X

แห่งแรกของประเทศไทย เปิดเกาะแห่งการเรียนรู้ สถานีทะเลศึกษาในอ่าวพังงา

พังงา – เปิดเกาะแห่งการเรียนรู้ สถานีทะเลศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยในอ่าวพังงา เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับท้องทะเล ภาตใต้ความคิด  “ถ้าคุณไม่รู้จักคุณจะรักได้อย่างไร คุณต้องรู้จักทะเล คุณจึงสามารถรักษาทะเลได้”

ที่เกาะละวะใหญ่ เขตอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา  ต.คลองเคียน อ.ตะกั่วทุ่ง นายสิทธิชัย ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมด้วย ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาและคณะ นำคณะครู-นักเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนคลองเคียนรัฐราษฎร์รังสรรค์ เข้าค่ายห้องเรียนธรรมชาติ ภายใต้ยุทธศาสตร์ อ่าวพังงาโมเดล อุทยานท่องเที่ยวชุมชน

เพื่อจะเป็นต้นแบบของอุทยานแห่งชาติ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนในท้องถิ่น ประกอบด้วย ลดอุบัติเหตุ บริหารความเสี่ยง เพิ่มมาตรการดูแลรักษาธรรมชาติ รวมถึงการยกระดับสู่สถานีทะเลศึกษาถาวรแห่งแรกของประเทศไทย เกาะแห่งการเรียนรู้แห่งแรกของประเทศไทย ขณะที่ทางจังหวัดพังงา โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพังงาต้องการให้มีการตั้งเครือข่ายชุมชนการเก็บขยะทะเล และการรักษาความสะอาดทางทะเล การขยายผลการเรียนรู้หวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ

ผศ.ดร.ธรณ์ กล่าวว่า ตามยุทธศาสตร์ชาติร่างขึ้นมาระบุว่าต้องมีสถานีทะเลศึกษาให้ครบทุกจังหวัดที่ติดชายฝั่งทะเลด้วยเหตุผลว่าประเทศไทยใช้ประโยชน์จากทะเลจำนวนมาก มีการท่องเที่ยวที่ใช้ประโยชน์หลักๆ มีปัญหาต่างๆที่เกี่ยวกับทรัพยากร ฉะนั้นคณะจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเห็นว่า คนที่อยู่ริมทะเลโดยเฉพาะเยาวชนมีโอกาสเรียนรู้จากทะเลโดยตรงจะเป็นประโยชน์อย่างมาก และเป็นส่วนหนึ่งในการปฏิรูปการศึกษาด้วย เพราะทำให้เกิดให้เยาวชนรวมถึงคุณครูได้ใช้ห้องเรียนธรรมชาติร่วมกัน

แต่สถานที่ทะเลศึกษาที่ประเทศไทยไม่เคยมีมาก่อน ต้องมีการวางแผนต้องมีการจัดการ เป้าหมายต้องชัดเจน จุดที่ตั้งต้องเหมาะสม ตนเองจึงเสาะหาสถานที่ดูพบว่า เกาะละวะใหญ่ ซึ่งอยู่ในอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงา เป็นจุดที่เหมาะสมที่สุดเท่าที่มีมา เกาะละวะอยู่ไม่ไกลจากร่องน้ำสารสิน มีทุกอย่างครบสมบูรณ์ อย่างแรกมีหาดทรายที่สมบูรณ์สวยงาม มีปะการังน้ำตื้น แหล่งหญ้าทะเลซึ่งมีการค้นพบพะยูนเป็นระยะ มีป่าชายหาดที่สวยงามมาก ป่าชายเลนนั่งเรือประมาณ 10 นาทีก็ถึง

เพราะฉะนั้นเกาะละวะมีครบทุกอย่าง ตามที่ระบบนิเวศทางทะเล ทางบกและตามที่เกาะควรจะมี นอกจากนี้เกาะละวะห่างจากชุมชนคลองเคียนเพียงแค่นั่งเรือหางยาวตรงข้ามไม่กี่นาทีเท่านั้นจึงเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน อ่าวพังงาเองจึงมีการใช้ประโยชน์จากชุมชนและการท่องเที่ยวประมาณหนึ่งพันคนต่อวัน เกิดการกระจายรายได้วันละไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท กระจายไปสู่หลายพันครอบครัว จึงได้เกิดเป็นอุทยานท่องเที่ยวชุมชน โครงการต่างๆที่เข้ามาจึงเป็นต้นแบบที่สามารถผลักดันให้อ่าวพังงาเป็นมรดกโลกในอนาคต โครงการต้นแบบไม่ว่าเป็นเรื่องของการกำจัดขยะทะเล ประชารัฐขจัดขยะทะเล อื่นๆอีกมากได้เริ่มต้นที่แห่งนี้ และได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง ทางอุทยานแห่งชาติอ่าวพังงาได้รับรางวัลหลายรางวัล

ซึ่งคราวนี้ต้องให้อุทยานเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน จึงได้จัดทำสถานีทะเลศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยขึ้นที่เกาะละวะ พร้อมตั้งชื่อว่า เกาะละวะใหญ่ “เกาะแห่งการเรียนรู้” โดยเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับ สถานีเกาะศึกษามีชายหาดที่สมบูรณ์ ป่าไม้ที่ชุ่มชื้น สถานที่ทะเลศึกษาดูแนวปะการัง สิ่งมีชีวิตต่างๆ และสถานีเรียนรู้ร่วมกัน จะมีนักท่องเที่ยวพายเรือแคนู จึงได้เรียนรู้ทั้งเกาะ ทะเล และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยดูจากของจริงที่เกิดขึ้น ในพื้นที่จริงที่อยู่ไม่ห่างจากบ้านของเยาวชนไม่กี่นาที และเป้าหมายสูงสุดไม่ใช่เพียงจัดทำค่าย เป้าหมายสูงสุดคือเป็นสถานีทะเลศึกษาอย่างถาวรเกาะแห่งการเรียนรู้ที่ทุกเสาร์-อาทิตย์ ทางอุทยานจะรับเยาวชนมาจากชุมชนต่างๆเดินทางพร้อมผู้ปกครองขึ้นบนเกาะเรียนรู้เป็นสนามเล่น นั่งเล่น โรงเรียนต้องการทัศนศึกษา สามารถเข้าแหล่งเรียนรู้ตามสถานที่จริงได้ทันที นอกจากชุมชนใกล้ๆ ในรัศมี 20 กิโลเมตรของเกาะละวะ กว้างไปถึงป่าตอง จ.ภูเก็ต ประชาชนในภูเก็ตมีจำนวนเรือนแสน นักเรียนมากมายมหาศาล ทั้งนักเรียนไทยและอินเตอร์

ดังนั้นเกาะละวะผ่านไปจากจุดแรกพัฒนาไปสู่ภูเก็ต ก็จะกลายเป็นเกาะแห่งการเรียนรู้ ซึ่งไม่ใช่เป็นเกาะท่องเที่ยวแตกต่างกันที่นี้คือเกาะแห่งการเรียนรู้ ไม่ได้ต้องการเป็นแหล่งท่องเที่ยว เป้าหมายหลักเกาะละวะเป็นห้องเรียนใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ต้องการให้เข้าไปอยู่ในหัวใจของชุมชนทุกชุมชนและผู้ประกอบการต่างๆมากมาย และนั่นคือเป้าหมายของการแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการท่องเที่ยวกับทรัพยากรทางทะเล ทั้งขยะทะเล น้ำเสียในทะเล คนคือตัวการใหญ่ ที่ออก กฎ ระเบียบ ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง ถ้าคนไม่ยอมรับ ไม่เข้าใจ ดังนั้นสถานที่แห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องการให้คนกับธรรมชาติกลืนเข้าด้วยกันสามารถอยู่ร่วมกัน เกาะแห่งการเรียนรู้คือเกาะที่เชื่อมต่อความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับท้องทะเล หัวใจสำคัญคือ “ ถ้าคุณไม่รู้จักคุณจะรักได้อย่างไร คุณต้องรู้จักทะเล คุณจึงสามารถรักษาทะเลได้ ”

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of อโนทัย งานดี

อโนทัย งานดี

นักข่าวตัวเล็กๆในเมืองแห่งความสุข