ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 66 ที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมด้วย นางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดเลย นายภูริวัจน์ โชตินพรัตน์ นายอำเภอภูกระดึง นายปรเมศวร์ ยศปัญญา หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูกระดึง หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ – ภูกระแต นายก อบต.ห้วยส้ม อบต.ภูกระดึง ผู้นำท้องถิ่น พร้อมกับชาวบ้านที่ได้ผลกระทบกว่า 30 ครอบครัว ร่วมประชุมการแก้ไขปัญหาช้างป่า ออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์มาหากินพืชผลทางการเกษตร
จากกรณี พื้นที่บ้านท่ายางหมู่ 10 ต.ภูกระดึง และในพื้นที่ ตำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้มีช้างป่าประมาณ 40-50 ตัว ได้ออกจากเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เข้ามาหากินในเขตของอำเภอภูกระดึง รอยต่อกับอำเภอภูหลวง มาอาศัยที่ภูค้อภูกระแตเป็นโขลงใหญ่ และลงมากินพืชผลการเกษตรของชาวบ้านที่ปลูกไว้ ไม่ว่าจะเป็นอ้อย ยางพารา ต้นไผ่เลี้ยง กล้วย มันสำปะหลัง เสียยับราบเป็นกลองร่วมกว่า 2,000 ไร่ สร้างความเดือดร้อนอย่างหนักและ เป็นที่หวาดผวาให้กับชาวบ้าน และช้างได้ขยายเพิ่มพื้นที่หากินออกมาเป็นกว้างมากขึ้น จนชาวบ้านไม่สามารถไปสวนเก็บเกี่ยวผลผลิต
ข่าวน่าสนใจ:
- พาณิชย์จังหวัดนครพนม ออกตรวจติดตามสถานการณ์การรับซื้อผลผลิตข้าวเปลือกนาปี
- ตม.สระแก้ว ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารกองกำลังป้องกันชายแดน จับกุมชาวจีน 2 ราย หลบหนีเข้าเมือง
- ชื่นชม! หญิงพบสร้อยทองคืนเจ้าของ อำเภอเตรียมประกาศเป็นบุคคลตัวอย่าง
- ท่องเที่ยวปลอดภัย ส่งทีมปฏิบัติด้านการแพทย์พร้อมเรือเร็ว เข้าประจำหมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน ดูแลนักท่องเที่ยวช่วงไฮซีซั่น
ในบรรยากาศการประชุม ชาวบ้านร่วมกว่า 30 ครอบครัว ได้สะท้อนปัญหาและความเดือดร้อนกับช้างป่า ทั้งพืชผลทางการเกษตรที่ปลูกไว้ ถูกช้างกัดกินและทำลายเสียหายทั้งหมด บางครอบครัวกู้เงิน ธกส.ต้องมาติดหนี้จนไม่เงินชดใช้ ต่างวิงวอนของทางรัฐช่วยในเรื่องการเงินชดเชย รวมทั้งวิธีความประเมินความเสียหายทั้งทรัพย์สินและพืชพรรณทางการเกษตร รวมทั้งเรียกร้องของให้รัฐช่วยเจรจากับธนาคาร ธกส.พักชำระหนี้ หรือลดค่าดอดเบี้ยกับผู้ได้รับผลกระทบ
ด้านนายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เผยว่า ช้างที่อำเภอภูกระดึง ที่ได้ออกจากเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ลงมาที่ ต.ห้วยส้ม และบ้านท่ายางที่เป็นหมู่บ้านได้รับผลกระทบอย่างหนัก ช้างป่าที่ลงมาก็มากินอ้อยกินกล้วยของชาวบ้านที่ปลูกไว้ พอกินก็ติดใจไม่กลับเข้าป่าไป ทำให้มีผลกระทบกับชาวบ้านกว่า 30 ครัวเรือน มีความเสียหายทั้งทรัพย์สินและพืชไร่ต่าง ๆ ในเบื้องต้นได้ให้นายอำเภอได้เข้าช่วยเหลือ และประสานเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าภูหลวง และหัวหน้าวิจัยช้างป่า ลงไปช่วยเหลือชาวบ้าน ขณะได้มีเจ้าหน้าที่ และอาสาได้พยายามช่วยกันผลักช้างเข้าไปในป่า และพยายามไม่ให้แตกเป็นฝูง และพยายามให้ชาวบ้านเข้าใจวิถีชีวิตของช้างป่าว่า ช้างเขาลงมาหากิน เราต้องมีวิธีการไล่ช้างถูกวิธีการ และทำความเข้าใจกับความสูญเสียทรัพย์สินต่าง ๆ พืชผลทางการเกษตร
ชาวบ้านรายหนึ่ง กล่าวในที่ประชุมการเรียกร้อง ขอค่าชดเชย ค่าอะไรต่าง ๆ รวมทั้งค่าช่วยเหลืออาสาสมัครระวังช้างที่ต้องพลัดเข้าเวรยามตลอด 24 ชม. ในการเฝ้าระวังช้าง โดยให้ทางจังหวัด นำไปเป็นบทสรุปและรวบรวมข้อเรียกร้องทั้งหมด เพื่อนำมาประชุมหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ในวันอังคารที่จะถึง เพื่อที่จะเร่งเแก้ไขปัญหา และหาวิธีที่จะช่วยเหลือชาวบ้านที่ได้ผลกระทบต่อไป
และในที่ประชุมนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พร้อมทั้งนายกเหล่ากาชาดจังหวัดเลย ได้มอบถุงเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 30 ชุด ให้กับราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อน กรณีช้างป่าลงมาทำลายพืชไร่ ทำลายทรัพย์สินของเกษตรกรได้รับความเสียหาย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: