ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ห้องประชุมศรีสองรัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พล.ต.ต.วรวัฒน์ มะลิ ผบก.ภ.จว.เลย พันเอกเรวัฒ ธรรมจิรเดช ผบ.ฉก.ทพ.21 พอ.สมหมาย บุษบา รอง ผบ.มทบ. 28 และรอง ผอ.รมน. (ฝ่ายทหาร) นายกายสิทธิ์ แก้วยาศรี รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย ร่วมแถลงเปิดยุทธการ “พิทักษ์ไทเลย 64”
นายชัยธวัช เนียมศิริ กล่าวว่า จังหวัดเลย เป็นจังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านสังคม ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาด้านความมั่นคงอื่น ๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกัน และป้องกันปัญหายาเสพติด สำหรับการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จังหวัดเลย โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดรักษา ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ. 2564 ทั้งด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ การปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย การป้องกัน การบำบัดรักษา และการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ เพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากปัญหายาเสพติดในสังคม สร้างความมั่นคงปลอดภัยและ ลดความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบดังกล่าว ให้กับบุคคลหมู่บ้าน/ชุมชน และสังคม นอกจากนี้จังหวัดเลย ยังได้กำหนดแนวทางและเป้าหมายเน้นหนักในการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของจังหวัดเลย ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ดังนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- ผู้ว่าตรังสั่งซ่อมด่วนหลังคาท่าเรือปากเมง หวั่นอันตรายนทท. กระทบภาพลักษณ์จว. ลั่นพร้อมออกเงินส่วนตัว 2.3 หมื่นค่าวัสดุ…
- ตรัง จี้ซ่อมด่วนก่อนปิดท่าเรือปากเมงทรุด กระเบื้องร่วง-โป๊ะพัง-รังแตนอาละวาด หวั่นนักท่องเที่ยวอันตรายถึงชีวิต
- กกต.อบจ.เพชรบูรณ์ สั่งเช็กเอกสารคล้ายประกาศรับรองผู้สมัครฯ หลุด หลัง"ลุงโทนี"โพสต์โชว์ก่อนลบทิ้ง
- เซ็นทรัลมอบเงินช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมแม่สาย เชียงราย
1. ดำเนินการจับกุมผู้ค้ายาเสพติดในพื้นที่ โดยการขยายผลการจับกุม และยึดทรัพย์สินที่ได้มาจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ให้ได้มากที่สุด
2. การดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน โดยใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการชุมชน และมีชุดปฏิบัติการประจำตำบลเป็นที่ปรึกษา โดยมีหมู่บ้าน/ชุมชน มีกลไกที่เสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน และมีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ไม่มีปัญหายาเสพติด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนทั้งหมด
3. นำผู้เสพยาเสพติดที่ผ่านการประชาคมลับ การตั้งจุดตรวจ จุดสกัดและการตรวจสารเสพติดของเจ้าหน้าที่ในส่วนที่เหลือจากการบำบัดในศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เข้ารับการบำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ในสถานพยาบาลใกล้บ้าน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ทุกราย
ผลการดำเนินการตั้งแต่ ตุลาคม 2563 ถึง มีนาคม 2564 รวม 6 เดือนแรกของปี และเป้าหมายที่จะดำเนินการใน 6 เดือนหลัง ดังนี้
1. ด้านการปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย มีการจับกุมผู้ค้ายาเสพติดในพื้นที่ โดยการขยายผลการจับกุม และยึดทรัพย์สินที่ได้มาจากการเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไปแล้ว 1,017 คดี ผู้ต้องหา 1,016 คน ของกลางยาบ้า 13,998,780 เม็ด ไอซ์ 70,965 กรัม กัญชาแห้ง 2,210.35 กรัม กัญชาสด 156 ต้น กระท่อม 11,000 กรัม ยึดทรัพย์ จำนวน 21 คน มูลค่าทรัพย์สิน 12,320,410 บาท
2. ด้านการป้องกัน ดำเนินการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน โดยใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการชุมชน และมีชุดปฏิบัติการประจำตำบล เป็นที่ปรึกษา โดยกำหนดเป้าหมายให้มีหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ไม่มีปัญหายาเสพติด ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80 ของจำนวนหมู่บ้าน/ชุมชนทั้งหมด มีการขับเคลื่อนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน ตามกระบวนการที่กำหนด ครบทุกหมู่บ้าน/ชุมชน พบบุคคลเฝ้าระวัง 287 คน ผู้เสพผู้ติด 869 คน ดำเนินคดีแล้ว 52 คน นำผู้เสพผู้ติดเข้าบำบัดฟื้นฟูแล้ว 202 คน
3. ด้านการบำบัดรักษา กำหนดให้ผู้ติดผู้เสพทุกราย ต้องได้เข้ารับการบำบัดรักษา โดยเน้นการบำบัดรักษาในสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในขณะนี้ได้ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูผู้ติดผู้เสพไปแล้ว จำนวน 498 คน เป็นการบำบัดในสถานพยาบาล 271 คน ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 96 คน และในระบบบังคับบำบัด จำนวน 131 คน เป้าหมายต้องลดปริมาณใช้ยาให้ได้มากที่สุด
4. การสกัดกั้นตามแนวชายแดน ได้กำหนดแนวทางการสกัดกั้นการลักลอบขนยาเสพติด ตามแนวชายแดน เพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามแนวชายแดน ประกอบด้วย ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอชายแดนทั้ง 6 แห่ง กรมทหารพรานที่ 21 ตำรวจภูธร ที่ทำการปกครองอำเภอ ตำรวจตระเวนชายแดน สถานีเรือเชียงคาน ตำรวจน้ำ และกองกำลังภาคประชาชน ชรบ. ดำเนินการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด การปฏิบัติการด้านการข่าว การเฝ้าระวังตามแนวชายแดน การลาดตระเวนตั้งจุดตรวจภายในหมู่บ้านอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
5. การดำเนินการในสถานศึกษา ดำเนินการต่อกลุ่มนักเรียนในสถานศึกษา ได้มีการจัดกิจกรรม ในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาทุกระดับ จำนวน 455 แห่ง จำนวนนักเรียน 75,339 คน เช่น การตรวจหาสารเสพติด จำนวน 3,457 ราย ไม่พบสารเสพติด การสร้างแกนนำและเครือข่ายต้านยาเสพติด การให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด จำนวน 397 แห่ง 39,530 คน
6. กิจกรรม TO BE NUMBER ONE จังหวัดเลย ได้ให้ความสำคัญในกิจกรรม TO BE NUMBER ONE โดยได้กำหนดเป้าหมาย “เด็กและเยาวชนไทเลย เป็นหนึ่งโดยไม่พึ่งยาเสพติด” มีการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เกิดการฝึกฝน ทักษะ ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยดำเนินการทั้งในสถานศึกษา หมู่บ้าน/ชุมชน และสถานประกอบการ ทั้งในระดับจังหวัด และอำเภอ ขณะนี้มีสมาชิก 123,503 คน ชมรม 600 ชมรม
7. การดำเนินการต่อผู้มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติด ซึ่งในปัจจุบันได้เกิดปัญหาผู้ป่วยทางจิตจากการใช้ยาเสพติด ก่อเหตุความรุนแรงกับบุคคลใกล้ชิดในครอบครัว และคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ส่งผลต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหาดังกล่าว จังหวัดเลย ได้จัดทำข้อมูลผู้มีอาการทางจิตในพื้นที่ จำนวน 121 คน โดยจะฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ในการเฝ้าระวัง การจัดเจ้าหน้าที่เผชิญเหตุ การส่งต่อสถานพยาบาล และการดูแลช่วยเหลือ หลังการส่งกลับเข้าสู่หมู่บ้าน/ชุมชน
ดังนั้น เพื่อให้มีความเข้มข้นในการดำเนินการต่อผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดของจังหวัดเลย ในห้วง 6 เดือนหลัง เป็นไปตามเป้าหมาย จึงกำหนดให้มียุทธการ “พิทักษ์ไทเลย 64” ด้วยการ ปิดล้อม ตรวจค้น การขยายผลถึงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด และการยึดทรัพย์สิน ผู้เสพจะต้องนำเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู ทุกราย ควบคู่ไปกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อนำความสงบสุขแก่พี่น้องประชาชนชาวไทเลย ต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: