พังงา-กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นำข้าวสารแลกอาหารทะเลแปรรูป ร่วมเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนหลังสถานการณ์โควิด-19
ผอ. สทบ. ลงพื้นที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน ส่งเสริมเสริมการท่องเที่ยวชุมชนโดยกองทุนหมู่บ้าน และซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าอุปโภคบริโภคระหว่างสมาชิกกองทุน เพื่อลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน
เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ที่กองทุนหมู่บ้าน ม.9 บ้านนากลาง ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ ผอ.สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) นำคณะลงพื้นที่เพื่อพบปะสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน และมอบแนวทางการดำเนินงานโครงการการเพิ่มรายได้สมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ด้วยการท่องเที่ยวโดยชุมชน พร้อมเปิดอาคารศูนย์ประสานงานท่องเที่ยววิถีชุมชน เครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลโคกกลอย โดยมีนายบัญชา ธนูอินทร์ นายอำเภอตะกั่วทุ่ง พร้อมด้วยนายสมบัติ ยกเชื้อ ประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านตำบลโคกกลอย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้นำชุมชน และตัวแทนเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านร่วมต้อนรับ พร้อมกันนี้ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน โดยประธานเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านระดับอำเภอในจังหวัดอำนาจเจริญ ได้นำข้าวสาร จำนวน 9,500 กิโลกรัม ในส่วนของจังหวัดนครนายก โดยรองประธานเครือข่ายระดับอำเภอ ได้นำข้าวสาร 250 กิโลกรัม นำมาแลกเปลี่ยนอาหารทะเลแปรรูป และผลิตภัณฑ์จากสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน 11 จังหวัดของภาคใต้ และร่วมเยี่ยมชมโครงการท่องเที่ยวชุมชนตำบลโคกกลอย และโครงการนากลางสมาร์ทฟาร์ม
นายรักษ์พงษ์ เซ่งเจริญ กล่าวว่า นโยบาย “การฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย หลัง COVID-19” ของรัฐบาล เน้นทุ่มเทการฟื้นฟูพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ หลังจากมีคนไทยหลายล้านคน ย้ายกลับไปอยู่ในต่างจังหวัดช่วงที่ตกงานเพราะไวรัสโควิด-19 จากนี้เครื่องมือทุกอย่าง นโยบายทุกด้าน จะมุ่งเน้นไปสู่ชุมชนอย่างเต็มที่ การท่องเที่ยวชุมชนโดยกองทุนหมู่บ้านเป็นหนึ่งในโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ เพื่อสร้างรายได้ให้กับกองทุนหมู่บ้านและสมาชิก และเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับกองทุนฯต่างๆ จากทั่วประเทศ ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาดูแลงานเพื่อกลับไปพัฒนาชุมชนของตนเอง”
สำหรับโครงการนากลางสมาร์ทฟาร์มของกองทุนหมู่บ้านนากลาง นับเป็นต้นแบบของการจัดการกองทุนหมู่บ้านได้เป็นอย่างดี โดยมีการจำหน่ายและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ทำโรงเรือนระบบปิดปลูกเมล่อน พืชผักสลัด มะเขือเทศ และจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรจำหน่ายในร้านค้าของกองทุนหมู่บ้านเป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้แก่สมาชิกกองทุน และเป็นแหล่งท่องเที่ยว ศึกษา ดูงาน ให้แก่ผู้ที่สนใจ ทั้งยังสามารถแก้ไขปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ เพิ่มมูลค่าในผลผลิตทางการเกษตร เป็นศูนย์จำหน่ายและแปรรูปสินค้าทางการเกษตรของสมาชิกอย่างยั่งยืนโดยผู้สนใจสินค้าสามารถเข้าถึงโดยง่ายผ่านหลายช่องทาง เช่น Facebook หรือ Line ในการติดต่อสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่พร้อมที่จะให้บริการลูกค้าอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว และยังได้พัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้ชุมชนอีกด้วย นอกจากนี้เมื่อวานนี้(3 สิงหาคม) ได้นำคณะลงพื้นที่กองทุนหมู่บ้านในไร่ ม.7 ตำบลนาเตย อำเภอท้ายเหมือง จ.พังงา อีกจุดหนึ่งด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: