ขอนแก่น – ชมรมร้านยา 50 แห่งในขอนแก่น ร่วมโครงการจ่ายยาให้ผู้ป่วย 4 โรค ลดความแออัดในโรงพยาบาลใหญ่ ดีเดย์เริ่มโครงการ 1 ตุลาคมนี้
โรงพยาบาลขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น และชมรมร้านยาเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น นำร่องให้ผู้ป่วยรับยาตามใบสั่งของแพทย์ที่สมัครใจรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านแทนการรับยาที่โรงพยาบาล เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ช่วยให้ผู้ป่วยใช้เวลาอยู่ที่โรงพยาบาลน้อยลง ลดภาระการเดินทาง รวมถึงได้รับคำแนะนำการใช้ยาตามใบสั่งแพทย์โดยเภสัชกร โดยมีเครือข่ายร้านยาใน จ.ขอนแก่น เข้าร่วมถึง 50 แห่ง ครอบคลุมในเขตอำเภอเมือง 30 แห่ง และ อำเภออื่นๆ ในจังหวัดขอนแก่น 20 แห่ง ซึ่งเป็นร้านยาคุณภาพ/ร้านยาที่ผ่านมาตรฐาน GPP และมีเภสัชกรปฏิบัติงานตลอดไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมง
ข่าวน่าสนใจ:
- (มีคลิป) 6 ประเทศร่วมเทศกาลวัฒนธรรมกวนอูนานาชาติ'67 ที่เพชรบูรณ์ ปชช.ตื่นเต้นกองทัพช้างร่วมสักการะเจ้าพ่อหลักเมือง
- เพชรบูรณ์ - เคาะแล้ว! 4-8 พ.ย.นี้ เปิดรับสมัครชิงนายก อบจ.เพชรบูรณ์ วันหย่อนบัตร15ธ.ค.67
- ลำปาง - 20 ปี 'เทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะ' 8-10 พ.ย.นี้
- ททท. ผนึกพันธมิตร จัดงาน "เหนือพร้อม..เที่ยว" Kick off แคมเปญ "แอ่วเหนือ...คนละครึ่ง" เริ่ม 1 พ.ย.นี้
โดยจะเน้นในผู้ป่วย 3 โรคลำดับแรก คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และหอบหืด ที่แพทย์พิจารณาแล้วว่ามีอาการคงที่ ส่วนโรคทางจิตเวชจะขยายในลำดับต่อไป โดย รพ.ขอนแก่น และเครือข่ายร้านยาพร้อมให้บริการเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา และลดการครอบครองยาเกินความจำเป็น
ทั้งนี้ที่ผ่านมา สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 7 ขอนแก่น ได้จัดประชุมชี้แจงการลดความแออัดในโรงพยาบาลเพื่อการพัฒนาระบบบริการ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยใช้กลไกร้านยา โดยมีผู้ประกอบการร้านยาคุณภาพจาก 4 จังหวัด “ร้อยแก่นสารสินธุ์” ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และ กาฬสินธุ์ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวนไม่น้อยกว่า 74 ร้าน จาก 4 จังหวัด และมีโรงพยาบาลเข้าร่วม 5 แห่ง ประกอบด้วย โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลร้อยเอ็ด โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม และ โรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ด้านนายแพทย์ปรีดา แต้อารักษ์ ผู้อำนวยการ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น กล่าวว่า สปสช. ได้ดำเนินงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการลดความแออัด ลดระยะเวลาการรอคอยรับยาของผู้ป่วยที่โรงพยาบาล โดยให้มารับยาที่ร้านขายยาแผนปัจจุบันแทน ทั้งนี้ปัจจุบันมีร้านยาที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรฐาน GPP (Good Pharmacy Practice : หลักวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน) ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั่วประเทศจำนวนประมาณ 17,000 แห่ง และมีบริการต้นแบบการร่วมให้บริการโดยร้านยาที่ดำเนินการอยู่แล้วในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งถือว่าเป็นพื้นที่แรกในการบริการนี้
นายแพทย์ปรีดา กล่าวว่า ในปี 2563 คาดว่า จะมีโรงพยาบาลนำร่องในพื้นที่ สปสช. เขต 7 ขอนแก่น รวม 5 แห่ง ร้านขายยาไม่น้อยกว่า 74 แห่ง โดยจะเริ่มดำเนินการวันแรกวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ทั้งนี้ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการจะต้องผ่านเงื่อนไขสำคัญคือ ต้องเปิดบริการโดยมีเภสัชกรปฏิบัติงานตลอด ไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน และจะทยอยขยายเพิ่มเติมในปีถัดไป
ทั้งนี้ร้านขายยาต้องดำเนินการเป็นเครือข่ายภายใต้โรงพยาบาล และจ่ายยาให้กับผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค คือ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด จิตเวช หรือโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแล ทั้งนี้ให้เป็นไปตามข้อตกลงร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลและร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ โดยยาที่ผู้ป่วยได้รับจากร้านยาต้องเป็นยาชนิดเดียวกับที่ได้รับจากโรงพยาบาลเดิมที่รับยาอยู่ และที่สำคัญผู้ป่วยไม่ต้องเสียค่าบริการใดๆ เพิ่มขึ้น
นายแพทย์ปรีดา กล่าวว่า ผู้ป่วยที่ไปรับยาจากร้านยาไม่ต้องกังวลถึงคุณภาพมาตรฐานการให้บริการจากร้านยา เนื่องจากสภาเภสัชกรจะเป็นผู้ควบคุม กำกับร้านยาให้ปฏิบัติตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและตรวจสอบความพร้อม มาตรฐานของร้าน ส่วนการส่งยาให้กับผู้ป่วยนั้น ผู้ป่วยจะต้องไปรับการตรวจรักษาจากแพทย์ในโรงพยาบาล และจะมีแบบฟอร์มให้กับผู้ป่วยที่จะรับยาจากร้านยาเป็นผู้ให้ความยินยอมว่า จะไปรับยาจากร้านยาคุณภาพร้านใดที่อยู่ใกล้บ้านที่สุด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ย้ำรับยาใกล้บ้าน ไม่ใช่แค่ลดแออัดใน รพ. แต่ช่วยให้เภสัชกรดูแลคนไข้เรื่องยาได้เต็มที่
- กระทรวงสาธารณสุข เปิดคลินิกกัญชาและรับยาใกล้บ้าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: