ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ หน้าที่ว่าการอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ได้เปิดงานประเพณีสักการะพระพุทธเมตตา บูชาเจ้าปู่ภูกระดึง ประจำปี 2562 หรือ “คีตกาลแห่งขุนเขา สืบสานตำนานภูกระดึง” โดยมีนายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย เป็นประธาน เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึง ร. 9 ครั้งเสด็จประพาสขึ้นภูกระดึง พร้อมกับจำลองตำนานอำเภอภูกระดึง เป็นที่สถิตของรุกขเทวดา ชาวบ้าน 54 หมู่บ้าน มีขบวนแห่ของนางฟ้า เทวดา และนางรำกว่า 800 คน อย่างยิ่งใหญ่อลังการ
นายภูริวัจน์ โชตินพรัตน์ นายอำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย เปิดเผยว่า อำเภอภูกระดึง ได้จัดงานประเพณี “สักการะพระพุทธเมตตา บูชาเจ้าปู่ภูกระดึง” ประจำปี 2562 หรือ “คีตกาลแห่งขุนเขา สืบสานตำนานภูกระดึง” ทั้งนี้จากตำนานอำเภอภูกระดึง เป็นเมืองที่อยู่รุกขเทวดา บนภูกระดึงมีสระอโนดาต เป็นป่าหิมพาต์ จึงได้จำลองคนทั้งอำเภอที่มี 54 หมู่บ้าน ล้วนแต่งตัวเป็นนางฟ้าเทวดา พร้อมขบวนแห่ของรุกขเทวดาชั้นต่างๆในสรรค์ และที่สำคัญเพื่อเป็นการน้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในรัชกาลที่ 9
ข่าวน่าสนใจ:
- อำเภองาวเตรียมจัดงาน “มหกรรมชาติพันธุ์จังหวัดลำปาง”
- ขอนแก่น พร้อมจัด " Khonkaen Countdown 2025 Rise Beyond" ขอนแก่น พุ่งทะยานสู่อนาคต อย่างยิ่งใหญ่ คาดเงินสะพัด 50 ล้านบาท
- ทนายเกรียง พา สาวนักแข่งรถจักรยานยนต์ทีมชาติไทย แจ้งความดำเนินคดีกับนายกสมาคม ข้อหาหมิ่นประมาท และ พรบ.คอม
- ป้า 70 ยังยึดวิถีเดิม หุงข้าวเช็ดน้ำแบบโบราณ กลิ่นหอมอร่อยกว่าหุงหม้อไฟฟ้า
ที่ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในพื้นที่จังหวัดเลย เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2498 โดยประทับเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่ง จากจังหวัดขอนแก่น เสด็จฯ ไปยังหลังแป อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้ประทับช้างเพื่อทอดพระเนตรทัศนียภาพบนยอดภูกระดึง ทั้งที่เป็นทุ่งหญ้าและธารน้ำตก ทั้งสองพระองค์ยังได้ทรงปลูกต้นสนสามใบ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่สถานที่และเป็นอนุสรณ์ในการเสด็จฯ บนภูกระดึง ซึ่งต่อมาได้พระราชทาน “ต้นสนสามใบ” ให้เป็นต้นไม้ประจำจังหวัดเลย ซึ่งก่อนเสด็จพระราชดำเนินกลับ ทั้งสองพระองค์ทรงจุดธูปเทียนนมัสการพระพุทธรูปบนยอดภูกระดึง
และต่อมาในปี พ.ศ. 2526 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ให้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระ และบริเวณรอบ ๆ ด้วยหินอ่อน พร้อมทั้งพระราชทานพระนามพระพุทธรูปนี้ว่า “พระพุทธเมตตา” บนยอดภูกระดึง
ชาวภูกระดึง ทั้งภาครัฐ และเอกชน จึงได้ร่วมมือร่วมใจจัดงานประเพณีนี้ขึ้น โดยจะมีขบวนแห่ของแต่ละตำบล และนางรำของหมู่บ้านต่างๆ ร่วมใจออกมาแสดง พร้อมกับตกแต่งถนนทางเข้าอำเภอภูกระดึงต่างประดับธง หรือตุง มาประดับบนถนนทั้งสองข้างทางตั้งแต่หน้าที่ว่าการอำเภอภูกระดึง ไปจนกระทั่งถึงบริเวณอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ศิลปะ วัฒนธรรมประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้พี่น้องประชาชน เด็ก และเยาวชนได้ร่วมกันสืบทอดประวัติศาสตร์ รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของอำเภอภูกระดึง ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวและบุคคลทั่วไปอย่างกว้างขวางต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: