ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมศรีสองรัก ศาลากลางจังหวัดเลย ชั้น 5 นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายอาจณรงค์ สัตยพานิช ผู้ตรวจราชการกรมการพัฒนาชุมชน นางชะตา ธุลีจันทร์ พัฒนาการจังหวัดเลย ตัวแทนของจังหวัดเลย อาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม ปฏิบัติการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ทางศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย และผลิตภัณฑ์อื่นๆจากผ้าฝ้ายของจังหวัดเลย โดยมีตัวแทนกลุ่มทอผ้า จำนวน 54 กลุ่ม 14 อำเภอ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงบันทึก
นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เผยว่า ในส่วนการทำ MOU กับมหาวิทยาลัยศิลปากรซึ่งได้มีวัตถุประสงค์ ทั้งนี้จังหวัดเลยเป็นแหล่งที่ปลูกฝ้ายมาแต่บรรพบุรุษ มีการทอผ้าฝ้าย เราจึงอยากได้องค์ความรู้จากมหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อให้ชาวบ้านในจังหวัดเลย ที่ทำมาหากินทอผ้าฝ้ายอยู่แล้ว อยากที่จะให้ผลิตภัณฑ์ของเราได้พัฒนา สร้างคุณค่า โดยเฉพาะชาวบ้านที่ทำผ้าฝ้ายจากธรรมชาติจริงๆ จากการย้อมสีจากธรรมชาติ ใช้เปลือกไม้ ทุกอย่างมาจากธรรมชาติล้วนๆ ซึ่งมีฝ้ายตุ่ย ฝ้ายย้อมสีจากธรรมชาติ ถ้าหากมหาวิทยาลัยศิลปากรได้นำความรู้ ให้กับชาวบ้าน และพัฒนาจากรูปแบบเดิมๆ มาแนวทางที่ทันสมัยขึ้น ก็จะได้สร้างคุณค่าชิ้นงานออกมามีมูลค่าที่เพิ่มขึ้น และได้รับความนิยมมากขึ้น
ข่าวน่าสนใจ:
- เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นผลกระทบสิ่งแวดล้อม หลังเตรียมตั้งนิคมอุตสาหกรรม 1 พันไร่ รองรับพื้นที่ EEC
- หลวงพ่อสุริยันต์ เผยยอดมหากฐินถวาย วัดป่าวังน้ำเย็น ทะลุ 90 ล้านบาท
- ชุดปฏิบัติการพิเศษฯตามจับ "เอ็ม ท่าผักชี" แก๊งค้ายาบ้าพื้นที่เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว
- KCC จัดงาน "เทศกาลซอฟต์พาวเวอร์ไทย-เกาหลี" คร้ังแรกที่กรุงเทพฯ ผสานศิลปวัฒนธรรมสองประเทศ
และที่เราคาดหวังว่ามหาวิทยาลัยศิลปากรจะส่งนักศึกษา อาจารย์ ออกมาร่วมทำงานกับชาวบ้าน ไม่ว่าเรื่องบรรจุภัณฑ์ เรื่องของการออกแบบผ้าลายใหม่ๆ เรื่องของการตัดเย็บใหม่ๆให้เป็นที่นิยมของคนทั่วไปกับผ้าฝ้าย และเราเชื่อว่ามหาวิทยาลัยศิลปากรมีความรู้เรื่องนี้ ชาวบ้านเองเมื่อได้รับความรู้และมาปรับพัฒนาทำให้เกิดวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น ของวงการผ้าฝ้ายในประเทศไทย
ด้านอาจารย์อำมฤทธิ์ ชูสุวรรณ กล่าวว่า การจด MOU ร่วมกันจุดประสงค์หลัก เพื่อดำเนินงานออกแบบผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย เพื่อยกระดับคุณค่าร่วมกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมการออกแบบและนวัตกรรม ซึ่งทางหน้าที่ของมหาวิทยาลัย จะส่งนักศึกษามาช่วยดำเนินงานออกแบบเสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายแก่ชาวบ้าน และชุมชนในพื้นที่ที่มีการปลูกและทอฝ้าย รวมทั้งสนับสนุนนักออกแบบ นักวิชาการและศิลปินให้คันคว้า และออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ยกระดับขึ้นสู่สินค้าที่เป็นของประจำจังหวัด ร่วมพิจารณาผลการถอดบทเรียนกระบวนการออกแบบ สร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย เพื่อเป็นความรู้ที่ยั่งยืน และระยะเวลาความร่วมมือบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ มีกำหนดระยะเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนามร่วมกัน และการบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ เราคาดว่า จะช่วยทำให้ผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายและผลิตภัณฑ์อื่น จากผ้าฝ้าย ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของจังหวัดเลย มีความโดดเด่นทางด้านเอกลักษณ์และศิลปวัฒนธรรม สวยงาม และมีคุณค่าเพิ่มยิ่งขึ้น รวมทั้งจะได้รูปแบบ และแนวทางในการพัฒนากลุ่มทอผ้าในชุมชนที่มีในจังหวัดเลย กว่า 50 กลุ่ม สามารถนำไปพัฒนา และต่อยอดทางความคิดสร้างสรรค์ผลงานจากผ้าฝ้าย ให้สามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ทำให้เกิดการยอมรับ ตลาดภายในประเทศ และสากลได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: