วันอังคารที่ 2 เมษายน 2567 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดงานเชิดชูเกียรติศิลปินมรดกอีสาน และ ผู้มีผลงานดีเด่นวัฒนธรรมสัมพันธ์ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และ วันอนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี 2567 โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย ศิลปินที่ได้รับรางวัลเข้าร่วม กิจกรรมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมออดิทอเรียม อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
พิธีการเริ่มต้นในเวลา 13.30 น. รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวคำถวายอาศิรวาทราชสดุดีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากนั้น หมอลำ ดร.ฉวีวรรณ พันธุ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี 2536 ลำถวายพระพร นายพงศธร อุปนิ (อ้น แคนเขียว) เป่าแคน
สำหรับโครงการมอบรางวัลศิลปินมรดกอีสาน สืบสานวัฒนธรรมสัมพันธ์ แก่บุคคล คณะบุคคล และ องค์กรที่มีผลงานศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนาและประเพณี เป็นพันธกิจของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสืบสานและเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม สู่เครือข่ายชุมชนภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนสร้างความร่วมมือทางวิชาการ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และงานบริการให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกกิจ
โดยโครงการดังกล่าวจัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2548 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติและสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลและองค์กรเหล่านั้นผลิตและสร้างสรรค์ผลงานให้ประจักษ์แก่สังคมต่อไปอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอแบบยั่งยืน เป็นการต่อยอดจากแผนงานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ชัดเจนและสร้างผลงานเป็นที่ประจักษ์แก่สังคมไทย สังคมนานาชาติมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตั้งแต่ ปี 2548 ถึง 2567 มีบุคคล คณะบุคคล องค์กรได้รับรางวัลนี้ แบ่งตามประเภทของรางวัล มีรายละเอียด ดังนี้ รางวัลอมรศิลปิน จำนวน 14 ราย รางวัลศิลปินมรดกอีสาน จำนวน 197 ราย รางวัลผู้มีผลงาน ดีเด่นด้านวัฒนธรรมสัมพันธ์ จำนวน 210 ราย มีกฎเกณฑ์และระเบียบที่ชัดเจน ผ่านกระบวนการและคณะกรรมการประกอบด้วย กระบวนการเสนอชื่อจากหน่วยงานภาคเอกชน บุคคล องค์กร นำไปสู่ คณะกรรมการ 2 คณะ คือ คณะกรรมการเสนอชื่อและกลั่นกรอง และคณะกรรมการตัดสินรอบสุดท้ายโดยเป็นเอกสิทธิ์ของคณะกรรมการรอบสุดท้ายในการพิจารณามอบรางวัล และประกาศโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ข่าวน่าสนใจ:
- หมดวาระอบจ.ตรัง รุ่งขึ้น “บุ่นเล้ง” เปิดตัวทันควัน ใช้ชื่อ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” แทน “ทีมกิจปวงชน” ชูนโยบาย “รวมพลังที่ยิ่งใหญ่ ขับเคลื่อนตรังให้เป็น 1”
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงราย เชิญส่วนราชการ เอกชน สื่อมวลชน 50 คน เยี่ยมชมแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนกระตุ้นการท่องเที่ยว-เศรษฐกิจในชุมชน อย่างยั่งยืน
- ผู้กำกับ สภ.บางเสาธง เชิญตัวคู่กรณีทั้งสองฝ่ายพูดคุยถึงเหตุการณ์ที่รถชนกันแล้วมีอ้างรู้จักตำรวจ
สำหรับผู้ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ ผลงานดีเด่น วัฒนธรรมสัมพันธ์ ประจำปี 2567 แต่ละสาขา มีดังนี้
สาขาศาสนาและประเพณี ถวายแด่
พระครูภาวนาโพธิคุณ,รศ.ดร. (สมชาย กนฺตสีโล)
พระครูสมุห์คำหาญ ปญญาธโร
สาขาเกษตรกรรม มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 1 ท่าน ได้แก่
1.นายวานิชย์ วันทวี (ปศุสัตว์)
สาขาการแพทย์หรือเภสัชกรรมแผนไทย มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 2 ท่าน ได้แก่
1.นายทองสา เจริญตา (หมอสมุนไพรพื้นบ้าน)
2.นางสาวขวัญดิน สิงห์คำ (ครูภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย)
สาขาศิลปกรรม มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 8 ท่าน ได้แก่
1.นางปริศนา วงศ์ศิริ (นักแสดง / นักร้อง)
2.นางชนิดา นาห้วยทราย (หมอลำกลอน)
3.นางละมัย เฉิดละออ (หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองกาฬสินธุ์)
4.นางสงบ คำภูเวียง (หมอลำกลอน)
5.นายบรรลุ ศรีแสง (นักแสดง / ผู้ฝึกสอน / ผู้กำกับคิวบู๊)
6.นายภักดี พลล้ำ (หมอลำเรื่องต่อกลอนทำนองขอนแก่น)
7.นายพรสวรรค์ นนทะภา (ทัศนศิลป์)
8.นายปอยฝ้าย เบญจมาลัยพร (นักแสดง / นักร้อง)
สาขาภาษาและวรรณกรรม มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 1 ท่าน ได้แก่
1.นายณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ (ปริวรรตใบลาน)
ผู้ได้รับโล่เชิดชูเกียรติ ศิลปินมรดกอีสาน ประจำปี พ.ศ. 2567 แต่ละสาขา มีดังนี้
อมรศิลปินมรดกอีสาน มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 2 ท่าน ได้แก่
1.นางสาวรัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา (สาขานักแสดง)
2.นายเฉลิมชัย ศรีฤชา (สาขาประพันธ์และขับร้องเพลงลูกทุ่ง)
สาขาทัศนศิลป์ มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 3 ท่าน ได้แก่
1.นางสาวจินตนา เปี่ยมศิริ (จิตรกรรมร่วมสมัย)
2.นายพงษ์ชยุตน์ โพนะทา (หัตถกรรม)
3.นายภัฏ พลชัย (ประติมากรรม)
สาขาวรรณศิลป์ มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 2 ท่าน ได้แก่
1.นายปรีดา ปัญญาจันทร์ (วรรณกรรมเยาวชน)
2.นายไชยา วรรณศรี (วรรณกรรมร่วมสมัย)
สาขาศิลปะการแสดง มีผู้ได้รับการเชิดชูเกียรติ 10 ท่าน ได้แก่
1.นายบุญชื่น บุญเกิดรัมย์ (การแสดง)
2.นายบุญเสริม เพ็ญศรี (หมอลำกลอนทำนองอุบล)
3.นายสุเทพ โพธิ์งาม (นักแสดงตลก)
4.นางทองวัน ตรีสูน (หมอลำกลอนทำนองพุทไธสง)
5.นายศรชัย เมฆวิเชียร (นักร้องลูกทุ่ง)
6.นายบุญจัน ชูชีพ (หมอลำกลอนทำนองพุทไธสง)
7.นายเรืองยศ พิมพ์ทอง (เรียบเรียงเสียงประสาน)
8.นายธงชัย ประสงค์สันติ (ผู้จัดละคร)
9.นายพงษ์สิทธิ์ คำภีร์ (นักร้องเพลงเพื่อชีวิต)
10.นางเพชราภรณ์ กาละพันธ์ (หมอลำกลอนประยุกต์)
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: