พังงา-มหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สร้างความเชื่อมั่นใช้บริการและผลิตภัณฑ์แพทย์แผนไทยพร้อมยกระดับมาตรฐานสู่สังคมโลก
มหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ภาคใต้ ครั้งที่ 10
พังงา-มหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ สร้างความเชื่อมั่นใช้บริการและผลิตภัณฑ์แพทย์แผนไทยพร้อมยกระดับมาตรฐานสู่สังคมโลก ที่อนุสรณ์สถานสึนามิ เรือ 813 อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 10 ภาคใต้ โดยมีนายชาญศักดิ์ ถวิล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายบำรุง ปิยนามวาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อสม. กลุ่มแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ใน 14 จังหวัดภาคใต้เข้าร่วม กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมนวดไทย 30 คู่ พิธีมอบเกียรติบัตร ให้แก่ หมอพื้นบ้านดีเด่นระดับจังหวัด 14 จังหวัด หมอไทยดีเด่นระดับเขต เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นด้านการแพทย์แผนไทยระดับเขต พื้นที่ต้นแบบดีเด่นระดับเขต มอบหม้อยาและธงให้กับเจ้าภาพครั้งต่อไปและการแสดงจากศิลปินชื่อดัง นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 10 ภาคใต้ ครั้งนี้เป็นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนให้ชุมชนสามารถผลิตพรีเมี่ยมโปรดักซ์ของแต่ละชุมชนขึ้นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพรขึ้นมาให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะตัวเลขส่งออกเป็นแสนล้านในปีต่อๆไป สำหรับความนิยมของประชาชนในเรื่องสมุนไพรพบว่าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและคู่ขนานกันกับแพทย์แผนปัจจุบัน ในโรงยาบาลเกือบทุกแห่งคนไข้สามารถเลือกรักษาแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนปัจจุบันก็ได้ ส่วนผลการรักษาอยู่ที่ตัวคนไข้เองว่าจะพึงพอใจ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าคนไข้พึงพอใจแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประหยัดเงินที่จะต้องซื้อยานำเข้าจากต่างประเทศโดยการผลิตยาสมุนไพรไทยได้ผลิตเอง สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายให้มากขึ้น สำหรับผู้ผลิตและค้าขายมีรายได้มากขึ้น ภาพรวมไทยลดการนำเข้ามากขึ้นเป็นการลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศในแต่ละปีมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันหากทำตามแผนที่วางไว้สามารถขายให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศติดไปได้ เช่นเดียวกับที่ชาวไทยไปต่างประเทศและซื้อกลับมาจำหน่ายในประเทศโดยพบว่าในพังงาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก ด้าน นพ.สรรพงษ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า สำหรับความมั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์แพทย์แผนไทยและการบริการแพทย์แผนไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้บริการตามมาตรฐานการให้บริการไม่ว่าในส่วนของแพทย์แผนไทยที่ขึ้นทะเบียนต้องผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพแพทย์แผนไทย ส่วนหมอพื้นบ้านเองที่ต้องให้บริการคนในชุมชนต้องขึ้นทะเบียนหมอพื้นบ้าน ซึ่งมีระเบียบข้อบังคับในเรื่องประสบการณ์ ตำรา และการให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า ส่วนมาตรฐานของสมุนไพรในหลักการจะใช้มาตรฐานของทาง องค์การอาหารและยา หรือ อย. ในการออกเลขทะเบียนมาตรฐานทั้งยาสมุนไพรทั้งยาโบราณ ส่วนการบริการของแพทย์แผนไทยใช้มาตรฐานของการดำเนินการอยู่ในทุกโรงพยาบาล ในอนาคตทางกรมแพทย์แผนไทยฯจะทำเรื่องมาตรฐานรับรองคุณภาพสถานบริการในการบริการแพทย์แผนไทย ซึ่งในปัจจุบันการบริการแพทย์แผนไทยมีในทุกโรงพยาบาลโดยดำเนินการควบคู่กัน บางส่วนเป็นคลินิกคู่ขนานบริการร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อสร้างมาตรฐานให้ประชาชนยอมรับให้ประชาชนรู้จัก เชื่อมั่น และชอบใช้ทั่งผลิตภัณฑ์แพทย์แผนไทยและบริการแพทย์แผนไทย ส่วนบทบาทของแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกคือการอนุรักษ์ภูมิปัญญาโดยเฉพาะ “ตำหรับยาแห่งชาติ” มีการพัฒนาโดยการขึ้นทะเบียนตำหรับยา ฉะนั้นที่เป็นยาก็จะมีการศึกษาค้นคว้า เพื่อจะผ่านผู้เชี่ยวชาญยอมรับ วิจัย ศึกษา เพื่อยอมรับเป็นตำหรับยาสมุนไพรแห่งชาติ ส่วนยาลูกกลอนหรือผลิตภัณฑ์ยาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดก็จะมีหน่วยงานเฝ้าระวังโดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อตรวจในเรื่องของความปลอดภัย ในการคุ้มครองผู้บริโภคและดูเลขทะเบียนยา ขออนุมัติถูกต้องหรือไม่ และมีการตรวจ วิเคราะห์ เพื่อดูสารปนเปื้อนเป็นวัตถุที่เป็นสารอันตรายที่ใช้กับประชาชนได้หรือไม่
ข่าวน่าสนใจ:
- เทศบาลเมืองเขลางค์นคร ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนดูแลพัฒนาศักยภาพกลุ่มผู้สูงวัย
- เด็กพังงาโชว์รำเคบายาฉลองมรดกโลก เปิดงานแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียน ครั้งที่ 72 นักเรียนมัธยม 3 จังหวัดฝั่งอันดามันเข้าร่วมกว่า 2,000 คน
- เทศบาลนครเชียงราย จัดงานสภากาแฟ ครั้งที่ 2 ท่ามกลางม่านหมอก ดอกไม้ สายน้ำ และขุนเขา
- อบจ.สุราษฎร์ ฯ พร้อมเป็นเจ้าภาพแข่งขันกีฬานักเรียน “อปท.”รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ “เมืองคนดีเกมส์”
โพสต์โดย Andaman focus อันดามัน โฟกัส เมื่อ วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน 2018
ที่อนุสรณ์สถานสึนามิ เรือ 813 อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 10 ภาคใต้ โดยมีนายชาญศักดิ์ ถวิล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา นายบำรุง ปิยนามวาณิช นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา ผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข อสม. กลุ่มแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ใน 14 จังหวัดภาคใต้เข้าร่วม กิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมนวดไทย 30 คู่ พิธีมอบเกียรติบัตร ให้แก่ หมอพื้นบ้านดีเด่นระดับจังหวัด 14 จังหวัด หมอไทยดีเด่นระดับเขต เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานดีเด่นด้านการแพทย์แผนไทยระดับเขต พื้นที่ต้นแบบดีเด่นระดับเขต มอบหม้อยาและธงให้กับเจ้าภาพครั้งต่อไปและการแสดงจากศิลปินชื่อดัง
นายแพทย์กิตติศักดิ์ กลับดี กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปีที่ 10 ภาคใต้ ครั้งนี้เป็นการสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนให้ชุมชนสามารถผลิตพรีเมี่ยมโปรดักซ์ของแต่ละชุมชนขึ้นมาโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ด้านสมุนไพรขึ้นมาให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น คาดว่าจะตัวเลขส่งออกเป็นแสนล้านในปีต่อๆไป สำหรับความนิยมของประชาชนในเรื่องสมุนไพรพบว่าได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆและคู่ขนานกันกับแพทย์แผนปัจจุบัน ในโรงยาบาลเกือบทุกแห่งคนไข้สามารถเลือกรักษาแพทย์แผนไทยหรือแพทย์แผนปัจจุบันก็ได้ ส่วนผลการรักษาอยู่ที่ตัวคนไข้เองว่าจะพึงพอใจ ซึ่งที่ผ่านมาพบว่าคนไข้พึงพอใจแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น ทำให้ประหยัดเงินที่จะต้องซื้อยานำเข้าจากต่างประเทศโดยการผลิตยาสมุนไพรไทยได้ผลิตเอง สนับสนุนให้เกษตรกรเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายให้มากขึ้น สำหรับผู้ผลิตและค้าขายมีรายได้มากขึ้น ภาพรวมไทยลดการนำเข้ามากขึ้นเป็นการลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศในแต่ละปีมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันหากทำตามแผนที่วางไว้สามารถขายให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศติดไปได้ เช่นเดียวกับที่ชาวไทยไปต่างประเทศและซื้อกลับมาจำหน่ายในประเทศโดยพบว่าในพังงาจำหน่ายให้นักท่องเที่ยวได้เป็นจำนวนมาก
ด้าน นพ.สรรพงษ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า สำหรับความมั่นใจในการใช้ผลิตภัณฑ์แพทย์แผนไทยและการบริการแพทย์แผนไทย ทางกระทรวงสาธารณสุขได้ให้บริการตามมาตรฐานการให้บริการไม่ว่าในส่วนของแพทย์แผนไทยที่ขึ้นทะเบียนต้องผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพแพทย์แผนไทย ส่วนหมอพื้นบ้านเองที่ต้องให้บริการคนในชุมชนต้องขึ้นทะเบียนหมอพื้นบ้าน ซึ่งมีระเบียบข้อบังคับในเรื่องประสบการณ์ ตำรา และการให้บริการโดยไม่คิดมูลค่า ส่วนมาตรฐานของสมุนไพรในหลักการจะใช้มาตรฐานของทาง องค์การอาหารและยา หรือ อย. ในการออกเลขทะเบียนมาตรฐานทั้งยาสมุนไพรทั้งยาโบราณ ส่วนการบริการของแพทย์แผนไทยใช้มาตรฐานของการดำเนินการอยู่ในทุกโรงพยาบาล ในอนาคตทางกรมแพทย์แผนไทยฯจะทำเรื่องมาตรฐานรับรองคุณภาพสถานบริการในการบริการแพทย์แผนไทย ซึ่งในปัจจุบันการบริการแพทย์แผนไทยมีในทุกโรงพยาบาลโดยดำเนินการควบคู่กัน บางส่วนเป็นคลินิกคู่ขนานบริการร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันเพื่อสร้างมาตรฐานให้ประชาชนยอมรับให้ประชาชนรู้จัก เชื่อมั่น และชอบใช้ทั่งผลิตภัณฑ์แพทย์แผนไทยและบริการแพทย์แผนไทย ส่วนบทบาทของแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกคือการอนุรักษ์ภูมิปัญญาโดยเฉพาะ “ตำหรับยาแห่งชาติ” มีการพัฒนาโดยการขึ้นทะเบียนตำหรับยา ฉะนั้นที่เป็นยาก็จะมีการศึกษาค้นคว้า เพื่อจะผ่านผู้เชี่ยวชาญยอมรับ วิจัย ศึกษา เพื่อยอมรับเป็นตำหรับยาสมุนไพรแห่งชาติ ส่วนยาลูกกลอนหรือผลิตภัณฑ์ยาที่มีจำหน่ายในท้องตลาดก็จะมีหน่วยงานเฝ้าระวังโดยมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพื่อตรวจในเรื่องของความปลอดภัย ในการคุ้มครองผู้บริโภคและดูเลขทะเบียนยา ขออนุมัติถูกต้องหรือไม่ และมีการตรวจ วิเคราะห์ เพื่อดูสารปนเปื้อนเป็นวัตถุที่เป็นสารอันตรายที่ใช้กับประชาชนได้หรือไม่
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: