X

เลย กับดักช้าง หันสู่อาชีพใหม่ เลี้ยงวัวควาย กันชนธรรมชาติ แก้ปัญหาช้างป่าภูหลวง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราขการจังหวัดเลย พร้อมด้วยนายอำเภอภูหลวง หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าภูหลวง หัวหน้าโครงการฟื้นฟูอาหารช้างป่าภูหลวง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมประชุม กับทีมอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าภูหลวง  ผู้นำท้องถิ่น ลงพื้นที่พบปะชาวบ้านที่เดือดร้อน เพื่อมารับฟังปัญหาและหาข้อแก้ไขเบื้องต้น การจะมารับฟังปัญหาและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ที่ศาลา กลางหมู่บ้านวังมน ตำบลภูหอ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย โดยมีชาวบ้าน เข้าร่วมรับฟัง พร้อมกับเล่าถึงปัญหาที่ช้างลงมายืดที่ทำกินของชาวบ้าน ที่เป็นปัญหามานานยืดเยื้อกว่า 5 ปี

หลังจากในช่วง อาทิตย์ที่ผ่านมา มีเรื่องของทางเจ้าหน้าที่ฯ ได้เข้าไปพบเจอกับดักช้าง ที่เป็นตะปูยาว 4-5 นิ้วได้ที่บริเวณรอยต่อพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง และมีการพูดถึงกันในวงกว้างในเรื่องอาจจะทำร้ายช้างได้ในพื้นที่ เนื่องจากมีปัญหา คนกับช้าง ที่ต้องการการแก้ไขด่วนในตอนนี้

นายไพบูลย์  ปิสาทุม ทีมอาสาสมัครเฝ้าระวังช้างป่าภูหลวง เปิดเผยว่า เนื่องจากช้างมีนิสัยที่ ดื้อ และไม่ชอบกลิ่น ของ โคกระบือ จึงอยากเสนอให้ทางจังหวัด ช่วยเหลือชาวบ้าน โดยการตั้งกลุ่มเลี้ยงโคกระบือ เพื่อจะได้ขับไล่ช้างออกไปโดยอัตโนมัติ  แล้วพี่น้องชาวบ้าน จะได้ทำสวนไร่ทำนา ของตนเองได้ตามปกติ ดีกว่า เอางบมาซื้อชุดสายไฟ มาทำรั่วไฟฟ้า กันช้างแต่ช้างก็มาเหยียบเล่นอีกเหมือนเดิม

ด้าน นายชัยธวัช เนียมศิริ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เปิดเผยว่า ตอนนี้เรามีอยู่ 2 เรื่อง คือเรื่องที่ อยากทำ และ เรื่องที่ทำได้ โดยประเมินประสิทธิภาพและความเป็นไปได้รวมถึงการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน โดยการมีชุดอาสาเฝ้าระวังช้างป่าภูหลวงในเวลานี้ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของเราและชุมชนต่อเนื่องมากว่า 3 ปี ต้องเข้มงวดและต้องดูแลกันได้อย่างไรบ้าง ให้เราปรับและเพิ่มเติมแนวทางการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับสถานการณ์และจะดูแลชุดอาสาเฝ้าระวังช้างป่าโดยการทำประกันชีวิตให้ผู้ปฏิบัติงานทุกนาย การปรับเพื่อความยั่งยืน ปรับไม่ใช่เปลี่ยนไปเลยเพราะยังต้องคงการมีรายได้ประจำตามความเหมาะสม ปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต ปรับพืชเกษตรที่ดึงดูดช้างป่า ปรับอาชีพเสริมอื่นๆ เพื่อลดแรงดึงดูดช้างป่า เรียนรู้จากเราเรียนรู้ปรับจากพฤติกรรมช้างป่า จากความคิดเห็นในที่ประชุมมีการนำเสนอการปรับอาชีพเป็นปศุสัตว์ แพะ วัว ไก่ เปลี่ยนพืชเป็นมะขามผักหวานและผักปลอดภัย ตนได้เสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมและเริ่มแผนงานทันที 3 กุมภาพันธ์นี้ การเพิ่มความปลอดภัยในชุมชนโดยการเพิ่มแสงสว่างตามจุดที่เป็นพื้นที่เสี่ยงจากช้างป่าและเส้นทางสัญจร ชาวบ้านเสนอความคิดเห็น ตนก็ชื่นชมว่าเยี่ยมเป็นทางออกที่ไม่ใช้ความรุนแรงเป็นหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหานี้ และได้มอบให้นายอำเภอภูหลวง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลดูแลงบประมาณและส่งเรื่องด่วนที่สุดมีทั้งไฟแสงสว่างของถนนและไฟส่องสว่างให้แต่ละครัวเรือน

ซึ่งการประเมินความเป็นไปได้ในการพาช้างกลับป่าว่ามีขั้นตอนและมีวิธีการใดเป็นไปได้บ้าง การเพิ่มแหล่งน้ำแหล่งอาหารการจัดการโป่งเทียมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการ การใช้เครื่องมือป้องกันช้างป่า คูกันช้าง รั้วไฟฟ้าประเด็นนี้ต้องใช้งบประมาณมากและต้องใช้เวลาให้พิจารณาประสิทธิภาพและประเมินความเป็นไปได้จากสภาพพื้นที่จริงว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไร ส่วนค่าชดเชยทรัพย์สินที่เสียหายให้รีบดำเนินการตามระเบียบจะติดตามและผลักดันให้ได้รับอย่างเหมาะสม นายชัยธวัชกล่าว

ขณะที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านวังมน เล่าว่า เริ่มปรับตัว ที่จะอยู่ร่วมกับช้างได้ ไม่เหมือนเมื่อก่อน ที่ช้างเข้ามาในหมู่บ้านใหม่ๆ ระแวง นอนไม่หลับสักคืน กลัวช้างจะเข้ามาทำร้าย ขณะที่ช่วงนี้ นอนหลับสบาย อีกทั้งชาวบ้าน ได้ตั้งกลุ่ม เฝ้าระวังช้างป่าร่วมกับเจ้าหน้าที่ ออกปฎิบัติหน้าที่ทุกคืน แต่ก็ต้องใช้ชีวิตแบบไม่ประมาท

ทั้งนี้ ภาพช้างป่าภูหลวง ที่สถานีศูนย์วิจัยสัตว์ป่าและพันธุ์พืชอำเภอภูหลวง ได้ออกติดตั้งกล้อง ไว้ถ่ายช้างเพื่อดูพฤติกรรมช้าง โดยจุดนี้ เป็นห้วยหินลับ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ซึ่งมีประมาณ 18 ตัวขึ้นไป

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of อัมรินทร์ ชูฤทธิ์

อัมรินทร์ ชูฤทธิ์

ชมรมสื่อเสรีเลย อาคาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเลย (ข้างเทศบาล) อำเภอเมือง จังหวัดเลย