X
การไถดิน

เกษตรจังหวัดสกลนคร เตือนชาวนาไม่ควรเร่งรีบ”ไถปุ๊บหว่านปั๊บ”เกิดปัญหาวัชพืช-โรคพืช แนะควรเตรียมดินให้ถูกวิธี

เกษตรจังหวัดสกลนคร เผยพบปัญหาการตื่นฝน เร่งรีบทำนาก่อนเข้าสู่ฤดูฝน อาจเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง ขณะที่ การไถดิน-การเตรียมดิน ควรทำให้ถูกวิธี เพราะจะเกิดปัญหาวัชพืช-โรคพืช ตามมาในอนาคต 

นายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ เกษตรจังหวัดสกลนคร กล่าวว่า สำหรับการทำนาขอแนะนำว่าไม่ควรเร่งรีบ ควรศึกษาและรอให้เข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัวก่อน โดยที่ผ่านมาพบว่าเกษตรกรมีการตื่นฝน  พอเห็นฝนเริ่มตกซึ่งยังไม่เข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัว ก็เร่งรีบทำนา จึงอาจเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วงได้ จึงฝากเกษตรกรการทำนานั้นควรศึกษาวิธีที่ถูกต้อง และควรใจเย็น โดยเกษตรกรสามารถเข้าไปศึกษาเรียนรู้ได้ที่ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) หรือ สนง.เกษตร ทุกแห่ง ทั้งในเรื่อง การไถดิน การเตรียมดิน นวัตกรรมการเกษตร เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ การเพิ่มผลผลิต ฯ

เกษตรกรควรเตรียมดินให้ดีในการเพาะปลูก เพราะพบว่าเกษตรกรหลายรายเร่งรีบ โดยได้ไถพรวนดินทิ้งไว้แค่วันหรือสองวันก็เริ่มทำนา  ส่งผลให้เกิดปัญหาวัชพืชและโรคพืชต่างๆ ซึ่งการเตรียมดินสำหรับการทำนาดำ ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่น น้ำ ภูมิอากาศ ลักษณะพื้นที่ ตลอดจนแบบวิธีการทำนา และเครื่องมือการเตรียมดินที่แตกต่างกัน โดยเริ่มจากการไถดะ จะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศรับออกซิเจน

และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1-2 สัปดาห์ สารอินทรีย์ก็จะเกิดเป็นปุ๋ยในดิน จากนั้นจะเป็นการไถแปรเป็นการไถครั้งที่สอง โดยการไถในครั้งนี้จะช่วยพลิกเอาดินที่กลบไว้ขึ้นมาอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง และ การไถคราด เป็นการกำจัดวัชพืช  ตลอดจนการทำให้ดินแตกตัว เหมาะแก่การเพาะปลูก  อันจะทำให้ได้ข้าวที่มีคุณภาพ และผลผลิตปริมาณเพิ่มขึ้น

นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผวจ.สกลนคร ลงพื้นที่ช่วยชาวนาลงแขกเกี่ยวข้าวนาปัง

>>เกร็ดความรู้ ข้อควรระวังในการเตรียมดิน   ควรปล่อยให้ดินนามีโอกาสแห้งสนิท เป็นระยะเวลานานพอสมควร และถ้าสามารถไถพลิกดินล่างขึ้นมาตากให้แห้งได้ก็จะดียิ่งขึ้น ถ้าดินเปียกน้ำติดต่อกันโดยไม่มีโอกาสแห้ง จะเกิดการสะสมของสารพิษ เช่นแก๊สไข่เน่า (ไฮโดรเจนซัลไฟด์) และกรดอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งถ้าสารเหล่านี้มีปริมาณมากก็จะเป็นอันตรายต่อรากข้าวได้

ควรมีการหมักฟาง หญ้ารวมทั้งอินทรียวัตถุเพื่อให้สลายตัวสมบูรณ์ ประมาณ 2 สัปดาห์  หลังการไถเตรียมดิน เพื่อให้ ดินปรับตัวอยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของข้าว และสามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่จำเป็นออกมาให้แก่ต้นข้าว

ในบางหมู่บ้านยังคงอนุรักษ์การใช้กระบือช่วยในการไถนา ตามแบบวิถีโบราณ เช่นที่บ้านนาเชือก ม.9 ต.แร่ อ.พังโคน  จ.สกลนคร

ดินกรดจัด หรือดินเปรี้ยวจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างต่ำ (pH ต่ำกว่า4.0) ควรขังน้ำ ไว้อย่างน้อย 1 เดือน ก่อนปักดำข้าว เพื่อให้ปฏิกิริยาต่าง ๆ ตลอดจนความเป็นกรดของดินลดลงสู่สภาวะปกติ และค่อนข้างเป็นกลางเสียก่อน ดินกลุ่มนี้ถ้ามีการขังน้ำตลอดปี หรือมีการทำนาปีละ 2 ครั้ง ก็จะเป็นการลดสภาวะความเป็นกรดของดิน และการเกิดสารพิษลงได้ ซึ่งจะทำให้ผลผลิตของข้าวสูงขึ้น

ข่าวที่น่าสนใจ

สกลนคร ผ้าย้อมมูลควาย เที่ยวบ้านนาเชือก สัมผัสวิถีชีวิตระหว่างคนกับควาย

น้ำไผ่บำบัดโรค!!กิมซุง “พืชเศรษฐกิจ”มาแรง ปี 2018

ตำนาน!!ผ้าย้อมครามกลุ่ม “ดอนกอย” ของดี 5 ดาว เมืองสกล

เกษตรจังหวัดสกลนครโชว์ผลสำเร็จโครงการ ช่วยเหลือเกษตรกร พายุเซินกา

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน

Picture of อภิชาติ ชาไชย

อภิชาติ ชาไชย

ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดสกลนคร อีเมล [email protected]