NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ผ่านเพจ ระบุว่า #หอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชน เป็นศูนย์การเรียนรู้ดาราศาสตร์สำหรับประชาชน และสถานศึกษาในท้องถิ่น สนับสนุนการบริการวิชาการดาราศาสตร์แก่ชุมชน การจัดการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของภูมิภาค รวมทั้งกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์ไปสู่ประชาชนไทยอย่างทั่วถึงและทัดเทียมกัน
ปัจจุบัน เปิดบริการแล้ว 3 แห่ง ได้แก่ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ตำบลสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2557 หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ตั้งอยู่ที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เปิดให้บริการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี 2562
หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ขอนแก่น จะเป็นหอดูดาวภูมิภาคสำหรับประชาชนเต็มรูปแบบแห่งที่ 4 ของไทย ตั้งอยู่ ณ ตำบลเขื่อนอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น บนพื้นที่ 29 ไร่ กำหนดเปิดดำเนินการในช่วงปลายปี 2566
ภายในหอดูดาวประกอบด้วยส่วนบริการต่าง ๆ ดังนี้ นิทรรศการดาราศาสตร์ และนิทรรศการหมุนเวียน สนุกกับหลากหลายความรู้ดาราศาสตร์ผ่านชุดนิทรรศการแบบมีปฏิสัมพันธ์ ชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย ท้องฟ้าจำลองระบบฟูลโดมดิจิทัล ท่องเอกภพในฟูลโดมดิจิทัลกับซอฟต์แวร์ท้องฟ้าจำลองฝีมือคนไทย และตื่นตาตื่นใจกับภาพยนตร์ดาราศาสตร์เสมือนจริง หมุนเวียนเปลี่ยนไปทุกเดือนจำนวนที่นั่ง : 80 ที่นั่ง (ค่าธรรมเนียม : เด็ก 30.- / ผู้ใหญ่ 50.-) หอดูดาว ประกอบด้วยโดมไฟเบอร์กลาสทรงเปลือกหอย เส้นผ่านศูนย์กลาง 18 ฟุต เปิดออกได้ 180 องศา สังเกตท้องฟ้าได้รอบทิศทาง ภายในติดตั้งกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7 เมตร บนระเบียงดูดาวภายใต้หลังคาเลื่อน ติดตั้งกล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็ก จำนวน 5 ตัว ให้บริการดูดาวท้องฟ้าจริงผ่านกล้องโทรทรรศน์หลากหลายชนิด (ทุกคืนวันเสาร์ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย) และทุกครั้งที่มีปรากฏการณ์สำคัญทางดาราศาสตร์ลานกิจกรรมกลางแจ้ง และพื้นที่เรียนรู้ภายนอกอาคาร สำหรับจัดกิจกรรมดาราศาสตร์
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: