ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่รัฐวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวตำบลน่าซาว อ.เชียงคาน จ.เลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดงาน “เยี่ยมบ้านเพื่อน เยื่อนถิ่นเกษตรอินทรีย์”ในโครงการข้าว เพื่อสุขภาพโดยอินทัช โดยมีนายเท็ด โปษะกฤษณะถิระพัฒน์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอินทัช โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) และกรรมการการตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์ PGS พร้อมกับสมาชิกวิสาหกิจคชุมชนบ้านนาบอน ร่วมงาน
จากที่บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช เป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ชั้นนำของประเทศไทย ลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม สื่อ และเทคโนโลยี ได้จัดทำ“โครงการข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช” ในพื้นที่วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลนาซ่าว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม เพื่อร่วมขับเคลื่อนการทำงานอย่างเป็นระบบ นำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มมูลค่าสินค้า พร้อมพัฒนาชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเกษตรปลอดภัย สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนาไทยให้กินดี อยู่ดี มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จนทำให้วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชน ตำบลนาซ่าว โดยยกระดับการทำเกษตรจากการปฏิบัติที่ดีและเหมาะสม (Good Agricultural Practices – GAP) ไปสู่มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (Participatory Guarantee System – PGS) ที่ได้รับการรับรองจากสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ หรือ IFOAM เป็นระบบการรับรองคุณภาพโดยชุมชน ปัจจุบันมีสมาชิกเกษตรกรเข้าเป็นครอบครัวต้นแบบในการทำ PGS จำนวน 18 ครอบครัว พื้นที่ 60 ไร่ มีแนวโน้มผ่านการรับรองในระยะปรับเปลี่ยนอีก 51 ไร่
ข่าวน่าสนใจ:
- พะเยา ฮือฮา! สาวหล่อผอ.รร.ยกขันหมากเงินล้านจาก จ.ลำพูนขอครูสาวดอกคำใต้ คู่แรก จ.พะเยา
- เพชรบูรณ์-มาตามนัด! ชาวบ้านบ่นอุบทริปน้ำไม่อาบ ซิ่งจยย.เสียงดังกระหึ่ม แกนนำทริป"วางโลงศพ-พวงหรีด"โชว์เกาะกลางถนน
- สนามเปิดตัวจังหวัดสระแก้ว "วิ่งเทรลไตรบูรพา ซีรีย์ 4 สนาม 3จังหวัดภาคตะวันออก"
- นาทีหนีตาย!! โดดลงจากบ้านสูง 3 เมตร หนุ่มโรงงาน หวังรวยทางลัด วิ่งขายยาเสพติดในพื้นที่ ต.บ้านแก้ง สุดท้ายหนีไม่รอด
ด้านนายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย ได้เผยว่า การที่อินทัชเข้ามาสนับสนุนการยกระดับชาวนาให้ปลูกข้าวแบบอินทรีย์ PGS นั้นเป็นสิ่งที่ดี เพราะการทำเกษตรอินทรีย์เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยเวลา ความอดทน และความซื่อสัตย์ของผู้ทำจึงจะสำเร็จ โดยที่ชาวบ้านำบลนาซ่าวก็ได้ทำให้เห็นแล้วว่า เมื่อมีความตั้งใจจริงในการทำเพียง 2 ปี ก็เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมอันนี้ต้องขอชื่นชม และให้กำลังใจกัน อีกส่วนหนึ่งเมื่อมีผลผลิตอินทรีย์แล้ว การจัดการตลาดก็เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กัน เพื่อทำให้เกษตรกรที่ตั้งใจทำสินค้าปลอดภัยสามารถขายได้ราคา ผมเองในฐานะตัวแทนหน่วยงานเจ้าบ้านที่เฝ้ามองการเติบโตของโครงการ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมสนับสนุนการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย พร้อมเป็นแบบอย่างของความยั่งยืนและการสร้างความเข้มแข็งในชุมชนต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: