เมื่อเวลา 14.30 น.วันที่ 17 ธ.ค.66 ที่ สำนักงาน ปปส.ภาค 4 จังหวัดขอนแก่น ต.ศิลา อ.เมือง จ.ขอนแก่น พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม พร้อมคณะฯ ได้เดินทางพบปะและให้กําลังใจกับผู้ผ่านการบําบัดรักษายาเสพติดและอาการทางจิตเวช จนกลับมาใช้ชีวิตในสังคมกับชุมชนได้อย่างปกติสุข และร่วมประชุมพบปะแกนนําอาสาสมัครคุมประพฤติ (อสค.) หัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม โดยมีนายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงยุติธรรม หน่วยงานด้านการบำบัดรักษายาเสพติดและอาสาสมัครคุมประพฤติ ให้การต้อนรับ
นายไกรสร กองฉลาด ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า จังหวัดขอนแก่น ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งด้านการป้องกัน ด้านการปราบปราม การนำเข้าสู่กระบวนการบำบัด และภายหลังการบำบัดจังหวัดได้ให้ความสำคัญกับการติดตาม ช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัด ซึ่งนอกเหนือจากการติดตามช่วยเหลือในระบบปกติแล้ว ในกรณีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ที่มีการอาการทางจิตเวช จังหวัดขอนแก่นได้เปิดศูนย์ CI ครบทั้ง 26 อำเภอ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยทางจิตเวชที่ผ่านการบำบัด ซึ่งมีผู้ที่ได้รับติดตามไปแล้วจำนวน 296 คน
พ.ต.อ. ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในภาคอีสานตอนบน ว่า จังหวัดขอนแก่น มีโรงพยาบาลธัญญารักษณ์ขอนแก่น ซึ่งเป็นโรงพยาบาลที่มีความก้าวหน้า มีการพัฒนาทางวิชาการ ที่ดูแลทั้งภาคอีสาน ซึ่งการแก้ปัญหาที่ จะถือว่าประสบความสำเร็จได้คือการคืนคนดีกลับสู่ชุมชนและสังคม หากสังคม ชุมชน มีความตื่นตัว มีความเข้มแข็ง และเข้าไปรับผิดชอบร่วมกันจะทำให้การแก้ปัญหายาเสพติดมีความครบวงจรมากขึ้น
“จังหวัดขอนแก่น มีผลดำเนินการในการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม และสามารถเป็นต้นแบบที่ดีให้กับพื้นที่อื่นๆ ในรูปแบบของ “ขอนแก่นโมเดล” เพราะปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาใหญ่ ต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ซึ่งจังหวัดขอนแก่นมีความพร้อม คือมีโรงพยาบาลธัญญารักษ์ขอนแก่น และโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ที่บูรณาการร่วมกัน ซึ่งจะมีการนำแนวทางนี้ไปใช้ในจังหวัดอื่นๆ ต่อไป ”
ส่วนการดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามนโยบาย Quick Win ในเรื่องของผู้เสพยาและมีอาการทางจิตเวช ในเรื่องนี้จะต้องบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วน จัดการกับผู้ค้ารายย่อยและผู้ค้ารายใหญ่ รวมทั้งผู้เสพ ต้องเข้าสู่ระบบบำบัดรักษา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหา ต้องมีการค้นหาหรือเอกซเรย์ และนำเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษา และรวมถึงหากเป็นผู้ค้า รายย่อยหรือรายใหญ่ ที่กระทำผิดกฎหมายจะต้องมีการจับกุมดำเนินคดี ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสาธารณสุข ต้องร่วมมือกันแก้ไขให้เห็นผลเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ข่าวน่าสนใจ:
- รวบแลัว คนขับเก๋งเขียว สารภาพเมาแล้วขับชนดะทั่วเมืองเพชร
- นครพนม น้องขวัญ นำทัพกลุ่มนครพนมร่วมใจ เปิดตัว ส.อบจ.นครพนม ทั้ง 30 เขต
- สงขลา"นายกเเบน"ลงชิง นายก อบจ.สงขลา รวม 3 ทีมเป็นหนึ่งเดียว ชู 10 นโยบายเร่งด่วนทำได้จริง
- “เฉลิมชัย” รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ลงพื้นที่ติดตามการทำหมันลิงเขาช่องกระจก ล๊อตแรก 300 ตัว
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: