พังงา-ททท.จัดกิจกรรมทดสอบเส้นทางส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ How to be Hero Traveler Zero Carbon
วันที่ 21 สิงหาคม 2565 นายเถลิงศักดิ์ นุชประหาร รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา พร้อมด้วยนายอะหมาน หมัดอะดัม ผอ.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพังงา นายเลิศศักดิ์ ปนกลิ่น นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดพังงา ร่วมต้อนรับคณะกิจกรรมทดสอบเส้นทาง ส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) How to be “Hero Traveler Zero Carbon” เส้นทาง เชื่อมโยงจังหวัดพังงาและภูเก็ต ที่ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) หรือ อบก. และสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) นำคณะสื่อมวลชน Influencer และบริษัทนำ เที่ยวชั้นนำ เดินทางและร่วมทำกิจกรรมทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยว เพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ไทยตามแนวนโยบาย BCG นำไปสู่การท่องเที่ยวที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์อย่างยั่งยืน
นางสาวยุพา ปานรอด ผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยว ททท. กล่าวว่า ททท. ได้ดำเนินการภายใต้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ และการพัฒนาศักยภาพเสริมสร้างองค์ ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้ร่วมกับสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย (สทอ.) ออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำจำนวนกว่า 20 เส้นทางทั่วประเทศ และขับเคลื่อนตามแนวนโยบาย BCG Model ใช้ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างคุ้มค่าเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยรูปแบบการเดินทางท่องเที่ยวที่ ปลอดภัยต่อสุขภาพและบริการที่มีคุณภาพ รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพสินค้าและบริการด้วยการ นำความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม พัฒนาต่อยอดเพื่อสร้างรายได้บนพื้นฐานของการรักษาสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมผลักดันการท่องเที่ยวสู่ความยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของ องค์การสหประชาชาติ จึงนับเป็นโอกาสที่ดีในการนำคณะผู้แทนจาก อบก. สื่อมวลชน Influencer และบริษัทนำเที่ยว เดินทางร่วมทำกิจกรรมและทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำเชื่อมโยงจังหวัดพังงาและภูเก็ต ซึ่งเป็นเส้นทางท่องเที่ยวแบบ Meaningful Travel ที่มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรอย่างเต็มเปี่ยม และนักท่องเที่ยวยังได้ สัมผัสเสน่ห์ของพื้นที่ผ่านกิจกรรมการผจญภัยเชิงอนุรักษ์ ที่สนุก ตื่นเต้น ท้าทาย และได้ประสบการณ์ใหม่ๆ อีกทั้งยังเป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยคาร์บอน และชดเชยค่าคาร์บอนที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวจนมีค่าคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์อย่างยั่งยืน (Carbon Neutral) การทำกิจกรรมท่องเที่ยวทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับอบก.และสทอ.เพื่อพัฒ นาศักยภาพเสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) อย่างเป็นรูปธรรม
นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ อบก. กล่าวว่า อบก. ขับเคลื่อนการลดก๊าซเรือนกระจกให้ ประเทศไทยมุ่งสู่เศรษฐกิจสังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) โดยนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (SIT) มาประยุกต์ใช้ เพื่อลดปัญหามลภาวะในอากาศและลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน และมีเป้าหมายสำคัญให้การ ท่องเที่ยวเป็นส่วนหนึ่งของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ไม่น้อยกว่า 50 ล้านตัน ซึ่งปัญหาภาวะโลกร้อนและ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน เป็นผลจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการดำเนิน ชีวิตประจำวัน และกิจกรรมต่างๆ ทางสังคมของมนุษย์ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีส่วนทำให้เกิดการปล่อย ก๊าซเรือนกระจกถึงร้อยละ 8 ดังนั้น ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจึงควรตระหนักและร่วมกันจัดการกับปัญหา ดังกล่าว และร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกไปพร้อมกับการประกอบกิจการท่องเที่ยวควบคู่กันไปได้ ทั้งนี้ ในการเดินทางและร่วมทำกิจกรรมทดสอบเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำในครั้งนี้ ทาง อบก. จะนำค่าคำนวน จากการจัดกิจกรรมในเส้นทางเพื่อไปซื้อคาร์บอนเครดิตจากตลาดคาร์บอน เพื่อรับรองกิจกรรมเส้นทางท่องเที่ยว เส้นทางเชื่อมโยงจังหวัดภูเก็ตและพังงา เป็นเส้นทางท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
สำหรับการจัดกิจกรรมทดสอบเส้นทางส่งเสริมการท่องเที่ยวคาร์บอนต่ำ How to be “Hero Traveler Zero Carbon” เชื่อมโยงจังหวัดพังงาและภูเก็ตในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในเส้นทางนำร่องการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำที่ ททท. ได้ออกแบบและสร้างสรรค์กิจกรรม อันประกอบด้วย การพายเรือคายัคคลองสังเน่ห์หรือ Little Amazon การเล่นกีฬาโต้คลื่น การปล่อยเต่าคืนสู่ท้องทะเล การเดินเที่ยวย่านเมืองเก่าตะกั่วป่า การศึกษาความสมบูรณ์และความหลากหลายทางชีวภาพโรงแรมเขาหลัก เมอร์ลิน รีสอร์ท ซึ่งเป็น Sustainable Hotel (เขาหลักเมอร์ลิน รีสอร์ท) และ Smart Energy Hotel 10 mins (พีชกรุ๊ป) และการทำสปาห่มทรายจากภูมิปัญญาชาวบ้านชุมชนไม้ขาว ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ลดค่าการเกิดคาร์บอนและนำไปชดเชยคาร์บอนเครดิต และเป็นส่วนหนึ่งในการ แก้ปัญหาโลกร้อนและก๊าซเรือนกระจก ภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change Conferences of the Parties : UNFCCC COP) และขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์อย่างยั่งยืนภายในปี 2065
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: