พังงา-ในหลวงพระราชทานอภัยโทษผู้ต้องขัง 132 คน ได้กลับบ้านฉลองปีใหม่กับครอบครัว
วันที่ 4 มกราคม 2564 ที่เรือนจำจังหวัดพังงา พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายบุญเติม เรณุมาศ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาเป็นผู้แทนพระองค์ทำพิธีปิดการฝึกอบรมโครงการพระราชทาน โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวังรุ่นที่ 2/1 กรมราชทัณฑ์ พร้อมมอบประกาศนียบัตร และให้โอวาท แก่ผู้ต้องขังที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษ 190 คน เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ต้องราชทัณฑ์ได้ปรับเปลี่ยนแนวความคิด ฝึกวินัย ฝึกการแก้ปัญหา ลงมือปฏิบัติ นำความรู้ความสามารถไปดำเนินชีวิตและประกอบอาชีพการงานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ได้ทรงพระราชทานไว้ในภูมิลำเนาของตนเองภายหลังพ้นโทษ และช่วยกันถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมในครั้งนี้ให้แก่ประชาชนเพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ร่วมพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาได้นำผู้ต้องขังชุดแรก ที่ได้รับการปล่อยตัวในวันนี้รวม 132 คน เดินออกจากเรือนจำส่งมอบต่อให้กับครอบครัวที่มารอรับอยู่ด้านหน้า โดยทั้งหมดร่วมกันสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี บรรยากาศเต็มไปด้วยน้ำตาและรอยยิ้มของผู้พ้นโทษและครอบครัวจะได้ร่วมฉลองปีใหม่ด้วยกัน
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านผวา พบเสือ 3 แม่ลูก ป้วนเปี้ยนในป่า 100 ไร่ใกล้ฟาร์มเลี้ยงวัว ไม่กล้าเกี่ยวข้าว-กรีดยาง วอนบุกพิสูจน์
- พ่อค้ายาเกมส์ ซุกยาบ้าในกล่องนมมิดชิด รอส่งพ่อค้ารายย่อย ไม่รู้ตร.ซุ่มกวาดล้าง ถูกรวบพร้อมของกลาง 70 เม็ด
- กระบะซิ่งหนีสายตรวจ แหกโค้งพุ่งลงคูน้ำดับ ยกคัน 7 ศพ พบเป็นแรงงานต่างด้าว หลายราย
- ขอนแก่นจัดงานแถลงข่าว เทศกาลสุดออนซอนแห่งปี! “PlaraMorlum” Isan to the World ระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2567 ณ ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์
นายอาคม ภูศรี ผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดพังงา กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยในความเป็นอยู่ของพสกนิกรของพระองค์ทุกหมู่เหล่ารวมถึงผู้ต้องราชทัณฑ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานให้มีการฝึกโครงการพระราชทาน “โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง” กรมราชทัณฑ์ขึ้น โดยเรือนจังหวัดพังงาได้นำผู้ต้องขังเข้าทำการฝึกอบรมตามหลักของเกษตรทฤษฎีใหม่แบบชาวบ้านในพื้นที่จริงขนาด 100 ตารางเมตร ด้วยการปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา เพื่อสร้างพื้นที่ขนาดเล็กที่สามารถเป็นต้นแบบเกษตรแบบผสมผสาน
ด้วยการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่การวางแผนบนกระดาษเป็นสัดส่วน จากนั้นทำการลงมือปฏิบัติจริงในพื้นที่ตามภูมิสังคม จำลองพื้นที่และปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง เพื่อพอกิน พออยู่ พอใช้ และพอร่มเย็น สืบสาน รักษาและต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของในหลวงรัชกาลที่ 9 หลังจากนี้ผู้ต้องขังที่พ้นโทษจะสามารถพึ่งพาตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ พัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น จะได้ช่วยกันพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: