์ทางการแพทย์ (medical device) 2) ชุดตรวจโรค (Lab diagnostics) และ 3) ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence; Al) มาใช้งานพัฒนา นวัตกรรม “วันนี้มีโครงการที่ดีหนึ่งเกิดขึ้น เรียกว่า โปรแกรมปัญญาประดิษฐ์สําหรับอายุร่างกายและอวัยวะสําคัญ (Health Al for Biological Age and Importance organs) หรือ Al for healthcare ซึ่งทีมนักวิจัยมาจาก หลากหลายคณะ ทํางานร่วมกันโดยใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะ ทํางานแบบบูรณาการสร้างนวัตกรรมจากฐานข้อมูล สุขภาพที่มีอยู่ซึ่งครอบคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากเขตสุขภาพ 7 8 9 10 โดยใช้เหมืองข้อมูลสุขภาพดี 59,675 ชุด และฐานข้อมูลจากผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเก็บข้อมูลสุขภาพเชิงลึกอีกประมาณสามพันรายนํามา ประมวลผลด้วยปัญญาประดิษฐ์ จนกระทั่งนํามาสู่การใช้ได้จริงในการประเมินอายุร่างกายและอวัยวะสําคัญ 4 อวัยวะได้แก่ ตับ ตับอ่อน ไต หัวใจ มีความแม่นยําเมื่อเทียบกับวิธีมาตรฐาน ร้อยละ 83.7 ในเพศหญิง และ 81.5 ในเพศชาย ตัวโปรแกรมนี้เป็นตัวช่วยให้บุคคลระมัดระวังเรื่องการพักผ่อน พฤติกรรมและการบริโภค โดยหวังว่า โปรแกรมนี้จะถูกนําไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพของประชาชนโดยรวมของประเทศได้”
นายแพทย์ ชิษณุ สอาดสุด ผู้อําานวยการฝ่ายด้านการแพทย์ (Medical director) ในเครือ อาร์ไอเอ แลบอราทอรี่ ซึ่งได้ทดลองนําโปรแกรมประกอบการรายงานสุขภาพ กล่าวว่า “ผู้รับบริการตรวจสุขภาพเปิดใจรับ ผลตรวจของตนเองมากขึ้น มีความสนใจเปรียบเทียบค่าผลตรวจต่างๆ และในส่วนของแพทย์สามารถวางเป้าหมาย กลยุทธ์ และให้คําแนะนําได้ง่ายขึ้น สามารถกําหนดเป้าหมายสุขภาพที่มีขอบเขตชัดเจนร่วมกันได้ง่ายยิ่งขึ้น”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาย เชื้อวัชรินทร์ ผู้อํานวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ (Center of Excellence on Medical Biotechnology : CEMB) ที่มีมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นแกนนํา ได้ กล่าวว่า นวัตกรรมนี้ได้สนับสนุนทุนวิจัยปีงบประมาณ 2561-2564 แก่คณะวิจัยในรูปแบบคลัสเตอร์หรือกลุ่มวิจัย ที่มี ศาสตราจารย์พัชรี เจียรนัยกูร คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นหัวหน้าคลัสเตอร์ โดยมีทีม วิจัยจากหลายมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ในหลายคณะได้แก่คณะเทคนิคการแพทย์ สาธารณสุขศาสตร์ แพทยศาสตร์ศิริราช วิทยาศาสตร์และวิทยาลัย
คอมพิวเตอร์
“ วันนี้เป็นโอกาสอันดีที่ทาง CEMB ได้ร่วมเป็นสักขีพยานกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเปิดตัวนวัตกรรม Health Al ที่จะมาช่วยประชาชนทั่วไปได้เข้าใจผลการตรวจสุขภาพของตนโดยง่าย ผ่านแอพลิเคชันมือถือ โดย ช่วยส่งเสริมให้เข้าใจสภาวะสุขภาพของตนเอง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้มีสุขภาพกายที่ดีต่อไป ซึ่งเป็นเทรนด์ ใหม่ด้านนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ใช้ AI เป็นส่วนช่วยในบริการด้านนี้ เมื่อมีการใช้งานจากทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างกว้างขวางแล้ว ในท้ายที่สุดประโยชน์จะตกอยู่กับประชาชนและระบบของสาธารณสุขของประเทศที่เน้น สาธารณสุขเชิงป้องกัน ที่จะช่วยลดภาระงบประมาณด้านนี้ของประเทศและรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ”
ศาตราจารย์ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการ แผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหาร และจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า “Health Al เป็นหนึ่งในงานวิจัยที่ยกระดับเป็นนวัตกรรมจนสู่การเปิดบริการเชิงพาณิชย์ภายใต้การดําเนินงานของเครือข่ายศูนย์ชุดตรวจวินิจฉัยโรค โดย บทช. ให้การสนับสนุนงานประมาณดําเนินงานของศูนย์พัฒนานวัตกรรมและมาตรฐานทาง เทคนิคการแพทย์และกายภาพบําบัด (Center for Innovation and Standard for Medical Technology and Physical Therapy; CISMaP) ซึ่งเป็นหนึ่งใน 7 เครือข่ายศูนย์ชุดตรวจวินิจฉัยโรค ทั้งนี้แผนงานสุขภาพและ การแพทย์ บทช. มีพันธกิจสําคัญในการสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภทเครื่องมือแพทย์ (Medical Devices) และเพิ่มทักษะ (Skills) ด้านการวิจัยจนถึงระบบมาตรฐานสากล โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าใน อนาคตประเทศไทยจะมีศักยภาพในการผลิตและยกระดับสู่การแข่งขันในระดับนานาชาติต่อไป”
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: