พังงา-ตำรวจภาค 8 สั่งเตรียมพร้อมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและวิเคราะห์สถานการณ์ภัยธรรมชาติในพื้นที่
เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2567 พล.ต.ท.สุรพงษ์ ถนอมจิตร ผู้บัญชาการตำรวจภาค 8 สั่งการให้ พล.ต.ต.วิมล พิทักษ์บูรพา รองผู้บัญชาการตำรวจภาค 8 ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยและวิเคราะห์ภารกิจตามสถานการณ์ในพื้นที่ ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสถานีตำรวจภูธรหลังสวน อ.หลังสวน จ.ชุมพร สืบเนื่องจากมีการแจ้งเตือน จากกองพยากรณ์อากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระหว่างวันที่ 9-15 ตุลาคม 2567 สภาวะอากาศฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน ให้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก และฝนที่ตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพนันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะที่ลาดเชิงเขา ใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม และการแจ้งเตือนจาก ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 10 ต.ค.2567 ในพื้นที่ จังหวัดชุมพร-สุราษฎร์ธานี -นครศรีธรรมราช-พังงา-กระบี่
โดยพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีพล.ต.ต.เสริมพันธุ์ สิริคง ผบก.ภ.จว.สุราษฎร์ธานี พ.ต.อ.สมบัติ ฉ่ำแสง รอง ผบก.ภ.จว.สุราษฎร์ธานี พ.ต.อ.นิพล ชาตรี ผกก.สภ.เมืองสุราษฎร์ธานี นำข้าราชการตำรวจ จำนวน 60 นาย พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่มูลนิธิกุศลศรัทธา จำนวน 15 นาย เข้ารับการตรวจความพร้อมพร้อมรับมอบอุปกรณ์ ขณะที่พื้นที่จังหวัดชุมพร มีพ.ต.อ.จิตเกษม สนขำ รอง ผบก.ฯ รรท. ผบก.ภ.จว.ชุมพร พ.ต.อ.นิรันดร์ กันจู รอง ผบก.ภ.จว.ชุมพร พ.ต.อ.ฉลาด พลนาการ ผกก.สภ.หลังสวน พ.ต.อ.มนต์ศักดิ์ ศรีสุวรรณ์ ผกก.สภ.พะโต๊ะ พ.ต.อ.วิษณุ สุระวดี ผกก.สภ.สวี นำข้าราชการตำรวจ จำนวน 95 นาย เข้ารับการตรวจความพร้อมพร้อมรับมอบอุปกรณ์
พล.ต.ต.วิมล พิทักษ์บูรพา กล่าวว่า ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจภาค8ได้ให้ความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นอุทกภัย วาตภัย หรือแผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม เมื่อมีการแจ้งเตือนเฝ้าระวังจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางผู้บัญชาการตำรวจภาค8จึงสั่งการให้ตำรวจภูธรทุกจังหวัด และสถานีตำรวจภูธรทุกสถานี ติดตามพยากรณ์อากาศ และการแจ้งเตือนสภาวะอากาศฝนฟ้าคะนองจาก กรมอุตุนิยมวิทยา และ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย อย่างใกล้ชิด เพื่อเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย แจ้งเตือนและตรวจสอบข้าราชการตำรวจในสังกัด ให้ขนย้ายทรัพย์สิน อุปกรณ์ สิ่งของจำเป็นของใช้ส่วนตัวและครอบครัว ให้อยู่ในสถานที่ปลอดภัย พร้อมปฏิบัติภารกิจ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ให้ผบก.ภ.จว.ฯ และ ผกก.สภ.ฯ กำหนด รอง ผบก.ภ.จว.ฯ และ รอง ผกก.สภ.ฯ แต่ละพื้นที่ ร่วมปฏิบัติและเข้าประชุมกับศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ วิเคราะห์ภารกิจตามสถานการณ์ ให้เป็นไปตามขีดความสามารถของกำลังพล ให้สอดคล้องกับยานพาหนะ อุปกรณ์ประจำกาย ที่สามารถให้การช่วยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยใช้พละกำลังมาก ควรสับเปลี่ยนกำลังพลบ่อยๆ ผู้บังคับบัญชา ร่วมการปฏิบัติอย่างใกล้ชิด สร้างขวัญและกำลังใจ
ข่าวน่าสนใจ:
กำหนดการแต่งกายของชุดปฏิบัติการฯ ขณะปฏิบัติภารกิจ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมถึงการอำนวยความสะดวกด้านการจราจรในพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย กำชับให้ซักซ้อม ตรวจสอบ การแต่งกายและความพร้อมของยานพาหนะและอุปกรณ์ ที่ต้องใช้ในภารกิจดังกล่าว การแสดงสัญลักษณ์ ปรากฎกาย เพื่อให้ประชาชนรับทราบการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ ในห้วงที่ประชาชนประสบอุทกภัย ป้ายหน่วยงานควรจัดทำด้วย future board หากจัดทำด้วยแผ่นไวนิลการติดตั้งต้องขึงตึง สามารถอ่านข้อความได้ ให้ร่างกรอบภารกิจพร้อมระยะเวลาการปฏิบัติของชุดปฏิบัติการฯ แจ้งให้ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่ และสื่อมวลชนในพื้นที่ได้รับทราบ และแต่ละ ภ.จว.ฯ ต้องมีชุดปฏิบัติการช่วยเหลือ พร้อมยานพาหนะ อุปกรณ์ ที่กำหนดไว้อย่างพร้อมเพรียง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: