ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อำเภอภูกระดึง จ.เลย ชาวภูกระดึง และทั้งส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอำเภอภูกระดึง ได้ร่วมกันจัดงานประเพณี สักการะพระพุทธเมตตา บูชาเจ้าปู่ภูกระดึง หรือ คีตกาลแห่งขุนเขาสืบสานตำนานภูกระดึง ขึ้นโดยจัดขบวนแห่ จำลองเป็นรุขเทวดา ที่มีความเชื่อสิงสถิตอยู่บนภูกระดึง พร้อมกับนางรำจากหมู่บ้านต่างๆ ร่วมรำบูชา รุขเทวดา บูชาเจ้าปู่ภูกระดึง กว่า 2,000 คน โดยมีนายณรงค์ จีนอ่ำ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธานเปิดงาน ในบรรยากาศค่ำคืนที่สวยงาม อลังการ
ภายในงานจะพิธีสำคัญของงาน ได้แก่ การโยงสายสิญจน์อัญชิญพระพุทธเมตตาลง จากยอดเขาภูกระดึง เพื่อให้ชาวบ้านสักการะ และการทำพิธีบวงสรวงบูชาปู่ภูกระดึง ซึ่งในการจัดงาน เพื่อรักษาวัฒนธรรม สืบสานประเพณี ศิลปะอันดีงาม และภูมิปัญญาของท้องถิ่นอำเภอ
ข่าวน่าสนใจ:
นายประชา แสนกลาง นายอำเภอภูกระดึง เปิดเผยว่า การจัดงาน “สักการะพระพุทธเมตตบูชาเจ้าภูกระดึง” (คีตกาลแห่งขุนเขาสืบสานตำนานภูกระดึง) ครั้งที่ 4 ประจำปี 2565 ชาวภูกระดึงมีความเชื่อในตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมาว่า เมื่อปี 2348 มีพรานป่าผู้หนึ่ง เดินทางมาจากนครจำปาศักดิ์ รอนแรมมาหลายวัน พบพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การตั้งบ้านเมือง พรานป่าจึงเดินทางกลับบ้าน แล้วอพยพครัวครอบและญาติพี่น้องมาตั้งรกรากแล้วตั้งชื่อว่า “หมู่บ้านท้ายเมือง” หรือ ผานกเค้า
วันหนึ่ง นายพรานออกตามล่ากระทิงโทนที่ปราดเปรียว เป็นเวลาหลายวัน จนกระทั่งถึงเชิงเขาลูกหนึ่ง พบรอยเท้าที่ใหญ่ และหนักของกระทิง นายพรานได้แกะรอยตามอย่างไม่ลดละ จนขึ้นมาถึงยอดเขา ภาพที่เห็นทำให้ถึงกับตะลึง เพราะพื้นที่บนยอดเขานั้น ราบเรียบและกว้างใหญ่ไพศาล เต็มไปด้วยเหล่าสัตว์ป่านานาชนิด ทั้งกระทิง เก้ง กวาง และช้างป่า หากินกันอยู่เป็นฝูงๆ สัตว์เหล่านั้นไม่ได้ตกใจ หรือตื่นกลัวนายพรานเลย เพราะไม่เคยเห็นคนมาก่อน ส่วนนายพรานเองก็ไม่กล้าที่จะยิงสัตว์เหล่า นั้นเพราะเชื่อว่า ภูเขายอดตัดที่เห็นนั้นเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ จึงได้กลับลงมาและบอกเล่าเรื่องราวที่ได้ไปพบเจอมาให้เพื่อนบ้านฟัง เรื่องราวจึงถูกเปิดเผยตั้งแต่นั้นมาสมัยที่ภูเขาลูกนี้ยังไม่มีชื่อ ก็มีตำนานเล่ามาว่า มีเสียงระฆังดังมาจากบนภูเขาชาวบ้านเรียกหมู่บ้านนี้ว่า “หมู่บ้านผีบังบด” ซึ่งเป็นหมู่บ้านของมนุษย์จำพวกหนึ่งที่เราไม่สามารถจะเห็นตัวของเขาได้ เมื่อเข้าใกล้หมู่บ้าน ทั้งหมู่บ้านก็จะเปลี่ยนสภาพกลายเป็นป่าทันที และทุกวันพระจะมีเสียงกระดิ่ง กระดึง หรือบางคนได้ยินเป็นเสียงระฆังบ้าง จนกล่าวกันว่า เป็นเสียงของ พระอินทร์ทำพิธีกรรม จนชาวบ้านกล่าวเป็นชื่อเขานี้ว่า “ภูกระดิ่ง” ต่อมาเรียกและเพี้ยนมาเป็น “ภูกระดึง” จนถึงปัจจุบัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: