พังงา-สธ.ร่วมรัฐ-เอกชน จัดเต็มระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยวย่านเขาหลัก
สธ.เปิดระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยวย่านเขาหลัก
พังงา-สธ.ร่วมรัฐ-เอกชน จัดเต็มระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล สร้างความมั่นใจนักท่องเที่ยวย่านเขาหลัก วันที่ 11 พ.ค.61 ที่ ศูนย์การแพทย์เขาหลักและศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดพังงา (Andaman Hub Medical Network) ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายชาญศักดิ์ ถวิล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ร่วมเปิดศูนย์การแพทย์เขาหลักและศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดพังงา (Andaman Hub Medical Network) การซ้อมระบบชายหาดปลอดภัย (Safety Beach) และซ้อมแผนบูรณาการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและจมน้ำจากเหตุเรือชนกับหินใต้น้ำ โดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขทางทะเลและเกาะ 23 จังหวัดชายทะเล ดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มีประมาณ 35 ล้านคนต่อปี ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งจัดบริการพิเศษทางสุขภาพ หรือ พรีเมี่ยม เซอร์วิส ในพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อสร้างงานสร้างรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น และจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล (Maritime ECS : Maritime Emergency Care System) พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการให้สามารถดูแลผู้บาดเจ็บ/ป่วยฉุกเฉินทางทะเล และโรคที่พบบ่อย ตั้งเป้าหมายประชาชนและนักท่องเที่ยวทางทะเลร้อยละ 80 ได้รับการดูแลให้มีความปลอดภัยหากเจ็บป่วย/ฉุกเฉินทางทะเล เสียชีวิตจากเหตุฉุกเฉินลดลงร้อยละ 25 จาก 139 คนเหลือไม่เกิน 100 คน การเจ็บป่วยจากโรคที่พบบ่อยลดลงร้อยละ 30 สร้างรายได้จากการลงทุนบริการระดับพรีเมี่ยม ปีละ 70 ล้านบาท และความเชื่อมั่นของประเทศอยู่ในอันดับ 1 ของอาเซียนภายในปี 2564 ตามร่างยุทธศาสตร์การสาธารณสุขทางทะเลระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564) สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางทะเลและจัดตั้งศูนย์การแพทย์เขาหลัก“Andaman Hub Medical Network” จังหวัดพังงา เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการแบบบูรณาการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในท้องทะเลอันดามัน ให้ได้รับบริการทางการแพทย์มาตรฐานระดับสูง ช่วยสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กับพื้นที่และประเทศ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เปิดให้บริการ ณ ศูนย์ชั่วคราว (ศูนย์การแพทย์เขาหลัก) เมื่อมีนาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน ให้บริการรวม 5,466 ราย เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณร้อยละ 28 ในจำนวนนี้ รับจากจุดเกิดเหตุทั้งทางบกและทางทะเลประมาณร้อยละ 10 ด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน และเรือพยาบาลฉุกเฉิน (Boat Ambulance) ของฐานทัพเรือพังงา 3 ลำ ที่ได้จากโครงการ Andaman Hub Medical Network ที่ประจำ ณ หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ สามารถช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติชาวอังกฤษ ชาวเยอรมัน และชาวจีน ที่ประสบภาวะจมน้ำและน๊อคน้ำให้รอดชีวิตได้ทั้ง 5 ราย (100%) ทั้งนี้ โครงการ “Andaman Hub Medical Network” เป็นความร่วมมือของหน่วยงานในพื้นที่รวม 21 แห่ง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ฐานทัพเรือพังงา กองบังคับการตำรวจภูธร จ.พังงา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และสภาอุตสาหกรรม จ.พังงา เป็นต้น สร้างมาตรฐานการดูแลนักท่องเที่ยวด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ การตรวจสอบเหตุ การเผชิญเหตุ การเข้าถึงเหตุ ดูแลเหตุ และนำส่งผู้บาดเจ็บจากจุดเกิดเหตุไปรักษาต่ออย่างมีประสิทธิภาพไร้รอยต่อ เช่น การใช้เรือ Ambulance ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ณ อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน และมีศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินเขาหลักที่มีศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉิน วินิจฉัยโรคขั้นสูง ช่วยชีวิต ลดความพิการ
ข่าวน่าสนใจ:
โพสต์โดย Andaman focus อันดามัน โฟกัส เมื่อ วันศุกร์ที่ 11 พฤษภาคม 2018
วันที่ 11 พ.ค.61 ที่ ศูนย์การแพทย์เขาหลักและศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดพังงา (Andaman Hub Medical Network) ต.คึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายชาญศักดิ์ ถวิล รองผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา ร่วมเปิดศูนย์การแพทย์เขาหลักและศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดพังงา (Andaman Hub Medical Network) การซ้อมระบบชายหาดปลอดภัย (Safety Beach) และซ้อมแผนบูรณาการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บและจมน้ำจากเหตุเรือชนกับหินใต้น้ำ โดยกระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขทางทะเลและเกาะ 23 จังหวัดชายทะเล ดูแลประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มีประมาณ 35 ล้านคนต่อปี ทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกัน รักษา ฟื้นฟูสภาพ รวมทั้งจัดบริการพิเศษทางสุขภาพ หรือ พรีเมี่ยม เซอร์วิส ในพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเล เพื่อสร้างงานสร้างรายได้เข้าประเทศเพิ่มขึ้น และจัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล (Maritime ECS : Maritime Emergency Care System) พัฒนาศักยภาพหน่วยบริการให้สามารถดูแลผู้บาดเจ็บ/ป่วยฉุกเฉินทางทะเล และโรคที่พบบ่อย ตั้งเป้าหมายประชาชนและนักท่องเที่ยวทางทะเลร้อยละ 80 ได้รับการดูแลให้มีความปลอดภัยหากเจ็บป่วย/ฉุกเฉินทางทะเล เสียชีวิตจากเหตุฉุกเฉินลดลงร้อยละ 25 จาก 139 คนเหลือไม่เกิน 100 คน การเจ็บป่วยจากโรคที่พบบ่อยลดลงร้อยละ 30 สร้างรายได้จากการลงทุนบริการระดับพรีเมี่ยม ปีละ 70 ล้านบาท และความเชื่อมั่นของประเทศอยู่ในอันดับ 1 ของอาเซียนภายในปี 2564 ตามร่างยุทธศาสตร์การสาธารณสุขทางทะเลระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560 – 2564)
สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติ ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดทำโครงการจัดตั้งศูนย์ตอบโต้ภาวะฉุกเฉินทางทะเลและจัดตั้งศูนย์การแพทย์เขาหลัก“Andaman Hub Medical Network” จังหวัดพังงา เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการแบบบูรณาการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในท้องทะเลอันดามัน ให้ได้รับบริการทางการแพทย์มาตรฐานระดับสูง ช่วยสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้กับพื้นที่และประเทศ ผลการดำเนินงานตั้งแต่เปิดให้บริการ ณ ศูนย์ชั่วคราว (ศูนย์การแพทย์เขาหลัก) เมื่อมีนาคม 2560 จนถึงปัจจุบัน ให้บริการรวม 5,466 ราย เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติประมาณร้อยละ 28 ในจำนวนนี้ รับจากจุดเกิดเหตุทั้งทางบกและทางทะเลประมาณร้อยละ 10 ด้วยรถพยาบาลฉุกเฉิน และเรือพยาบาลฉุกเฉิน (Boat Ambulance) ของฐานทัพเรือพังงา 3 ลำ ที่ได้จากโครงการ Andaman Hub Medical Network ที่ประจำ ณ หมู่เกาะสิมิลัน และหมู่เกาะสุรินทร์ สามารถช่วยชีวิตนักท่องเที่ยวเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติชาวอังกฤษ ชาวเยอรมัน และชาวจีน ที่ประสบภาวะจมน้ำและน๊อคน้ำให้รอดชีวิตได้ทั้ง 5 ราย (100%)
ทั้งนี้ โครงการ “Andaman Hub Medical Network” เป็นความร่วมมือของหน่วยงานในพื้นที่รวม 21 แห่ง อาทิ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา ฐานทัพเรือพังงา กองบังคับการตำรวจภูธร จ.พังงา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพังงา อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน และสภาอุตสาหกรรม จ.พังงา เป็นต้น สร้างมาตรฐานการดูแลนักท่องเที่ยวด้วยระบบการแพทย์ฉุกเฉินก่อนถึงโรงพยาบาล ตั้งแต่จุดเกิดเหตุ การตรวจสอบเหตุ การเผชิญเหตุ การเข้าถึงเหตุ ดูแลเหตุ และนำส่งผู้บาดเจ็บจากจุดเกิดเหตุไปรักษาต่ออย่างมีประสิทธิภาพไร้รอยต่อ เช่น การใช้เรือ Ambulance ช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ณ อุทยานฯ หมู่เกาะสิมิลัน และมีศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินเขาหลักที่มีศักยภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย/บาดเจ็บฉุกเฉิน วินิจฉัยโรคขั้นสูง ช่วยชีวิต ลดความพิการ
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: