พังงา-ธกส.พังงาเดินหน้าทำบันทึกข้อตกลงการซื้อขายมังคุดทิพย์พังงาล่วงหน้าฤดูผลิตปี 2567
เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2566 ที่สวนดุสิตสวนมังคุดแปลงใหญ่ ต.ทุ่งมะพร้าว อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา นายเอกรัฐ หลีเส็น ผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เป็นประธานการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกันในการซื้อขายมังคุดทิพย์พังงา ฤดูกาลผลิต ปี 2567 ระหว่าง สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.พังงา จำกัด (ส.ก.ต.) กับ สวนดุสิต โดยนายดุสิต มายะการ และสหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส.พังงา จำกัด (ส.ก.ต.) กับ บริษัท สุชาตินคร โกลเบิล ฟรุ๊ต จำกัด โดยมีนายศิวัชฐ์ ระวังกุล นายอำเภอท้ายเหมือง นายรวยชัย กิตติพรหมวงศ์ กรรมการหอการค้าจังหวัดพังงา หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกลุ่มเกษตรกร และผู้บริหาร ธกส. เข้าร่วม
นายพรรษิษฐ์ ช่วยพิชัย ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัด กล่าวว่า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้มีนโยบายมุ่งพัฒนาศักยภาพองค์กรและชุมชนแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากสนับสนุนตลอดห่วงโซ่มูลค่าสินค้าและสนับสนุนสินเชื่อ “นวัตกรรมดี มีเงินทุน” อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ในการพัฒนาระบบน้ำเพื่อพัฒนาคุณภาพและเพิ่มผลผลิต มีการสนับสนุนความรู้ด้านวิชาการร่วมกับภาคีเครือข่าย ได้แก่ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพังงา สำนักงานเกษตรจังหวัดพังงา สำนักงานสหกรณ์จังหวัดพังงา สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพังงา ไปรษณีย์จังหวัดพังงา เพื่อให้สามารถยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตเกษตรกรอย่างยั่งยืน โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้เป็นการจัดหาตลาดล่วงหน้า ในฤดูกาลปี 2567 ให้กับพี่น้องเกษตรกรลูกค้าในจังหวัดพังงา ด้วยการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันในการจัดหาตลาดรองรับล่วงหน้า ผ่านกระบวนการรวบรวมสินค้า ส.ก.ต. ทั้งตลาดภายในประเทศและผู้ประกอบการส่งออกผลผลิตมังคุดทำบันทึกการซื้อขายสินค้าร่วมกัน
ข่าวน่าสนใจ:
- ปิดตำนานนักเขียน "ตรี อภิรุม" ศิลปินแห่งชาติฯ เจ้าของผลงาน "นาคี"
- มุกดาหาร-เชิญชวนร่วมกิจกรรมเดินวิ่ง "แคแสดรัน ครั้งที่ 2" ณ สะพานมิตรภาพไทย- ลาวแห่งที่ 2
- พิธีมอบกรรมสิทธิ์และไถ่ชีวิตโค-กระบือ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
นายเจน สุวรรณกิจ ประธานกรรมการ ส.ก.ต.พังงา เปิดเผยว่า ในปีนี้ ทางสกต.พังงาได้ดำเนินการรวบรวมผลผลิต จากเกษตรกรผู้ปลูกมังคุด เป็นจำนวน 85,738 กิโลกรัม มูลค่าการรวบรวม 2,133,895 บาท สามารถช่วยพยุงและแทรกแซงไม่ให้ราคาผลผลิตตกต่ำ เกษตรกรไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลาง ในมูลค่าประมาณ 1,286,000 บาท ทำให้เกษตรกรมีขวัญและกำลังใจในการพัฒนาคุณภาพที่ดีขึ้นทุกปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: