ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดป่าสามัคคีธรรม บ้านห้วยทรายคำ หมู่ที่ 6 ตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย นายณรงค์ จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานการแถลงข่าว “งานสืบสานประเพณีลอยกระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ ประจำปี พ.ศ.2565” ซึ่งกำหนดจัดระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดป่าสามัคคีธรรม บ้านห้วยทรายคำ หมู่ที่ 6 ตำบลนาแขม อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
พระอธิการเอกสิทธิ์ กิตติคุตโต เจ้าอาวาสวัดป่าสามัคคีธรรม กล่าวว่า การจัดงานประเพณีลอยกระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ จัดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2557 ปีนี้เป็นปีที่ 9 จุดเริ่มต้นของกระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ คือ “ความเสียดาย” จากเศษวัสดุเหลือใช้ เช่น กะลามะพร้าวและเศษผึ้งเศษเทียน ที่ญาติโยมนำมาใช้ในงานกิจกรรมต่างๆ ภายในวัด จึงมีแนวคิด “ทำกระทงกะลาลอยเคราะห์” โดยนำกะลามะพร้าวมาประดิษฐ์เป็น “กระทง” เศษผึ้งเศษเทียน มาประดิษฐ์เป็น “กลีบดอกบัว”วางกึ่งกระทงกะลา และนำเศษผ้าฟั่นเป็นใส่เทียน แล้วนำกระทงกะลาที่สมบูรณ์ เข้าในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา ก่อนนำกระทงกะลาไปลอย ทั้งนี้กระทงกะลา 1 อัน แทนอายุ 12 ปี ซึ่งปีแรกๆ ทำ“กลีบดอกบัว” สีเหลืองอย่างเดียว แต่ปัจจุบัน ได้ทำ“กลีบกระทง” ให้ครบ 7 สี (สีประจำวันเกิด) ตามความเชื่อของแต่บุคคล เพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ลอยกระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ ซึ่งวัด ได้ส่งเสริมแนวคิดให้คนในชุมชน เรื่องหลัก 3 R การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ช่วยลดปริมาณขยะ ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle) ผ่านการจัดงานประเพณีลอยกระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ เป็นการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในหมู่บ้าน เยาวชน และผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมทำร่วมกัน ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทางวัดป่าสามัคคีธรรมได้จัดทำขึ้นเพื่อ ส่งเสริมเยาวชนในชื่อว่า “ละจากหน้าจอ ล้อหมุน ไปทำดี”
ข่าวน่าสนใจ:
- ขอนแก่น เอาจริงลุยปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด ในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น ได้ผู้ต้องหา 4 ราย หลังชาวบ้านแจ้งเบาะแส
- สุด! ใช้เกาะพิพาทไทย เมียนมาขนยาบ้าหวิดแสน และไอซ์ ไม่รอดมือทหารราชมนู
- เตือนชาวบ้านอย่าตกเป็นเครื่องมือคนร้ายที่พยายามสร้างความขัดแย้งในพื้นที่
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
นายวุฒิพงศ์ พรหมภักดี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม กล่าวว่า การบำรุงรักษา ศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในฐานะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม ก็ได้ขับเคลื่อนงานเพื่อสืบสาน รักษาและต่อยอดศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เกิดความยั่งยืนแก่คนในชุมชน ตัวอย่างเช่น งานสืบสานประเพณีลอยกระทง ประจำปี องค์การบริหารส่วนตำบลนาแขม ได้จัดงานทุกปี โดยกำหนดจัดตามวัดในเขตพื้นที่ตำบลนาแขม แต่ปี พ.ศ.2565 นี้ ได้บูรณาการกับทุกภาคส่วนทั้งในพื้นที่ และส่วนราชการระดับจังหวัด ยกระดับงานประเพณีลอยกระทง ประจำปี โดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น คือ “กระทงกะลามะพร้าว” ของวัดป่าสามัคคีธรรม มาเป็นนำเสนอผ่านงานวัฒนธรรมประเพณี วิถีชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวตำบลนาแขม หวังให้งานดังกล่าว เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น และถูกบรรจุไว้ในปฏิทินการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย สร้างอาชีพ สร้างรายได้ คุณภาพชีวิตของชาวนตำบลนาแขมและตำบลข้างเคียงที่ดีขึ้น อีกทั้ง ได้ขับเคลื่อนงานพัฒนาตำบล ให้สอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาจังหวัดเลย ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืน ด้วย
นายจริยาทร สูหู่ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) สำนักงานเลย กล่าวว่าสถานการณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดเลย ในช่วงเดือนแรกสำหรับงบประมาณปี ๒๕๖๖ จะเห็นได้ว่าบรรยากาศด้านการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคัก ไม่ว่าจะเป็นฝั่ง อ.เชียงคาน อ.ภูกระดึง อ.ภูเรือ และ อ.ด่านซ้าย ตลอดจนพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติ และวนอุทยานต่างๆ ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวกลุ่มแค้มเปอร์จำนวนมาก โดยเฉพาะรัฐบาลประกาศให้เพิ่มวันหยุดยาวในเดือนตุลาคม ๖๕ ซึ่งส่งผลดีต่อการท่องเที่ยวของจังหวัดเลย โดยคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวตลอดทั้งเดือนตุลาคม ประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ คน มีรายได้ไม่น้อยกว่า ๕๐๐ ล้านบาท ส่วนอัตราการเข้าพักเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า ๘๐%
สำหรับในช่วง ๓ เดือนข้างหน้า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๕ ไปจนถึงเดือนมกราคม ๒๕๖๖ เป็นช่วง High Season คาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า ๙๕๐,๐๐๐ คน จะมีรายได้หมุนเวียนกว่า ๑,๗๐๐ ล้านบาท รายได้เหล่านั้นจะกระจายลงไปสู่ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว อันได้แก่ ที่พัก ร้านอาหาร ร้านค้าของที่ระลึก ชุมชนที่นักท่องเที่ยวไปเยือน การใช้พาหนะ น้ำมัน และร้านกาแฟชิคชิล
ส่วนแผนงานด้านการตลาดและการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวจังหวัดเลย ททท.สำนักงานเลย เราได้มี
การบูรณาการร่วมกันกับ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด อพท.๕ ตำรวจท่องเที่ยว หอการค้าจังหวัด และสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดเลย ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง จัดทำปฏิทินท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวสามารถมาท่องเที่ยวที่จังหวัดเลยได้ตลอดทุกเดือน ไม่ว่าจะเป็นงานวัฒนธรรมประเพณี
ที่โดดเด่น กิจกรรมกีฬาเพื่อการท่องเที่ยว กิจกรรมดนตรีและดอกไม้งาม เป็นต้น สรุปสั้นๆ คือ คิดสร้างสรรค์ต่อยอดจากงานเดิม แล้วเพิ่มเติมกิจกรรมใหม่ๆ เข้าไป เช่น กิจกรรมว่าด้วยเรื่องกาแฟ Ca (fe’) Camp หรือกิจกรรมการทำโปรโมชั่นช่วง Green Season เพื่อกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวกลับมาพัก มาท่องเที่ยวจังหวัดเลย ในช่วงฤดูฝน เพื่อให้สมกับชื่อ “เที่ยวเลย ไม่เคยเหงา”
ท้ายที่สุดนี้ ผมเชื่อมั่นว่ากิจกรรมต่างๆ ที่ ททท. สำนักงานเลย ได้รับความอนุเคราะห์ รับความร่วมมือจาก
ทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชน จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยว ให้กับมาคึกคักดั่งกับปี ๒๕๖๒ เช่นเดิม ร่วมกันเป็นเจ้าบ้านที่ดีให้การต้อนรับนักท่องเที่ยวกันนะครับ “หลงเลย เลยรัก เลยรอ รอเลย”
นางสาวณัณธิญาจ์ มังคละคีรี วัฒนธรรมจังหวัดเลย กล่าวว่า การจัดงานสืบสานประเพณีลอยกระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ นี้ เป็นการส่งเสริม สนับสนุนและยกระดับงานประเพณีที่สำคัญ หรือที่โดดเด่นของพื้นที่ ตามยุทธศาสตร์และบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวคือ “สืบสาน รักษา ต่อยอด และเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการดำเนินงาน” เพื่อปลุกวัฒนธรรมในตัวคนไทยให้ตื่น สนับสุนนความคิดสร้างสรรค์และค่านิยมเชิงบวก เพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการทางวัฒนธรรมที่แข่งขันได้ รวมทั้งเสริมสร้างสังคม คุณธรรมและสันติสุข ภายใต้แนวคิด “วัฒนธรรมทำงาน วัฒนธรรมทำเงิน และวัฒนธรรมทำดี” ในรูปแบบการบูรณาการกับทุกภาคส่วน โดยมุ่งหวังให้เกิดการขับเคลื่อนงานท่องเที่ยงสู่ความยั่งยืน และเกิดความสร้างสรรค์ในพื้นที่จังหวัดเลย อย่างแท้จริง
ในงานสืบสานประเพณีลอยกระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ ประจำปี พ.ศ.2565 นี้ จะมีพิธีเปิดงานในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ตั้งแต่เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดป่าสามัคคีธรรม มีจัดกิจกรรม อาทิเช่น 1. การลอยกระทงกะลาลอยเคราะห์ (ที่มี 1 เดียวในอำเภอเมืองเลย) 2.การประกวดกระทงใหญ่ของตำบลนาแขม 3.การประกวดหนูน้อยนพมาศ 4. การแสดงศิลปวัฒนธรรม และ 5. การสาธิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม/ผลิตภัณฑ์ชุมชน และที่จะสร้างความประทับใจแก่นักท่องเที่ยวหรือผู้มาร่วมงาน คือ การเลือกบูชากระทงกะลาเทียนลอยเคราะห์ ตามสีประจำวันเกิดของตนเอง การคำนวณอายุตนเองเพื่อได้มาซึ่งจำนวนของกระทงกะลาลอยเคราะห์ (1 อัน ต่อ 12 ปี) การลอดอุโมงค์ไฟมหามงคลที่มีความยาวกว่า 500 เมตร เพื่อไปลอยกระทงกะลาลอยเคราะห์ เสริมสิริมงคลแก่ตนเอง และครอบครัว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: