เมื่อวันที่ 8 เมษายน 65 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงแรมเชียงคาน ริเวอร์ กรีนฮิลล์ รีสอร์ท จ.เลย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ร่วมกับ บริษัท แกรนด์เทค จำกัด ได้จัดการประชุมภาคีเครือข่าย เพื่อนำเสนอวิธีดำเนินงานโครงการศึกษาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจัดทำแผนบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบตามหลักการ GSTC และ TTCI พื้นที่ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
โดยในการประชุมมีนายศราวุธ กลันทะกะสุวรรณ รองผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 5 นายณณัช วรินทรา รองนายกเทศบาลตำบลเชียงคาน นายสรวิชญ์ แสงงาม หัวหน้างานพัฒนาความร่วมมือและส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน พร้อมกับภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบการ เมืองเชียงคาน ร่วมเข้าประชุมและเสวนา
ข่าวน่าสนใจ:
- ศึกษาธิการระยอง จับมือเทคนิคระยอง และศูนย์การค้าเซ็นทรัลระยอง จัดกิจกรรมโครงการเรียนดี มีความสุขสู่อนาคตที่สดใส
- รับสมัคร นายกอบจ.-ส.อบจ.ตรัง วันแรกคึกคัก! บ้านใหญ่ตระกูลโล่ฯ-ส.ส.ตรังทุกพรรค-กองเชียร์นับพัน แห่ให้กำลังใจ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” สู้ศึกอีกสมัย…
- บุรีรัมย์ เตือนวัยรุ่นอย่าทำ ขับรถหวาดเสียว ยกล้อโชว์ จับส่งศาล ศาลพิพากษาสั่งปรับและจำคุก
- สมัคร อบจ.สมุทรสาคร วันแรก “ปลัดแต” ชน “เฮียโต้” พรรคประชาชน
นายศราวุธ กลันทะกะสุวรรณ กล่าวว่า องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) โดยสำนักจัดการองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ สจอ. ร่วมกับเทศบาลตำบลเชียงคาน จัดการการประชุมภาคีเครือข่าย เพื่อนำเสนอวิธีดำเนินงาน การศึกษาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจัดทำแผนบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบตามหลักการ GSTC และ TTCI โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 30 คน ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่าย ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้แทนจากภาคการท่องเที่ยวในพื้นที่หนึ่งในอุปสรรคของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบ
จากการประเมินผลการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามแนวทางของ GSTC คือเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการท่องเที่ยว ซึ่งปัญหาของหลายแหล่งท่องเที่ยวคือไม่ทราบว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวสร้างผลกระทบทางลบด้านสิ่งแวดล้อม กระทั่งส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแหล่งท่องเที่ยว ดังนั้น จึงไม่สามารถรับรู้และนำสู่การแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นระบบฯ ทั้งนี้ พื้นที่ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน เป็นหนึ่งในพื้นที่กรณีศึกษาของโครงการฯ โดยมีภาคีเครือข่าย ผู้มีส่วนได้เสีย หรือผู้แทนจากภาคการท่องเที่ยว เข้าร่วมประชุม ซึ่งได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลโครงการ แนวทางและวิธีการดำเนินงานโครงการ และร่วมแสดงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปปรับใช้ในการดำเนินงานต่อไป อันจะเกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวของพื้นที่ตำบลเชียงคานได้อย่างยั่งยืน
สำหรับการศึกษาข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และจัดทำแผนบริหารจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบตามหลักการ GSTC และ TTCI นี้ อพท. ให้ความสำคัญของการศึกษาและจัดทำแผนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เกิดความยั่งยืน ตามแนวทางเกณฑ์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก หรือ Global Sustainable Tourism Criteria (GSTC) ของสภาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก โดย อพท. มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษา คือ บริษัท แกรนด์เทค จำกัด เป็นผู้ดำเนินงาน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: