อัยการสูงสุดร่วมกับประธานศาลฎีกา นำพุทธศาสนิกชนทอดกฐินสามัคคีวัดพระนางสร้าง จ.ภูเก็ต ยอดเงินทำบุญรวม 5 ล้านบาท
วันที่ 10 พฤศจิกายน 2562 ที่วัดพระนางสร้าง อ.ถลาง จ.ภูเก็ต นายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด เป็นประธานองค์กฐิน ในงานทอดกฐินสามัคคี ประจำปี 2562 โดยมีนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา เป็นประธานคณะที่ปรึกษา พร้อมด้วย นายทวีศักดิ์ ทองภักดี ประธานศาลอุทธรณ์ภาค 8 นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายจำเริญ ทิพยพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายบำรุง ปิยนามวาณิช นายก อบจ.พังงา นายรวยชัย กิตติพรหมวงศ์ นายกสมาคมกีฬาแห่งจังหวัดพังงา หัวหน้าส่วนราชการ ร่วมกันถวายผ้าพระกฐิน เเละองค์กฐินให้เเก่พระสงฆ์ที่จำพรรษา และมีพุทธศาสนิกชน เดินทางมาร่วมทำบุญ และร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคี เพื่อสืบทอดประเพณี ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา กันจำนวนมาก ซึ่งมียอดเงินทำบุญรวมทั้งหมดถึง 5,000,000 บาท
วัดพระนางสร้าง เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นเมื่อต้นปี พ.ศ.2301 ตั้งแต่ในสมัยภูเก็ตเป็นเมืองถลาง ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ได้ใช้วัดพระนางสร้าง เป็นสถานที่ตั้งค่ายระดมพลเข้าต่อสู้กับพม่า จนสามารถรักษาเมืองถลางไว้ได้ ต่อมาสิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ พระพุทธรูป ที่อยู่คู่วัดมาตั้งแต่สร้างวัด ได้ชำรุดผุพังไปตามกาลเวลา จึงเป็นโอกาสอันเหมาะสมที่ควรได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ทางคณะเจ้าภาพ จึงได้มีจิตศรัทธา พร้อมกับเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสามัคคีในกาลนี้ ขณะเดียวกันทางวัดฯ ได้ร่วมกับพุทธศาสนิกชน ตั้งโรงทานแจกจ่ายอาหาร ขนม น้ำดื่ม สำหรับผู้ที่มาเข้าร่วมงานบุญ ทอดกฐินสามัคคี ในครั้งนี้ด้วย
ข่าวน่าสนใจ:
- นราธิวาส-สุดทน! พ่อค้าแม่ค้าร้อง ส.ส.นำเรื่องเข้าสภาฯ หลัง "บอสตลาดเก็นติ้ง" จัดหนัก! ปรับราคาเช่า-ต่อสัญญาสูงลิ่ว
- ททท. จัดงานใหญ่ "วิจิตรเจ้าพระยา 2024" สวยงามตระการตา กระตุ้นการท่องเที่ยวส่งท้ายปีนี้
- สลด! พบซากพะยูนถูกตัดหัว ลอยอืดใกล้ท่าเทียบเรือบางโรง จนท.เร่งหาสาเหตุ
- รมว.ท่องเที่ยว ชวนลอยกระทง "สีสันแห่งสายน้ำฯ" สร้างสรรค์และใส่ใจสิ่งแวดล้อม
สำหรับประเพณีทอดกฐินเป็นประเพณีที่ สืบทอดและปฏิบัติกันมาแต่โบราณกาล ซึ่งตามพระวินัยกำหนดไว้ คือ 1 เดือน หลังจากออกพรรษาแล้ว คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ประเพณีการทอดกฐิน เป็นการบำเพ็ญกุศลอีกอย่างหนึ่งของพุทธศาสนิกชน ซึ่งนิยมปฏิบัติกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ พุทธบัญญัติทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือนแล้ว สามารถรับผ้ากฐินได้ การทอดกฐิน จึงเป็นการบำเพ็ญกุศลที่ได้บุญมากทั้งผู้ให้และพระภิกษุสงฆ์ ผู้รับกฐิน กฐิน ถือเป็นทานพิเศษ จัดเป็นกาลทาน คือทานที่มีระยะเวลากำหนด เนื่องจากการทอดกฐินนั้น 1 ปี กระทำได้เพียงระยะเวลา 1 เดือนเท่านั้น โดยแต่ละวัดจะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น ในรอบ 1 ปี พุทธศาสนิกชนจึงร่วมกันทอดกฐินสามัคคี เพื่อร่วมอนุรักษ์สืบสานและส่งเสริมประเพณีอันดีงามให้คงอยู่สืบไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: