ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จังหวัดเลย โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเลย ได้จัดแถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธการ “พิทักษ์ไทเลย 64” ณ ห้องประชุมศรีสองรัก ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเลย โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าวประกอบด้วย นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดเลย ร้อยเอกสมนึก มัญจกาเภท แทนผู้บัญชาการกองกำลังสุรศักดิ์มนตรี พันเอกสมหมาย บุษบา แทนผู้บัญชาการมณฑลทหารบก ที่ 28 พันตำรวจเอกยุทธวัฒน์ โชคชัย แทนผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดเลย นายแพทย์ชาญชัย บุญอยู่ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย นายเฉลิมชัย แสนมหาชัย ศึกษาธิการจังหวัดเลย นางอรนุช สังขวรรณะ แทนผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 4 รวมแถลงข่าว
นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า จังหวัดเลย เป็นจังหวัดชายแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีผลกระทบทั้งด้านสังคม ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานต่างด้าว และปัญหาความมั่นคงอื่นๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันปัญหายาเสพติด สำหรับการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด จังหวัดเลย โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการป้องกัน ด้านการปราบปราม ด้านการบำบัดรักษา และการบริหารจัดการอย่างบูรณาการ ได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากปัญหายาเสพติดในสังคม สร้างความมั่นคง ปลอดภัยและลดความเดือดร้อนของประชาชนจากผลกระทบดังกล่าวให้กับบุคคล หมู่บ้าน/ชุมชน สังคม จังหวัดเลย จึงได้กำหนดแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภายใต้ยุทธการ “พิทักษ์ไทเลย 64” ซึ่งจากห้วงเวลาตั้งแต่เปิดยุทธการจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 มีผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจในทุกๆ ด้าน ตามที่ได้กำหนดไว้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนภายใต้ยุทธการ “พิทักษ์ไทเลย 64” ได้แก่
1. การดำเนินการจับกุมผู้ค้ายาเสพติด การขยายผลการจับกุมและการยึดทรัพย์
ข่าวน่าสนใจ:
- เชียงใหม่- อบจ.มอบ 10 ล.เปิดศูนย์ รับ PM2.5 ปี 68
- "เลยดั้น" แค่มุมภาพเดียว กลายเป็นไวรัล ดึงดูด นทท.แห่เช็คอินถ่ายภาพ อ.น้ำหนาวเตรียมดันเป็นซอฟพาวเวอร์
- นายก อบจ.ระยอง ประกาศลาออกก่อนครบวาระ 1 วัน พรัอมลงชิงชัยตำแหน่งนายก อบจ.ระยอง อีกหนึ่งสมัย
- ป้า 70 ยังยึดวิถีเดิม หุงข้าวเช็ดน้ำแบบโบราณ กลิ่นหอมอร่อยกว่าหุงหม้อไฟฟ้า
สามารถดำเนินคดียาเสพติดได้ จำนวน 3,671 คดี เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.7 ผู้ต้องหา จำนวน 3,709 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 ของกลางยาบ้า 19,763,643 เม็ด เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2,962.5 ไอซ์ 75,714 กรัม เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 183.8 กัญชาแห้ง 547,119.10 กรัม เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3,033.16 กัญชาสด 384 ต้น กระท่อม 11,800 กรัม ยึดทรัพย์ จำนวน 39 ราย มูลค่าทรัพย์สิน 17,454,241 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 126.53
2. การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน โดยใช้กลไกคณะกรรมการหมู่บ้านหรือคณะกรรมการชุมชน
ขับเคลื่อนกระบวนการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน ตามกระบวนการที่กำหนด และดำเนินการจัดทำประชาคมลับผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในพื้นที่ ทั้ง 14 อำเภอ 89 ตำบล 968 หมู่บ้าน/ชุมชน พบบุคคลเฝ้าระวัง จำนวน 612 คน ดำเนินคดีแล้ว 366 คน อยู่ระหว่างดำเนินการ 246 คน พบผู้เสพ/ผู้ติด จำนวน 1,685 คน นำเข้าบำบัดรักษาแล้ว จำนวน 643 คน อยู่ระหว่างดำเนินการติดตามเข้ารับการบำบัด 1,042 คน
3. การนำผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาในทุกระบบ
นำผู้เสพผู้ติดเข้ารับการบำบัดรักษา ในระบบสมัครใจบำบัดในสถานพยาบาล จำนวน 952 คน ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 291 คน ระบบบังคับบำบัด จำนวน 667 คน และระบบต้องโทษ จำนวน 395 คน รวมการบำบัดผู้ติดผู้เสพทั้งสิ้น 2,305 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2563 บำบัดได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6
4. การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน
กำหนดแนวทางการสกัดกั้นการลักลอบขนยาเสพติดตามแนวชายแดน เพื่อให้หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามแนวชายแดน ประกอบด้วย ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอำเภอ กรมทหารพราน ที่ 21 ตำรวจภูธร ตำรวจตระเวนชายแดน สถานีเรือเชียงคาน ตำรวจน้ำเชียงคาน และกองกำลังภาคประชาชน ชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้าน ดำเนินการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด การปฏิบัติการด้านการข่าว การเฝ้าระวังตามแนวชายแดน การลาดตระเวน และการตั้งจุดตรวจภายในหมู่บ้าน และกำหนดพื้นที่รับผิดชอบอย่างชัดเจนตามแนวชายแดนทั้ง 199 กิโลเมตร
5. การป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของยาเสพติดในสถานศึกษา
ดำเนินการต่อกลุ่มนักเรียนในสถานศึกษา โดยการจัดกิจกรรมในการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาทุกระดับ จำนวน 454 แห่ง จำนวนนักเรียน 75,339 คน ตรวจหาสารเสพติด จำนวน 6,457 ราย พบสารเสพติด จำนวน 21 ราย การสร้างแกนนำและเครือข่ายต้านยาเสพติด การให้ความรู้เรื่องโทษและพิษภัยของยาเสพติด จำนวน 412 แห่ง 43,520 คน
6. การขับเคลื่อนกิจกรรม TO BE NUMBER ONE
มีการขับเคลื่อนกิจกรรม TO BE NUMBER ONE เพื่อสร้างกระแสและพัฒนาเครือข่ายกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ในการป้องกันไม่ให้เยาวชนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดในทุกระดับโดยตั้งชมรม ระดับจังหวัด ระดับอำเภอ สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชน และชมรม TO BE NUMBER ONE ในเรือนจำ สถานพินิจ และคุมประพฤติ ปัจจุบันมีชมรม TO BE NUMBER ONE จำนวน 542 ชมรม จำนวนสมาชิกอายุ 6-24 ปี จำนวน 128,899 คน ในสถานประกอบการ 4,942 คน และสมาชิกสมทบ 196,967 คน รวม 330,808 คน มีศูนย์เพื่อนใจแล้ว จำนวน 442 แห่ง มีเงินกองทุนรวมทุกชมรม จำนวน 1,870,797.55 บาท
7. การดำเนินการต่อผู้มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติด
จัดทำข้อมูลผู้มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติดในพื้นที่ จำนวน 420 คนโดยการจัดตั้งชุดพิทักษ์ การจัดตั้งชุดระงับเหตุในทุกสถานีตำรวจภูธรในพื้นที่ และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่ง จัดอบรมชุดระงับเหตุพร้อมมอบอุปกรณ์ในการควบคุมผู้มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติดครบทุกพื้นที่ ในปี 2564 สามารถระงับเหตุได้ 160 ครั้ง ช่วยเหลือผู้ป่วยได้ 147 คน
สำหรับในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดเลย โดยหน่วยงานและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
จะมุ่งมั่นตั้งใจในการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ภายใต้ยุทธการ “พิทักษ์ไทเลย 65” ให้มีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น
ด้านการปราบปรามจะต้องมีการจับกุม การขยายผล การยึดทรัพย์ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดให้มากที่สุด ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดเลย ได้จัดตั้งชุดปฏิบัติการเฉพาะกิจราชสีห์พิทักษ์เลย เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
การเสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน/ชุมชน นอกจากคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือคณะกรรมการชุมชนที่เป็นกลไกในการขับเคลื่อนโดยมีชุดปฏิบัติการประจำตำบลเป็นที่ปรึกษาแล้ว จะต้องต่อยอดและขยายผลโครงการไทเลย : ชุมชนยั่งยืน ชุมชนเข้มแข็ง ของตำรวจภูธรจังหวัดเลย ที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงที่ผ่านมา โดยมีการตรวจสารเสพติดบุคคลในพื้นที่เป้าหมายตามโครงการ จำนวน 20 หมู่บ้าน 6,439 คน พบสารเสพติด จำนวน 241 คน ได้นำตัวเข้ารับการบำบัดโดยใช้ชุมชนเป็นศูนย์กลางผู้เสพผู้ติดกลับตัวเป็นพลเมืองสีขาวแล้ว จำนวน 142 คน อยู่ระหว่างการบำบัด จำนวน 99 คน เป้าหมายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะดำเนินการโครงการไทเลย : ชุมชนยั่งยืน ชุมชนเข้มแข็ง เพิ่มขึ้น ตำบลละ 1 หมู่บ้าน รวม 89 หมู่บ้าน ในพื้นที่ทั้ง 14 อำเภอ
การนำผู้เสพผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษา จะต้องนำผู้เสพผู้ติดที่ตรวจพบสารเสพติดเข้ารับการบำบัดให้ครบทุกราย ในปีที่ผ่านมา ได้นำผู้เสพผู้ติด เข้ารับการบำบัดรักษา รวมทั้งสิ้น 2,305 คน แยกเป็นการบำบัดในสถานพยาบาล จำนวน 952 คน ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จำนวน 291 คน ระบบบังคับบำบัด จำนวน 667 คน และระบบต้องโทษ จำนวน 395 คน
การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน พื้นที่ชายแดนแม่น้ำเหืองและแม่น้ำโขงรวมระยะทาง ประมาณ 199 กิโลเมตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องให้ความสำคัญในการตั้งจุดตรวจ จุดสกัด การปฏิบัติการด้านการข่าว การลาดตระเวน การตั้งจุดตรวจภายในหมู่บ้าน และให้กำลังภาคประชาชน (ชรบ.) ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังให้มากขึ้น
การขับเคลื่อนกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ขณะนี้มีการขับเคลื่อนกิจกรรม TO BE NUMBER ONE เพื่อสร้างกระแสและพัฒนาเครือข่ายกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ สถานศึกษา สถานประกอบการ ชุมชน และชมรม TO BE NUMBER ONE ในเรือนจำ สถานพินิจ และคุมประพฤติ และได้ขยายผลลงไปถึงระดับหมู่บ้าน/ชุมชน เรียบร้อยแล้ว สำหรับในสถานศึกษาจะต้องให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนกิจกรรม TO BE NUMBER ONE ให้มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เพื่อเป็นการป้องกันและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาทุกระดับ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะมีความเข้มข้นมากยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งสู่จังหวัด TO BE NUMBER ONE ดีเด่นระดับประเทศ ระดับเงิน ระดับทอง ระดับเพชร และระดับยอดเพชรต่อไป
การดำเนินการต่อผู้มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติด ในปีที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้งชุดพิทักษ์ จัดตั้งชุดระงับเหตุในทุกสถานีตำรวจภูธร และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จังหวัดเลยได้ขอความร่วมมือให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทุกแห่ง จัดตั้งงบประมาณในการฝึกอบรมชุดระงับเหตุ พร้อมอุปกรณ์ในการควบคุมผู้ที่มีอาการทางจิตจากการใช้ยาเสพติด ครบทุกหมู่บ้าน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: