ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ที่ศาลจังหวัดเลย นายถาวร เชื้อบุญมี เจ้าพ่อกวน และนางประกายมาศ เชื้อบุญมี เจ้าแม่นางเทียม ผู้นำทางจิตวิญญาณของอำเภอด่านซ้ายและคณะ พร้อมด้วยนายอุดร แสวงผล กรรมการมูลนิธิพระธาตุศรีสองรัก ในฐานะประธานกองทุนปกป้องพระธาตุศรีสองรัก เดินทางมาเป็นพยานให้แก่เทศบาลตำบลด่านซ้าย ในฐานะผู้ร้องสอด คดีหมายเลขดำที่ 102/2564 ที่นายกิตติพันธ์ ปฐมชัยเกียรติ ไวยาวัจกร ผู้รับมอบอำนาจจากวัดพระธาตุศรีสองรัก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 ฟ้องร้องกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ 1 อธิบดีกรมที่ดินเป็นจำเลยที่ 2 และสำนักงานที่ดินจังหวัดเลย สาขาอำเภอด่านซ้าย เป็นจำเลยที่ 3 ขอให้เพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง (นสล.) เนื้อที่ 106 ไร่ 3 งาน 91 ตารางวา ที่ออกให้เป็นที่สาธารณะประโยชน์ร่วมกัน โดยอยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย ออกทับที่ดินของวัดพระธาตุศรีสองรัก
ในคำฟ้องระบุว่า ตามหนังสือรับรองสถานภาพวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ บันทึกไว้ว่าบริเวณพระธาตุศรีสองรักมีฐานะเป็นวัดมาตั้งแต่ พ.ศ.2103 ชาวบ้านเรียกว่า “วัดธาตุ” และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2109 มีพระอุโบสถ มีศาลาการเปรียญ มีหอระฆัง และพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ 5 รูป เป็นวัดที่ได้รับการจัดตั้งถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ โดยมีเนื้อที่ทั้งหมด 108 ไร่ 3 งาน 11 ตารางวา ซึ่งจำเลยทั้งสามทราบอยู่แล้วว่า ที่ดินบริเวณนี้เป็นวัด แต่ยังเพิกเฉย ไม่เพิกถอนหนังสือ นสล.ออก ทำให้โจทก์ไม่สามารถเข้าไปบำรุง ดูแลรักษา ปฏิสังขรณ์เสนาสนะให้มั่งคงและอยู่ในสภาพพร้อมให้พระสงฆ์จำพรรษาได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตำรวจจับ 6 ราย ปิดล้อมตรวจค้นและระดมกวาดล้างเป้าหมายยาเสพติดในห้วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
- เปิดสะพานข้ามแยกสระขวัญชั่วคราวช่วงเทศกาลปีใหม่ จ.สระแก้ว ส่วนเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าอ่างฤาไนเปิดใช้เส้นทางช่วงกลางคืน
- ศึกษาธิการระยอง จับมือเทคนิคระยอง และศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง จัดกิจกรรมโครงการเรียนดี มีความสุขสู่อนาคตที่สดใส
- ตรัง จับแล้วมือค้อนทุบหัวฆ่าโหดพ่อค้าปลาสวยงาม กลางงานลอยกระทงกันตัง ทิ้งศพกลางงาน หลักฐานชัด จุดทิ้งมือถือ-โผล่กดเงินสดผู้ตาย
ด้านนายอุดร แสงผล กรรมการมูลนิธิพระธาตุศรีสองรัก เปิดเผยว่า จากหลักฐานต่างๆ ทั้งพยานบุคคล เอกสาร และการปฎิบัติพิธีรกรรมประเพณีวัฒนธรรมของอำเภอด่านซ้ายสืบมากว่า 430 ปี ไม่มีสิ่งใดที่บ่งบอกเลยว่าพระธาตุศรีสองรักเป็นวัดมาก่อน ทางเทศบาลตำบลด่านซ้ายจึงเข้าร้องสอด เป็นจำเลยร่วม เจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียมและคณะก็ได้เดินทางมาเป็นพยานร่วมด้วย ซึ่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 มาตรา 43 ที่ระบุว่า ชุมชนมีสิทธิในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น และของชาติ ซึ่งพระธาตุศรีสองรักที่สร้างขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเขตแดนระหว่างกรุงศรีอุธยากับกรุงศรีสัตนาคนหุต อยู่กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านกับแม่น้ำโขง เป็นเจดีย์สัญลักษณ์ความสัมพันธไมตรีระหว่างทั้งสองอาณาจักรว่าจะไม่รบราฆ่าฟันกัน จะมีแต่ความรักใคร่กลมเกลียว ไม่มีสิ่งใดที่บ่งบอกว่าเป็นวัด มีดูแลรักษา มีประเพณีวัฒนธรรม พิธีกรรมตามความเชื่อ โดยมีเจ้าพ่อกวน เจ้าแม่นางเทียม คณะพ่อแสน นางแต่ง คอยดูแลสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน แต่จะไม่ขอก้าวล่วงการพิจารณาของศาล ฝ่ายตนมีหลักฐานเพียงพออยู่แล้ว
นายถาวร เชื้อบุญมี เจ้าพ่อกวน กล่าวว่า หากที่ดินบริเวณนี้เปลี่ยนแปลงสถานเป็นวัดแล้ว จะส่งผลให้ประเพณี วัฒนธรรม พิธีกรรมความเชื่อที่มีมาช้านานก็จะเปลี่ยนแปลงไป ไม่สามารถเข้าไปดำเนินการได้แล้ว ตนจึงต้องมายืนยันความจริงว่าพื้นที่ตรงนี้ไม่ใช่วัด
นางประกายมาศ เชื้อบุญมี เจ้าแม่นางเทียม กล่าวว่า พื้นที่บริเวณพระธาตุศรีสองรัก เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมมาตั้งแต่โบราณกาล มีการแก้บะแก้บน โดยการฆ่าควาย ทุกปีและยิ่งใหญ่ที่สุด หากเป็นวัดตามที่กล่าวอ้าง จะสามารถฆ่าสัตว์ได้หรือ หลังจากที่ทราบเกี่ยวกับคดีความนี้ ชาวอำเภอด่านซ้ายรู้สึกไม่สบายใจ เป็นกังวลอยู่มาก เพราะทุกคนรู้ดีว่า พระธาตุศรีสองรักเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจมาหลายชั่วอายุคน เจ้าแม่นางเทียมกล่าว
ทั้งนี้ พระธาตุศรีสองรัก ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมัน อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อปี พ.ศ. 2103 เสร็จในปี พ.ศ. 2106 เพื่อให้เป็นสักขีพยานในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างกรุงศรีอยุธยา (สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ) กับกรุงศรีสัตนาคนหุต (ปัจจุบันคือเวียงจันทน์ ประเทศลาว)
กษัตริย์ทั้งสองพระองค์ทรงครองราชสมบัติ ตรงกับสมัยที่พม่าเรืองอำนาจ และมีการรุกรานดินแดนต่าง ๆ เพื่อขยายอำนาจ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงตกลงรวมกำลัง เพื่อต่อสู้กับพม่า จึงทรงกระทำสัตยาธิษฐานว่าจะไม่ล่วงล้ำดินแดนของกันและกัน และเพื่อเป็นที่ระลึกในการทำไมตรีต่อกัน จึงได้ร่วมกันสร้างพระธาตุศรีสองรักเพื่อเป็นสักขีพยาน ณ กึ่งกลางระหว่างแม่น้ำน่านและแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นรอยต่อของทั้งสองราชอาณาจักร
นอกจากนี้ภายในวัดยังมีพระพุทธรูปปางนาคปรก ศิลปะล้านช้างทรงเครื่องอยุธยา หัวนาคปรกสร้างด้วยศิลา องค์พระพุทธรูปสร้างด้วยทองสำริด มีหน้าตักกว้าง 21 นิ้ว สูง 30 นิ้ว ทุกวันขึ้น 15 เดือน 6 ชาวอำเภอด่านซ้าย หรือ”ลูกผึ้งลูกเทียน” จะร่วมกันจัดงานสมโภชพระธาตุขึ้น โดยจะนำต้นผึ้ง มาถวายพระธาตุ และทำ “พิธีล้างธาตุ” ถือเป็นประเพณีอันศักดิ์สิทธิ์ที่เกิดขึ้นประจำทุกปี.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: