พังงา-นักท่องเที่ยวถูกปลาฉลามกัดขาแผลเหวอะที่หาดนางทอง นักวิชาการระบุเป็นปลาฉลามหัวบาตร
วันที่ 13 ม.ค.63 ว่าที่ร้อยเอกพงศ์ศักดิ์ เวทยาวงศ์ นอภ.ตะกั่วป่า เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการแชร์ภาพนักท่องเที่ยวโดนปลาขนาดใหญ่กัดบริเวณขาจนเกิดแผลเหวอะหวะ ก่อนจะนำตัวส่งโรงพยาบาลนั้น พบว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 12 มกราคม 2562 ซึ่งนางสาวจิตติมา คงพันธ์ ผู้ใหญ่บ้าน ม.7 ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ได้รายงานเหตุการณ์มีนักท่องเที่ยวชายชาวเยอรมันลงเล่นน้ำในทะเล บริเวณหาดนางทอง ก่อนจะโดนปลาขนาดใหญ่ไม่ทราบชนิดกัดบริเวณขาขวา มีแผลฉีกขาด และรอยฟันขนาดใหญ่ ก่อนนำตัวส่งทำความสะอาดแผลที่ศูนย์การแพทย์เขาหลัก และส่งต่อไปรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่ จ.ภูเก็ต ตนเองจึงประสานให้ ประมงอำเภอ ร่วมกับ ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจังหวัดพังงา (TAC : Tourist Assistance Center) เข้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
เบื้องต้นพบว่า ผู้ประสบเหตุเป็น ชายชาวเยอรมันชื่อ Mr.Malten Hans-Peter อายุ 75 ปี โดยขณะลงเล่นน้ำกับภรรยา ซึ่งห่างจากฝั่งประมาณ 6 -7 เมตร ได้มีปลาขนาดใหญ่ไม่ทราบชนิดพุ่งเข้ากัดบริเวณขาขวาจนฉีกขาด เป็นแผลยาวประมาณ 20 ซม. ซึ่งขณะนี้ นักท่องเที่ยวคนดังกล่าวอยู่ระหว่างพักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนของจังหวัดภูเก็ต โดยมีพยาบาลคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ทีมแพทย์ระบุผลว่า เส้นเอ็นบริเวณขาขวาฉีกขาด ได้ประสานและเย็บแผลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้นักท่องเที่ยวอาการดีขึ้นมาก หากแผลไม่อักเสบ แพทย์จะอนุญาตให้กลับได้ ส่วนบรรยากาศการท่องเที่ยวยังเป็นไปโดยเหมือนทุกวัน นักท่องเที่ยวยังลงเล่นน้ำที่ชายหาดกันอย่างปกติ
ข่าวน่าสนใจ:
- สอ.สามัญศึกษาเพชรบูรณ์ประชุมใหญ่ โชว์กำไร 52 ล้าน พร้อมเลือกตั้งกรรมการและผู้ตรวจสอบกิจการ
- ปป.แม่สายทานมูมมามจนลืมตัว เรียกเก็บเงินแบบไม่อาย แต่ต่อรองราคาได้
- บุรีรัมย์ เตือนวัยรุ่นอย่าทำ ขับรถหวาดเสียว ยกล้อโชว์ จับส่งศาล ศาลพิพากษาสั่งปรับและจำคุก
- คู่แข่งนอกสายตานายก ก้อย “พนธ์ มรุชพงษ์สาธร” ขอวัดดีกรีว่าที่นายก อบจ.แปดริ้ว
ขณะที่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีฝ่ายกิจการพิเศษและประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความโดยระบุว่า เหตุการณ์ฉลามกัดในไทยเกิดนานๆ ครั้ง เช่น ที่ภูเก็ต (ปี 60) ที่เกาะเต่า (ปี 61) เกือบทุกครั้งถูกกัดที่ขาแต่ไม่สาหัส ฉลามที่กัดอาจเป็นฉลามหัวบาตร เพราะฉลามหูดำน่าจะเป็นรอยเล็กกว่านี้ และไม่ค่อยโจมตีสัตว์ใหญ่กว่าฉลามจู่โจมอาจด้วยความเข้าใจผิด เพราะชายฝั่งน้ำขุ่น พอเห็นวูบก็นึกว่าเป็นเหยื่อ แต่เมื่อกัดแล้วรู้ว่าไม่ใช่ก็เลยหนีไป
สำหรับฉลามหัวบาตรอาจพบได้ตามชายฝั่งทั้งอ่าวไทยและอันดามัน แต่ไม่บ่อยนัก ไม่มีผู้ถูกฉลามจู่โจมจนเสียชีวิตอย่างเป็นทางการในทะเลไทยมากกว่า 50 ปีแล้ว ที่ผ่านมาในประเทศไทย ฉลามไม่เคยโจมตีรายอื่นซ้ำที่เดิม ส่วนคำแนะนำคือไม่ต้องกังวลมาก ไม่ต้องทำข่ายกั้น ฯลฯ แต่ระวังไว้นิดหากต้องลงน้ำตอนเช้าตรู่หรือตอนค่ำ/กลางคืน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: