ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายชูชัย ลุนวิรัตน์ อายุ 43 ปี ผู้ก่อตั้งกิจการ “คาแฟ่ ธรรมชาติ นาเรากว้าง” ซึ่งธุรกิจร้านอาหารที่มีจุดเด่นทิวทัศน์ท้องนาที่กว้างสุดลูกหูลูกตา เห็นท้องนา ภูเขา ในแบบ 360 องศา มีทำเลหรือที่ตั้งใกล้ตัวเมือง 4 กิโลเมตร และเป็นคนที่ตั้งใจ อยากจะกลับบ้านมาพัฒนาบ้านเกิด ให้มีแหล่งท่องเที่ยวที่มองเห็นบรรยากาศท้องทุ่งนาที่ตัวเองคุ้นเคย มาตั้งแต่เด็ก ที่จางหายไป โดยใช้สโลแกน “สุขใจ ที่ปลายนา”
ชูชัย หลังจบที่เพาะช่าง ไปทำงานและศึกษา สายงานกราฟฟิกและโฆษณาในกรุงเทพฯระยะหนึ่ง ก่อนกลับไปเป็นอาจารย์ในบ้านเกิด อาชีวะเลย ประมาณ 5 ปีที่แล้ว มันเหมือนอยากจะกลับมาสร้างอะไรที่บ้าน จังหวัดเลยให้ได้
จากนั้นจึงเริ่มต้นเก็บเงินสะสม ไล่ซื้อที่ดินแต่ละแปลงที่อยู่ติดกันๆกับของครอบครัว และญาติ ปู่ย่าตายาย เพื่อมาพัฒนาธุรกิจในระยะแรก คือ ร้านอาหารและเครื่องดื่ม วางตำแหน่งให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจที่อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเลย และต่อมามีการขยายและพัฒนาศักยภาพในด้านการท่องเที่ยว ของมุมต่างๆ ของจังหวัดเลยที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
ข่าวน่าสนใจ:
ชูชัย เล่าอีกว่า “ร้านนาเรากว้าง” มีพื้นที่ทั้งหมด 8 ไร่ พร้อมนำหลักการ “เกษตรทฤษฎีใหม่-เศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาล 9 และตัวแบบการจัดสรรพื้นที่ จัดทรัพยากรที่มีในพื้นที่ดินของตน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด” ณ วันนี้ มีการปลูกผัก สวนครัวต่างๆ นำมาใช้ในร้าน เพื่อลดต้นทุน และก่อนนี้ก็ได้มีโอกาส ไปฝึกอบรม และนำใช้จริงในโครงการนาเรากว้างจนวันนี้สามารถทำได้มากขึ้น ในพื้นที่ อาคารร้านอาหาร ที่ลานจอดรถ บ้านพักอาศัยของครอบครัว หรือของพนักงาน ก็ใช้พื้นที่ดินให้เป็นประโยชน์ มากที่สุด ปลูกพืชผักสวนครัว และ ขุดบ่อเลี้ยงปลา
ที่มาทำร้านนี้ ใช้เงินเก็บสะสมส่วนตัวก้อนหนึ่งและขอสินเชื่อจากธนาคารส่วนหนึ่งรวมกว่า 4 ล้านบาท นำมาเป็นงบลงทุนและเงินหมุนเวียนธุรกิจในช่วงแรกก็พออยู่ได้จนมา ถึงในปัจจุบัน “นาเรากว้าง” ดำเนินกิจการมาได้ราว 1 ปีกว่าๆ
ในร้าน มีการจัดวางรูปแบบเรื่องราวของชุมชน มีการนำวัฒนธรรมท้องถิ่นเมืองเลย มาตกแต่งภายในร้าน ทั้งการใช้วัสดุท้องถิ่นจริงๆ อย่างสังกะสี เครื่องจักสาน ฯลฯ มาประยุกต์ใช้กับงานสภาปัตยกรรม และยังโชคดีตรงที่ ชูชัย เรียนมาในสายศิลปกรรม จึงได้ใช้ฝีมือการวาดรูปมาร่วมเพนท์ตกแต่งภายในร้านด้วยตัวเอง ตามห้อง ระเบียงต่างๆ ทั้งนอกและในร้าน
สำหรับเมนูขึ้นชื่อ ของร้านนาเรากว้าง อย่าง “ปลาห่มฟาง” ที่ได้วัตถุดิบ ปลานิล ปลาตะเพียน ที่เลี้ยงไว้ในบ่อ รวมไปถึงการรับซื้อสินค้าเกษตร เช่น ข้าวสาร ผัก ผลไม้ จากชาวนา ชาวไร่ และชาวบ้านที่อยู่ค้างเคียงโดยรอบนำมาปรุง จนเป็นที่ติดอกติดใจของลูกค้า
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: