จากการที่ประเทศไทยผลิตขยะวันละ 40,000 ตันต่อวัน หรือประมาณ 15 ล้านตันต่อปีโดยเป็นขยะพลาสติกและโฟม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 21 ซึ่งขยะพลาสติกส่วนใหญ่คือถุงพลาสติกที่ยากต่อการย่อยสลายในธรรมชาติเพราะถุงพลาสติก 1 ใบ ใช้เวลาถึง 450 ปีในการย่อยสลาย และหากนำไปเผาก็จะทำให้เกิดสารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นมูลเหตุหนึ่งของภาวะโลกร้อน และมลพิษทางอากาศจากปัญหาดังกล่าว โรงเรียนแสงตะวันพัฒนา ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องขยะเป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดหนดยุทธศาสตร์การสร้างความเจริญบนคุณภาพที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดระบบสนับสนุนการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ปลูกจิตสำนึกในการสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบนิเวศ
ขณะที่ภูมิประเทศและธรรมชาติคือจุดแข็งและสินค้าชั้นเยี่ยมของจังหวัดเลย ที่สามารถดึงดูดความ สนใจ และท้าทายนักท่องเที่ยวจากหัวประเทศให้เดินทางมาเยือนดินแดนที่ได้ชื่อว่า “หนาวที่สุดใน สยาม” แห่งนี้ ในอีกด้านหนึ่งของจังหวัดเลย ก็กำลังเผชิญกับปัญหา “ขยะ” อย่างเงียบๆ ขยะอาจจะกลายมาเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบทางลบต่อบรรยากาศการท่องเที่ยวของจังหวัด เลย และอาจจะกลายเป็น “ระเบิดเวลา” ที่รอวันจุดชนวนเพื่อทำลายชื่อเสียงค้นความสวยงามของ ธรรมชาติของจังหวัดเลยให้ย่อยยับในเร็ววันนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- "รัฐสภา" ร่วมสนับสนุนการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “พระจักราวตาร”
- เซ็นทรัลมอบเงินช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมแม่สาย เชียงราย
- เซ็นทรัล จัดแข่งขัน FIREMAN Challenge ครั้งที่ 20
- ตร.กมลารวบ ผจก.เกสเฮ้าส์สาวติดพนันออนไลน์ ฉกเครื่องเพชร-นาฬิกาหรูนายจ้างสาวลูกครึ่ง ขาย-แพ็คส่งให้แฟนหนุ่มเก็บ
นางผ่องเพ็ญ แสงตะวันทองธาร ผู้อำนวยการโรงเรียน แสงตะวันพัฒนา กล่าวว่า ทางโรงเรียน ได้จัดทำโครงการ “ทำความดีด้วยหัวใจ ลดรับ ลดให้ ลดใช้ถุงพลาสติก” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือระหว่าง โรงเรียน นักเรียน และผู้ปกครอง ชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจ และส่งเสริมให้เกิดความตระหนักปลูกฝังจิตสำนึกให้กับพ่อค้า แม่ค้า และ ประชาชนผู้บริโภค ในการลดใช้ถุงพลาสติกซึ่งเป็นบรรจุภัณฑ์ย่อยสลายยาก ทั้งนี้โรงเรียนแสงตะวันพัฒนา ได้มองเห็นปัญหาในโรงเรียนที่ทุกวันจะมีขยะ จากการที่เด็กนักเรียนซื้อกินและทิ้งแต่ละวันประมาณ 3 – 4 ถุงดำ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดเก็บเก็บ โรงเรียนจึงมีนโยบายให้นักเรียนใช้ถุงผ้าในการเก็บสิ่งของซึ่งสิ่งที่อยู่ในถุงผ้า(สีแดง)นั้นจะประกอบไปด้วย 1.แก้วน้ำ สำหรับดื่มน้ำ 2.แก้วน้ำใหญ่สำหรับใส่น้ำไปดื่มในห้องเรียนเมื่อหิว 3.กล่องใส่อาหารซุปเปอร์แวร์ ใช้ใส่ขนม ทำให้โรงเรียนปลอดจากขยะจากที่เคยมีวันละ 3 – 4 ถุงดำ ตอนนี้โรงเรียนไม่มีขยะเหล่านั้นเลย เศษขนม หรือเศษอาหารนักเรียนจะนำไปทิ้งที่บ้านทุกวัน
นางผ่องเพ็ญ กล่าวต่ออีกว่า โรงเรียนแสงตะวันพัฒนา ได้เล็งเห็นว่าหากสถานการณ์ ด้านขยะยังดำเนินไปและถูกละเลยเช่นนี้ต่อไป เรื่องราวที่สวยงามเกี่ยวกับ “เมืองทะเลแห่งภูเขา”คงต้องถึงตอนอวสานเร็วขึ้น ดังนั้นในฐานะที่โรงเรียนแสงตะวันพัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเลย จึงต้องมีส่วนรับผิดชอบและเป็นเจ้าภาพเพื่อแก้
ปัญหานี้เช่นกัน แนวทางต่างๆ ที่ จังหวัดเลย และสังคมต่างๆทั่วประเทศกำลังต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหาขยะอยู่ในปัจจุบันมีทั้งที่ประสบความสำเร็จและล้มเหลว จากการศึกษาศาลทางเลือกต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาขยะทั้งภายในโรงเรียนแสงตะวันพัฒนา และนอกรั้วโรงเรียนทั้งจังหวัดเลย เราจึงตกผลึกความคิดที่ว่า
“การแก้ที่เหตุ” คือหนทางไปการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ที่ยั่งยืนที่สุด เหตุที่เป็นแก่นแท้ของปัญหาไม่ใช่ความขาดแคลนอุปกรณ์ เครื่องมือ เทคโนโลยี หรือแม้แต่คน แต่เหตุที่เป็นรากเหง้าของปัญหาก็คือ”จิตสำนึก” ของคนในสังคม จิตสำนึกเป็นเรื่องของการหล่อหลอม และปลูกฝัง แนวทางของเราจึงเริ่มต้นอย่างแตกต่าง เราเริ่มจากการหว่านเมล็ดความคิดเกี่ยวกับ ทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง เราเริ่มต้นจากการชี้ให้ผู้เรียนของเราตระหนักและมองเห็นภัยพิบัติที่เกิดจากขยะที่พวกเขาสร้างขึ้น พิษภัยจากระดับ ส่วนบุคคล บ้าน ชุมชนและประเทศชาติ ต่อจากนั้นเราจึงร่วมกันสร้างหลักการที่ว่า “คนที่สร้างขยะคือคนที่ต้องรับผิดชอบต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้น” “เราจงมาร่วมกันไม่สร้าง ไม่นำขยะเข้ามาในโรงเรียน”โดยเฉพาะ “ขยะประเภทพลาสติกและโฟม” (ที่สลายตัวยากมาก)
จากหลักการง่ายๆ ดังกล่าวโรงเรียนได้มีการปรับเปลี่ยนกระบวนการและขั้นการให้บริการทั้งหมดภายใต้แนวคิด “ทุกผลผลิต” ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และด้วยความร่วมมืออย่างดียิ่งของผู้ปกครอง ทำให้โรงเรียนแสงตะวันพัฒนาปลอดจากขยะ 100% ทุกพื้นที่ เด็กทุกคนตระหนักในความรับผิดชอบต่อสังคมและโลก ที่เป็นสมบัติร่วมกันของทุกคน. และด้วยระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพจึงมั่นใจอย่างสุดว่า เราคือต้นแบบของโรงเรียนปลอดขยะที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: